โหงลำโขง บทที่ 1 : วิชาดาบอาทมาฏ (1)
โดย : ทศพล
โหงลำโขง โดย ทศพล เรื่องราวของจำปาและจำปีฝาแฝดที่งดงาม อ่อนหวาน เป็นที่รักใคร่ของทุกคนแต่สิ่งที่เห็นจะใช่ความจริงหรือเปล่า มีเพียงคนใกล้ชิดเท่านั้นที่จะสัมผัสและรับรู้ได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในสายน้ำโขง มีเพียงคนเดียวที่รอดชีวิต เธอคนนั้นคือใครกันแน่ นวนิยายคุณภาพที่อ่านเอานำมาให้คุณอ่านใน anowl.co
‘คูน…เจ้าอย่ากลัวความมืด เพราะสิ่งที่น่ากลัวหลายกว่านั้น มันคือจิตใจของเจ้า ถ้าเจ้าเอาตัวรอดในความมืดมิดได้ ใจของเจ้าสิเข้มแข็งกว่าผู้อื่น’
คำสอนของแม่เฒ่าต้วนยังคงย้ำเตือนเด็กหนุ่มวัย 15 ปี ยามใดที่เกิดความหวาดกลัวขึ้นมาในใจ คำสอนนี้มักจะช่วยให้เขาก้าวข้ามผ่านไปได้ทุกที ขณะนี้เขานำผ้าขาวมามัดรอบดวงตาก่อนค่อยๆ ก้าวเข้าไปในป่าดงดิบเพียงผู้เดียว โดยมีดาบคู่ที่เป็นอาวุธคู่ใจไว้คอยฟาดฟันกิ่งไม้ใบหญ้าที่เป็นดั่งบททดสอบของชีวิตให้พ้นตัว
‘หูเจ้าต้องแยกให้ออกว่านั่นเป็นเสียงหยัง ถ้าเจ้าบ่มีสติ ความตายกะสิมาเยือนเจ้าเร็วขึ้น เพราะทุกสิ่งรอบตัวเจ้ามันอันตรายหลาย’
ในขณะที่กึ่งเดินกึ่งวิ่งอยู่นั้น คูนพยายามตั้งสติและสมาธิ เมื่อแรงลมพัดโชยเข้ามากระทบใบหน้า เขาได้ยินเสียงหนึ่งพุ่งตรงฝ่าเสียงลมเข้ามา เขารู้ในทันทีว่านี่คือเสียงของลูกธนู มือที่ถือดาบไว้แน่นยกขึ้นปัดลูกธนูเหวี่ยงลงให้ปักบนพื้น ก่อนจะหยุดพักสูดลมหายใจเข้าลึกๆ และพูดในใจอย่างโล่งอกว่า ‘เกือบไปแล้วเรา’
หลังจากนั้นคูนรวบรวมความกล้าขึ้นมาอีกครา ทั้งสติและสมาธิล้วนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการหลบหลีกต้นไม้น้อยใหญ่ พวกมันคอยตั้งท่าขัดแข้งขัดขาเขาให้สะดุดล้ม แต่เขากลับหลบหลีกมันได้อย่างโฉบเฉี่ยวและว่องไว
ไม่นานนักขาข้างหนึ่งของเขาได้ชะงักหยุดตรงริมขอบหน้าผาสูง เขานั่งชันเข่าขวา จากนั้นก็ปักดาบลงไปบนแผ่นหินก่อนจะดึงผ้าปิดตาออก เผยให้เห็นดวงตาที่เป็นประกายวาววับดุจดวงตาสุนัขป่าในยามรัตติกาล
“เก่งมากคูน หลานของแม่” เสียงของแม่เฒ่าต้วนดังขึ้นพร้อมกับเสียงปรบมือจากด้านหลัง
แม่เฒ่าคนนี้เป็นหญิงชราร่างผอมที่ต้องถือไม้เท้าด้วยมือขวาเพื่อประคับประคองการเดิน เธอมีใบหน้าเหี่ยวย่นตามกาลเวลา มีแววตาแข็งทื่อที่แอบซ่อนความอ่อนแอไว้ลึกๆ ส่วนเส้นผมบนศีรษะนั้นมีสีขาวโพลนถูกมัดรวบเป็นมวยเก็บไว้ตรงท้ายทอยอย่างแน่นหนา และปักช่อดอกพุดซ้อนประดับมวยผมแบบนี้ทุกวัน แม่เฒ่ามักสวมเสื้อคอกลมแขนทรงกระบอกยาวก่อนนำผ้าเบี่ยงมาห่มพาดเฉียงทับอีกชั้น และนุ่งผ้าซิ่นยาวสีมัดย้อมธรรมชาติคลุมถึงตาตุ่ม
คูนลุกขึ้นยืนก่อนหันหลังไปส่งยิ้มให้แม่เฒ่า “หลานเฮ็ดได้แล้วขอรับ” คูนเอ่ยออกมาอย่างภาคภูมิใจ
“แม่มีหยังสิให้” แม่เฒ่าต้วนชี้นิ้วไปอีกฟากของป่า เผยให้เห็นม้าสีขาวนวลที่ถูกล่ามเชือกเอาไว้ รูปร่างของมันสง่างาม แข็งแรงและดูเป็นมิตร
“ม้าตัวนี้ ของหลานหรือขอรับ”
รอยยิ้มพร้อมกับการพยักหน้าของแม่เฒ่าต้วน ล้วนเป็นคำตอบแทนการพูดคำว่า ‘ใช่’
“ไปสิ ไปสัมผัสและเป็นเจ้านายมันเถิด”
“ขอรับ”
คูณยิ้มแป้นอย่างมีความสุขก่อนรีบหยิบดาบคู่ขึ้นมาเสียบไว้ในฝักที่มัดขัดไว้บนแผ่นหลัง แล้วรีบวิ่งไปสัมผัสใบหน้าของม้าเบาๆ ค่อยๆ ส่งพลังงานความรักและมิตรภาพที่ดีออกไป เขาฝันอยากมีม้าเป็นของตนมานาน ในที่สุดแม่เฒ่าต้วนก็ทำให้ฝันของเขาเป็นจริง
เขากระซิบกระซาบเข้าไปข้างหูของม้าว่า “ไอ้นวล จากนี้มึงเป็นเพื่อนรักของกูแล้วเด้อ” จากนั้นเขาก็ปลดเชือกม้าและรีบกระโดดขึ้นไปบนหลังของมันด้วยความคล่องแคล่ว ก่อนจะควบมันวิ่งเข้าไปในป่าราวกับรู้ใจกันมานาน
แม่เฒ่าต้วนยิ้มไม่หุบเลย เมื่อได้เห็นหลานชายเติบใหญ่และมีความสุขขึ้นทุกวัน โดยไม่รู้สึกว่ามีอะไรขาดหายไปในชีวิต เพราะถูกเติมเต็มด้วยความสุขเสมอมา แม่เฒ่าคอยอบรมเลี้ยงดูคูนตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นทารก ทั้งยังฝึกฝนให้เขาแข็งแกร่งทั้งทางร่างกายและจิตใจอีกด้วย
สองยายหลานคู่นี้อาศัยอยู่ท่ามกลางป่าเขาอันห่างไกลอย่างหลบๆ ซ่อนๆ จากผู้คนภายนอกมานานหลายปี เป็นที่รู้กันดีว่าป่าลึกแถบนี้เป็นป่าต้องห้ามที่ชาวบ้านหวาดกลัวกันมาก เพราะไม่ว่าใครก็ตามที่หลงทางเข้ามาหากินในยามกลางค่ำกลางคืน ล้วนต้องพบเจอกับผีทหารโบราณจนขวัญหนีดีฝ่อกันหมด
