ผู้สูงวัยไม่ควรขับรถ…จริงหรือไม่
โดย : นพ. พงศกร จินดาวัฒนะ
นอกจาก อ่านเอา จะอยากให้ทุกคนมีความสุขกับนิยายออนไลน์สนุกๆ แล้ว เรายังอยากให้ทุกคนมีสุขภาพกายที่ดีควบคู่ไปกับสุขภาพใจที่ยอดเยี่ยม จึงผุดคอลัมน์ “สุขภาพดีกับหมอโอ๊ต” โดย นพ. พงศกร จินดาวัฒนะ มาให้ทุกคนได้อ่านและดูแลตัวเองและคนที่รัก เพื่อการใช้ชีวิตที่ดี เปี่ยมไปด้วยคุณภาพเกรดเอ
…………………………………………..
โลกปัจจุบันนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้รับการออกแบบให้ขับได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น รถยนต์กลายเป็นปัจจัยสำคัญกับการดำรงชีวิตไปเสียแล้ว หลายคนอาจเคยสงสัยว่าคนเราจะขับรถไปได้ถึงอายุเท่าไร ผู้สูงวัยไม่ควรขับรถด้วยตัวเองแล้วจริงหรือไม่
ความเชื่อนี้ ไม่ถูกต้องเสมอไป
การขับรถยนต์ใช้ทักษะหลายด้านประกอบกัน นับตั้งแต่ทักษะของการมอง การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ และการประมวลผลในสมอง
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ของร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอยไปตามวัย และนั่นอาจส่งผลต่อทักษะการขับรถยนต์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนสูงวัยจะขับรถไม่ได้
ในต่างประเทศเราเคยพบผู้สูงวัยอายุ 80 ปีขับรถได้อย่างคล่องแคล่ว ในขณะที่บางคนอายุแค่ 60 ปีเท่านั้นก็ไม่สามารถขับรถได้แล้ว ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคนเป็นสำคัญ
แล้วอย่างนั้น หากท่านเป็นผู้สูงวัย ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่ายังมีความสามารถขับรถได้หรือไม่ อ่านเอามีเคล็ดลับมาแนะนำดังนี้ครับ
- ตรวจสายตาของท่านเป็นประจำทุกปี เพราะการมองเห็นถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ เมื่อเราจะขับรถ หากท่านมีสายตาสั้นหรือยาวก็ควรสวมแว่น หากท่านมีปัญหาเรื่องต้อกระจก ต้อหิน ก็ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาให้หาย
- ตรวจการได้ยินเป็นประจำทุกปี เพราะการได้ยินก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญมาก เวลาขับรถบนท้องถนน ท่านจะได้ยินเสียงแตร เสียงสัญญาณต่างๆ ที่จำเป็น หากการได้ยินมีปัญหา จะทำให้การขับรถมีปัญหาตามมาได้
- ตรวจความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและร่างกายทุกปี เพราะการขับรถนั้นกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายจะต้องทำงานสัมพันธ์กัน หากมีกล้ามเนื้อส่วนใดมีอาการบาดเจ็บ หรือมีปฏิกิริยาที่ช้าเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้การขับรถมีปัญหาได้
- ทดสอบความจำโดยแพทย์เป็นประจำทุกปี เมื่อเราอายุมากขึ้น ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดหลงลืมได้ แต่หากมีอาการหลงลืมมากอาจส่งผลให้ขับรถหลงทาง หรือมีการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
หากท่านตรวจทุกอย่างและพบว่ายังมีสมรรถนะที่ดีเยี่ยม นั่นหมายความว่าท่านยังสามารถขับรถได้
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าในการขับรถ ยังมีข้อควรระวังอีกหลายประการ ได้แก่ ไม่พูดหรือใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เพราะจะทำให้เสียสมาธิ, หากท่านรับประทานยาอะไรอยู่เป็นประจำ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ายานั้นจะไม่ทำให้ง่วงหรือมีผลทำให้การตัดสินใจช้าลง, หากมีข้อคำถามอื่นๆ และไม่แน่ใจว่าจะส่งผลต่อการขับรถของคุณหรือไม่ ลองปรึกษากับแพทย์จะเป็นการดีที่สุด
และที่สำคัญอีกหนึ่งประการคือความเร็วในการขับขี่ อย่าใช้ความเร็วเกินจากกฎหมายกำหนด หากมีข้อสงสัยประการใด ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านก่อน จะเป็นการดีที่สุดครับ
FYI :
- ทุกวันนี้ประเทศญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ประชากรอายุเกิน 65 ปี มีมากถึง 1 ใน 4 และจำนวนนี้ประมาณ 5 ล้านคนยังมีใบขับขี่อยู่ จากสถิติที่พบว่าอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น ตำรวจในญี่ปุ่นเริ่มนโยบายเชิญชวนให้ผู้ขับขี่ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป คืนใบขับขี่ให้รัฐ แลกกับแรงจูงใจเล็กๆ เป็นส่วนลดราคาราเมนจากร้าน Sugakiya ซึ่งมีสาขาถึง 170 กว่าแห่ง โดยเริ่มที่จังหวัดไอจิเป็นแห่งแรก ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็ใช้วิธีสร้างแรงจูงใจแบบนี้ เช่น ให้ส่วนลดเมื่อใช้บริการโรงอาบน้ำสาธารณะ ร้านตัดผม ร้านขายยา รวมถึงลดราคาค่าโดยสารแท็กซี่ด้วย
- READ กินแคลเซียม...ดีหรือเปล่านะ
- READ ดื่มน้ำร้อนหรือดื่มน้ำเย็น แบบไหนดีกว่ากันนะ?
- READ Good Sleep…Good health “นอนอย่างไร ให้สุขภาพดี”
- READ ออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายของเหล่าคนทำงาน
- READ ผู้สูงวัยไม่ควรขับรถ...จริงหรือไม่
- READ ตัดแขนเพราะกินปลาดิบ!
- READ ผิวแห้ง ไม่สบายตัว เป็นเรื่องปกติของผู้สูงวัยจริงหรือไม่
- READ รู้ไหมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ขมิ้นชัน สมุนไพรแสนมหัศจรรย์
- READ 7 ข้อควรรู้สำหรับคุณแม่ที่กำลังจะมีน้อง
- READ สัตว์เลี้ยงกับผู้สูงวัย
- READ ขี้ลืมขนาดนี้ ผิดปกติหรือเปล่า...แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ?
- READ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนสูงของคนเราจะลดลง…จริงหรือไม่
- READ ปัสสาวะราด…ทำยังไงดีล่ะ
- READ หน้านิ่วคิ้วขมวด เพราะท้องผูกอยู่หรือเปล่า วิธีพิชิตอาการท้องผูกที่คุณก็ทำได้
- READ วิธีจำกัดบริเวณตนเอง ในสถานการณ์ COVID-19
- READ 7 ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับไวรัส COVID – 19
- READ รู้ไหม โกโก้และช็อกโกแลตแตกต่างกัน และมีประโยชน์อย่างไร
- READ "อินทผลัม" มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร กินมากๆ แล้วจะดีหรือไม่?
- READ สารพันมหัศจรรย์แห่งถั่ว ประโยชน์ควรรู้ และวิธีบริโภคถั่วให้ได้ประโยชน์สูงสุด