สัตว์เลี้ยงกับผู้สูงวัย
โดย : นพ. พงศกร จินดาวัฒนะ
นอกจาก อ่านเอา จะอยากให้ทุกคนมีความสุขกับนิยายออนไลน์สนุกๆ แล้ว เรายังอยากให้ทุกคนมีสุขภาพกายที่ดีควบคู่ไปกับสุขภาพใจที่ยอดเยี่ยม จึงผุดคอลัมน์ “สุขภาพดีกับหมอโอ๊ต” โดย นพ. พงศกร จินดาวัฒนะ มาให้ทุกคนได้อ่านและดูแลตัวเองและคนที่รัก เพื่อการใช้ชีวิตที่ดี เปี่ยมไปด้วยคุณภาพเกรดเอ
…………………………………………..
“จริงหรือไม่ที่ผู้สูงวัยไม่ควรมีสัตว์เลี้ยง?
ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องครับ”
สัตว์เลี้ยงจำพวกสุนัข และแมว เป็นเพื่อนที่ดีของมนุษย์มานานนับพันปี มองไปรอบตัวจะเห็นว่าคนรู้จักของเราจำนวนไม่น้อยมักมีสัตว์เลี้ยง แต่ก็มีบางบ้านที่มีผู้สูงวัยอยู่ด้วย เลยเลือกที่จะไม่มีสัตว์เลี้ยง เพราะกลัวว่าจะไม่เหมาะสม ผู้สูงวัยอาจรำคาญ สัตว์เลี้ยงอาจรบกวนทำให้ผู้สูงวัยหกล้มได้ เป็นต้น
จริงหรือไม่ที่ผู้สูงวัยไม่ควรมีสัตว์เลี้ยง?
ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องครับ
มีวิจัยและบทความทางการแพทย์หลายฉบับมากที่บอกว่า การที่ผู้สูงวัยมีสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ๆ มีผลดีต่อสุขภาพอย่างเห็นได้ชัด งานวิจัยของอเมริกาฉบับหนึ่งบอกให้เรารู้ว่าการที่ผู้สูงวัยเลี้ยงสุนัข มีผลทำให้สามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้น ความเครียดลดลง ทำให้มีเวลาออกกำลังกายมากขึ้น
ดังนั้น การที่ผู้สูงวัยมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน จึงมีประโยชน์มากกว่าโทษ เพียงแต่จะต้องเลือกสัตว์เลี้ยงให้เหมาะสม ซึ่งเว็บไซต์อ่านเอามีเคล็ดลับมาฝากดังนี้
- เลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับสุขภาพของท่าน เช่น หากเป็นภูมิแพ้ แพ้ขนสุนัข อาจเลือกเลี้ยงสัตว์จำพวกปลาแทน หรือหากเลือกสุนัข ควรเป็นพันธุ์ขนสั้น เป็นต้น
- ก่อนจะเริ่มเลี้ยงสัตว์ ให้ลองถามตัวเองว่าเคยมีประสบการณ์เลี้ยงสัตว์มาก่อนหรือเปล่า หากเคยมีประสบการณ์แล้วก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าหากไม่เคยมีสัตว์เลี้ยงมาก่อนเลย ในช่วงแรกผู้สูงวัยอาจจะต้องปรับตัวพอสมควร เพราะสัตว์เลี้ยงก็มีชีวิตจิตใจ มีความสุข มีความทุกข์ มีความเครียดได้เช่นเดียวกับคน รวมถึงต้องการการเอาใจใส่ดูแลไม่แพ้กับคนเช่นกัน
- สัตว์ที่เลือกมาเลี้ยงควรได้รับการดูแลให้มีสุขภาพสมบูรณ์โดยสัตวแพทย์นะครับ เพราะผู้สูงวัยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลงกว่าวัยหนุ่มสาว หากสัตว์เลี้ยงในบ้านไม่แข็งแรงหรือมีโรคเรื้อรัง อาจเป็นเหตุทำให้อาการป่วยสามารถติดต่อมาสู่คนได้
