หมากพลู ปูนแดง ยาเส้นและคุณยาย

หมากพลู ปูนแดง ยาเส้นและคุณยาย

โดย : Blossom Hoya

Loading

ไดอารี่เที่ยงวัน by Blossom Hoya กับการบันทึกช่วงเวลาว่างๆ ยามขี้เกียจหลังมื้อกลางวันที่ขอแชร์เรื่องราวอยากเล่าตามใจคนเขียน ไม่มีธีม ไม่มีประเด็นหลัก เพราะเที่ยงวันจะทำอะไรก็ได้ และทุกยามว่างคือเวลาทองแห่งการพักผ่อน … มาเติมพลังชีวิตไปกับอ่านเอาและย่ากันนะคะ

ส่งท้ายปลายปีกันนิดๆ หน่อยๆ ก็วันนี้ย่าไปเดินตลาดมาคร้า ตลาดสุดฮอตย่านบางแคไม่มีที่ไหนนอกจากตลาดบางแค! เดินตามมารดาหิ้วของแขนแทบหลุด ก็เลยมาหยุดที่ตรงหัวมุมร้านขายหมากพลู อืม…สงสัยมานานแล้วว่าที่ซื้อหมากพลูเป็นชุดๆ บนถาดโฟมไปไหว้พระไหว้เจ้าที่เนี่ย สารพัดสิ่งในถาดคืออะไร กินยังไง และอร่อยไหมอ่ะ

ยายขายหมากนั่งอยู่หลังสินค้าจากธรรมชาติที่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการกินหมากท่านนี้ พอย่าถามว่าชื่ออะไร ยายชี้ไปที่ป้ายข้างกำแพงแล้วกล่าว  “นั่นน่ะ ชื่อยาย…จิณภัค แว่นทอง” ชื่อเล่นไม่ยอมเอ่ย อ่ะๆ ไม่เซ้าซี้เนอะ เข้าเนื้อๆ ให้อ่านกันเร็วๆ

หมากสด

 

หมากแห้ง

“ในชุดหมากพลูที่ส่วนมากเห็นในถาดโฟม 10 บาท 15 บาท ส่วนใหญ่เขาใส่ใบพลูที่มวนไว้แล้ว แล้วก็มีถุงเล็กๆ อีก 2 ถุง ใส่ยาเส้นถุงนึง ปูนแดงถุงนึง แล้วก็หมากสด แต่ยายไม่ทำงั้นหรอกนะ เพราะเราจะเอาไปไหว้พระไหว้ครู ไม่ได้ไหว้ผี ต้องทำดีๆ” 

คือ?…ก็เห็นว่าทำกันดีๆ เอาพลาสติกมาแรปไว้งดงาม

“แม่ค้าบางคนเขาไม่ป้ายปูนแดงในใบพลูที่มวนไว้ ไม่อย่างนั้นจะเอาปูนแดงแยกออกมาในถุงเล็กๆ ทำไม จะถวายพระต้องทำให้เรียบร้อย ป้ายปูนแดงให้เสร็จแล้วค่อยมวน”

เออ…ก็จริงเนอะ คิดแบบย่านะคือ ตอนที่ถวายพระ ถวายเจ้าที่ เราจะไปรู้ได้ไงว่าท่านจะเปิดปูนแดงมาป้ายเองไหม บางคนก็ขอแค่ของครบ ความคิดนี้นานาจิตตัง แต่เข้าใจได้นะว่าคนซื้อคนทำ ความคิดความเชื่อต่างกัน คนทำขายแต่ละคนก็มีวิธีการต่าง อ่ะๆ คุยต่อ

“ตอนที่ยายมวน จะตัดขอบใบพลูให้ได้รูปก่อน จะได้มวนได้คำสวยๆ แล้วค่อยเอาปูนแดง หรือบางคนชอบปูนขาวก็ป้ายได้เหมือนกัน แล้วก็เอาใบพลูที่ตัดเป็นชิ้นเล็ก ปิดทับอีกทีค่อยมวน มวนเสร็จถ้าไม่หาอะไรมารัดไว้มันก็จะคลาย ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะคลึงสำลีเป็นเส้นๆ เอามาพันมวนไม่ให้คลาย แต่สมัยนี้เอาเร็ว ก็ตัดหลอดเป็นวงเล็กๆ สวมไปแทน จะเอาไปเคี้ยวค่อยเอาออก”

อ้าว…ยายยยยยย ลืมใส่หมากกับเส้นฝอยๆ ลงไปอ่ะเปล่า?

“ไอ้นั่นเขาไม่ใส่ในพลู เขาในปากเลย”

ตึง!! ยาย…คะ…?

เปลือกไม้ฝอย

“ตอนกิน เอาหมากเข้าปากเคี้ยวๆ ก่อน จะหมากสดหมากแห้งก็แล้วแต่ชอบ ตามด้วยใบพลูมวนที่ป้ายปูนแดงแล้ว เคี้ยวไปสักพักก็เอาเปลือกไม้ฝอยทำจากต้นสีเสียดเข้าไปเคี้ยวตาม เสร็จแล้วก็ค่อยตามด้วยยาเส้นนิดนึง อันนี้ถ้าเคี้ยวมากจะเมานะ ที่เขาบอกเมาหมากก็เมายาเส้นนี่ล่ะ แค่นี้เอง”

ยาเส้น

เปลือกไม้ฝอยกับยาเส้นมันคล้ายกันอ่ะ

“จับดูสิ เปลือกไม้ฝอยมันจะแข็งกว่ายาเส้น สีมันก็ไม่เหมือนกันนะ”

ยายๆ หมากอร่อยไหม?

“ไม่รู้สิ ไม่เคยกิน ขายอย่างเดียว แต่ได้ยินพ่อแม่บอกว่า ถ้าบ้วนน้ำหมากออกมาแล้วสีแดงๆ มากๆ นั่นล่ะ ถึงเรียกว่าเป็นหมากดี”

แล้วทุกวันนี้ยายยังขายได้อยู่ดีไหม

“ขายได้เรื่อยๆ มาขายทุกวันจะ 20 ปีก็ยังขายได้ แต่เราก็ไม่รู้นะว่า เขาซื้อไปกินเอง หรือเอาไปถวายพระ ไหว้ครู เราทำขายก็ทำของเราให้ดี คนจะกินก็ได้กินหมากดีๆ คนจะเอาไปถวายพระไหว้อะไรก็ได้ถวายของดีๆ เราทำของเราให้ดีไว้ก่อน คนซื้อจะเอาไปใช้ยังไงต่อก็เรื่องของเขา”

อืม…เริ่ดค่ะยาย ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เป็นคนขายก็ต้องขายของดีๆ คนซื้อไปก็แฮปปี้เนอะยายเนอะ

อ่ะ…ว่าแล้วก็จัดมา 2 แพ็กค่ะยาย

แฮปปี้ปีใหม่ แข็งแรงๆ นะคะยาย

 

Don`t copy text!