“Body Dysmorphic Disorder” โรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาตัวเอง

“Body Dysmorphic Disorder” โรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาตัวเอง

โดย :

Loading

พี่หมอโอ๊ต-นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ชวนแฟนๆ อ่านเอามาอัปเดทสุขภาพ ผ่านเรื่องใกล้ตัวและไกลตัว รวมถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและกำลังเกิดขึ้นในสังคม ในคอลัมน์ Healthy Happy Hour by Dr. OAT เพราะสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี ทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี

จริงๆ การที่เรารู้สึกไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาของเรานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ และถ้าเพียงเราลุกขึ้นมาทำศัลยกรรมนิดๆ หน่อยๆ แล้วพอใจ มีความสุขกับตัวเองก็ยังไม่ถือว่าเป็นโรค แต่ถ้าครุ่นคิดจนกังวลมากเกินไป เริ่มตัดขาดจากสังคม นั่นเป็นสัญญาณละว่าเราต้องไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้ว…

ว่ากันว่าเจ้าโรคไม่ชอบรูปร่าง หน้าตาของตัวเองเนี่ยมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น การเปรียบเทียบ รูปร่าง หน้าตา ของตัวเองกับบรรดาอินฟลูเอ็นเซอร์จากโซเชียลมีเดียที่มีรูปร่างหน้าตาดีจนทำให้เรารู้สึกไม่ชอบรูปร่าง หน้าตา ของตัวเอง และเริ่มส่งผลกระทบอื่นๆ อีกมากมาย จนกลายเป็นโรค Body Dysmorphic Disorder ในที่สุด จากสถิติพบว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคนี้มักอยู่ในกลุ่มนักเรียนช่วงมัธยมปลาย มหาวิทยาลัย ไปจนถึงคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ อายุโดยเฉลี่ยคือ 17-30 ปี หลังช่วงอายุ 30 ขึ้นไปจะพบแต่น้อยลง

โดยคนที่เป็นโรคนี้มักมีจิตใจที่อ่อนไหวง่าย และถ้ายิ่งอยู่ในครอบครัวที่มีค่านิยมว่าจะต้องสวย หล่อ ดี เก่ง ก็จะยิ่งนำไปสู่ภาวะ Body Dysmorphic Disorder ได้ง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเส้นบางๆ ที่แยกกันอยู่ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานั้นเป็น ภาวะ หรือเป็น โรค เช่น การที่เราได้เห็นคนที่รูปร่างดี หน้าตา สวย หล่อ จนทำให้รู้สึกไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเอง แล้วไปทำศัลยกรรมนิดหน่อย ไปออกกำลังกายจนรู้สึกแฮปปี้กับตัวเองขึ้นนั้นเรียกว่าเป็น ‘ภาวะ Body Dysmorphic Disorder’ แต่ถ้ามีความไม่พอใจอย่างรุนแรง วันวันคิดถึงแต่เรื่องนี้ตลอดเวลา ไม่มีสมาธิที่จะเรียน ทำงาน บางคนถึงขั้นตัดขาดจากสังคม ไม่ออกไปไหน รู้สึกอาย ไม่อยากให้คนเห็นตัวเองแบบนี้ หรือต่อให้ไปทำศัลยกรรมแต่ก็ยังรู้สึกไม่พอใจและไปทำเพิ่มอีกจนเสพติดศัลยกรรม ถ้าเป็นแบบนี้ควรต้องได้รับการแก้ไขและรักษาแล้ว

ทำอย่างไรจึงห่างไกลโรค

สำหรับโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้เพราะเป็นสื่อที่อยู่ใกล้และเข้าถึงได้ ดังนั้นครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่จึงควรทำความเข้าใจกับลูกๆ เช่น บอกลูกว่าการที่เขาหรือเธอดูสวยงามเช่นนี้เป็นอาจเพราะอาชีพของเขา เป็นต้น ซึ่งการได้ให้เวลานั่งคุยกันจะทำให้เด็กๆ เสพโซเชียลอย่างเข้าใจมากขึ้น ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานให้กับสมาชิกทุกคน อย่านำลูกหลานไปเปรียบเทียบกับใคร และถ้าครอบครัวเราสตรองพอ ไม่ว่าโซเชียลมีเดียจะรุนแรงแค่ไหน ไม่ว่าจะถูกทักจากคนภายนอกว่าอย่างไร เขาก็จะรับมือได้

การให้กำลังใจกันว่าทุกคนต่างสวยและดูดีในแบบของตัวเองและยังมีความสุขในแบบที่เราเป็นได้นั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต่างทำได้ทันทีและจะทำให้เราต่างมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอกจากนี้การออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ไปพบปะกับเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย แคมปิง วิ่ง ฯลฯ ก็จะช่วยได้เช่นกัน ลองพยายามไปหากิจกรรมที่เข้ากับตัวเองดู เพื่อจะไม่ได้มีวิธีสร้างความสุขให้กับตัวเองได้มากขึ้น…

ถอดความและสรุปจากรายการ อาการน่าเป็นห่วง #HealthyHappyHourbyDrOAT #Anhour

 

Don`t copy text!