- จำนวนสัตว์เลี้ยงก็มีผลครับ บางครั้งเราอยากเลี้ยงสุนัขสองตัว อยากเลี้ยงแมวสามตัว เพื่อพวกเขาจะได้มีเพื่อน สำหรับจำนวนสัตว์เลี้ยงนั้น ขอแนะนำให้ดูศักยภาพของตัวเราเองเป็นหลักครับว่าสามารถดูแลสัตว์หลายๆ ตัวในเวลาเดียวกันได้หรือไม่ ส่วนมากแล้วงานวิจัยทางการแพทย์หลายฉบับแนะนำให้เลี้ยงแค่ตัวเดียวก็พอครับ เพราะถ้ามีหลายตัวเกินไป อาจเป็นภาระและทำให้เกิดความเครียดได้
- เตรียมใจเพื่อรับกับความสูญเสีย เนื่องจากสัตว์เลี้ยงมีอายุขัยเฉลี่ยน้อยกว่ามนุษย์ มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเสียชีวิตไปก่อนเจ้าของ ทำให้ผู้สูงวัยเกิดความเศร้าเสียใจได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรเตรียมใจเอาไว้ตั้งแต่แรกนะครับ
- ที่สำคัญที่สุดคือความพร้อมในระยะยาว ให้แน่ใจว่าสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้ไปตลอด เพราะหากท่านรับสัตว์มาเลี้ยงแล้วเกิดวันหนึ่งไม่ชอบ ไม่อยากได้ แล้วนำเขาไปทิ้ง จะเป็นการทำร้ายจิตใจของเขาเป็นอย่างมาก
สัตว์เลี้ยงคือเพื่อนที่ซื่อสัตย์ เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ ความรักและความเมตตาที่มีระหว่างกัน มีส่วนสำคัญมากในการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้เป็นเจ้าของให้แข็งแรง
- READ กินแคลเซียม...ดีหรือเปล่านะ
- READ ดื่มน้ำร้อนหรือดื่มน้ำเย็น แบบไหนดีกว่ากันนะ?
- READ Good Sleep…Good health “นอนอย่างไร ให้สุขภาพดี”
- READ ออฟฟิศซินโดรม ภัยร้ายของเหล่าคนทำงาน
- READ ผู้สูงวัยไม่ควรขับรถ...จริงหรือไม่
- READ ตัดแขนเพราะกินปลาดิบ!
- READ ผิวแห้ง ไม่สบายตัว เป็นเรื่องปกติของผู้สูงวัยจริงหรือไม่
- READ รู้ไหมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ขมิ้นชัน สมุนไพรแสนมหัศจรรย์
- READ 7 ข้อควรรู้สำหรับคุณแม่ที่กำลังจะมีน้อง
- READ สัตว์เลี้ยงกับผู้สูงวัย
- READ ขี้ลืมขนาดนี้ ผิดปกติหรือเปล่า...แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ?
- READ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนสูงของคนเราจะลดลง…จริงหรือไม่
- READ ปัสสาวะราด…ทำยังไงดีล่ะ
- READ หน้านิ่วคิ้วขมวด เพราะท้องผูกอยู่หรือเปล่า วิธีพิชิตอาการท้องผูกที่คุณก็ทำได้
- READ วิธีจำกัดบริเวณตนเอง ในสถานการณ์ COVID-19
- READ 7 ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับไวรัส COVID – 19
- READ รู้ไหม โกโก้และช็อกโกแลตแตกต่างกัน และมีประโยชน์อย่างไร
- READ "อินทผลัม" มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร กินมากๆ แล้วจะดีหรือไม่?
- READ สารพันมหัศจรรย์แห่งถั่ว ประโยชน์ควรรู้ และวิธีบริโภคถั่วให้ได้ประโยชน์สูงสุด