สิ่งลี้ลับเหล่านี้ได้กลายเป็นเรื่องโจษขานกันเซ็งแซ่ จนไม่มีใครกล้าเฉียดเข้ามาใกล้ป่านี้อีกเลย เพราะกลัวว่าผีทหารเหล่านี้อาจนำดวงวิญญาณของตนไปอยู่ด้วย การหลบเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งที่มองไม่เห็นและสัมผัสไม่ได้นั้น ย่อมเป็นการดีกว่าการเสี่ยงเข้ามาพิสูจน์แล้วไม่ได้กลับออกไปอีกเลย
ในความเป็นจริง ผีทหารที่ปรากฏขึ้นในทุกค่ำคืน ล้วนแล้วเป็นผีทหารชาวมอญที่แม่เฒ่าต้วนได้ใช้วิชามืดเรียกตัวพวกเขาออกมาช่วยฝึกปรือหลานชายให้มีฝีมือวิชาดาบอาทมาฏ ซึ่งผีทหารเหล่านี้ล้วนเคยร่วมออกรบกับพระนเรศวร เมื่อครั้งที่ยังคงดำรงพระอิสริยยศพระอุปราชวังหน้ารั้งเมืองพิษณุโลก ครั้นพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ทหารอาสาชาวมอญกลุ่มนี้จึงได้เข้ามาเป็นขุนนางและถือครองศักดินาสังกัดกรมอาสามอญตลอดรัชสมัย
- READ โหงลำโขง : บทส่งท้าย
- READ โหงลำโขง บทที่ 15 : บาดแผลในจิตใจ (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 15 : บาดแผลในจิตใจ (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 14 : บาดแผลในใจและความจริง (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 14 : บาดแผลในใจและความจริง (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 13 : ผีโหง (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 13 : ผีโหง (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 12 : ความลับไม่มีในโลก ไม่วันใดก็วันหนึ่ง (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 12 : ความลับไม่มีในโลก ไม่วันใดก็วันหนึ่ง (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 11 : แห่พระข้ามโขง (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 11 : แห่พระข้ามโขง (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 11 : แห่พระข้ามโขง (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 10 : ก่อนฟ้าสาง (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 10 : ก่อนฟ้าสาง (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 10 : ก่อนฟ้าสาง (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 9 : แม่หญิงถูกลักพาตัว (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 9 : แม่หญิงถูกลักพาตัว (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 9 : แม่หญิงถูกลักพาตัว (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 8 : พิธีล้างดวงตา (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 8 : พิธีล้างดวงตา (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 7 : ข้อตกลงของสองเรา (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 7 : ข้อตกลงของสองเรา (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 6 : ลูกรักและลูกชั่ว (4)
- READ โหงลำโขง บทที่ 6 : ลูกรักและลูกชั่ว (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 6 : ลูกรักและลูกชั่ว (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 6 : ลูกรักและลูกชั่ว (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 5 : แสกเต้นสาก (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 5 : แสกเต้นสาก (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 5 : แสกเต้นสาก (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 4 : ความงุนงง (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 4 : ความงุนงง (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 4 : ความงุนงง (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 3 : จากไปนาน (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 3 : จากไปนาน (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 3 : จากไปนาน (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 2 : เจ้าคือใคร (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 2 : เจ้าคือใคร (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 2 : เจ้าคือใคร (1)
- READ โหงลำโขง บทที่ 1 : วิชาดาบอาทมาฏ (3)
- READ โหงลำโขง บทที่ 1 : วิชาดาบอาทมาฏ (2)
- READ โหงลำโขง บทที่ 1 : วิชาดาบอาทมาฏ (1)