‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
แค่อ่านชื่อเรื่อง เพื่อนๆ ก็คงจะเดาออกว่าฮูกจะเมาท์เรื่องอะไรให้อ่าน งั้นไม่กั๊กนาน เมาท์เลยละกัน
ฮูกเป็นเด็กตลาดพลูค่ะ ถึงตอนนี้จะย้ายบ้านไปถิ่นอื่นแล้วก็ตาม แต่ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องขับรถวนไปเพื่อเสาะหาอาหารอร่อยๆ ที่คุ้นเคยแต่เด็กกิน ซึ่งหนึ่งในเมนูเด็ดที่ชอบคือขนมเบื้องญวนค่ะ และเจ้าที่ฮูกกินมาแต่เด็กคือ ‘ขนมเบื้องญวนสุอาภา’
จะเรียกว่าดังไหม ฮูกก็ว่าดังนะ แม้จะเป็นร้านรถเข็นเล็กๆ ไม่มีที่นั่งกิน ไม่มีเก้าอี้ให้นั่งรอ แต่ว่าคนซื้อก็สู้ตาย ยืนรอก็รอสิ ถ้าใครจะไปล่ะก็ง่ายมากๆ ค่ะ รถเข็นเล็กๆ นี้ตั้งอยู่ปากซอยเทอดไท 18 ตรงนั้นจะเป็นเหมือนสี่แยกเล็กๆ คนเก่าคนแก่จะเรียกกันติดปากว่า สี่แยกตลาดพลู ซึ่งถ้าใครจะไปกินข้าวหมูแดงหมูกรอบ หรือกระเพาะปลาตรงทางรถไฟ ถ้าจอดรถไว้ฝั่งตลาดที่อยู่ใต้สะพานก็ต้องเจอร้านขนมเบื้องญวนสุอาภาก่อนเสมอ เพราะต้องผ่านร้านนี้ก่อนจะข้ามแยกไปร้านอื่นๆ
ทีนี้ความเจ๋งของขนมเบื้องญวนเจ้านี้คืออะไร ฮูกว่านอกจากเป็นสูตรเด็ดที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจากทางครอบครัวคุณป้า และความยาวนานที่คุณป้าขายมากว่า 30 ปี (แล้วถ้าบวกรุ่นคุณแม่ของป้าอีกละ คิดดูสิว่านานมากแค่ไหน) ฮูกว่าขนมเบื้องญวนเจ้านี้ยังมีความเฉพาะตัวมากมาย เริ่มตั้งแต่รถเข็นเล็กๆ ที่มาพร้อมเตาถ่านซึ่งเป็นแบบนี้มาตั้งแต่ฮูกเด็กๆ จนตอนนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
ความเฉพาะตัวต่อมาคือ เตาถ่านที่ขนมาจากบ้านแค่ 2 เตาเท่านั้น ซึ่งข้อดีของเตาถ่านคือความหอมอร่อยที่เกิดขึ้นกับอาหารแบบที่เตาแก๊สทำไม่ได้ และอีกเหตุผลที่ใช้เตาถ่านคือความถนัดส่วนตัวของคุณป้าที่แต่ไหนแต่ไรมาเตาถ่านไม่เคยทำให้คุณป้าผิดหวัง
สำหรับเมนูที่ขายก็ไม่ได้มีเยอะแยะให้วุ่นวาย อย่างตอนฮูกเด็กๆ ป้าขายแค่ 2 อย่างคือแบบขนมเบื้องแป้งไม่ใส่ไข่ ที่หน้าตาเป็นแป้งสีเหลืองทองบางๆ กรอบๆ กับขนมเบื้องญวนแบบแป้งหนาๆ ที่บ้านฮูกเรียกกันเองว่า ขนมเบื้องญวนไข่ (อันนี้คือเมนูเมื่อนานมาแล้วนะ ก็ตอนฮูกเด็กๆ คือแบบเกิน 20 ปีที่ผ่านมา) แต่ตอนนี้ป้าขายทั้งหมด 4 เมนู ตามภาพที่ฮูกถ่ายมาฝากเลย
เมนูโปรดของฮูกคือแบบแป้งบางๆ เพราะรู้สึกว่ามันอ้วนน้อยกว่า (ไม่รู้คิดไปเองไหมนะ แต่ความหนานุ่มของแป้งและไข่มันทำให้รู้สึกว่ามันมีแป้งเยอะกว่า 555) อย่างวันนี้ฮูกก็ออร์เดอร์แบบแป้งกรอบไม่ใส่ไข่กับคุณป้า ซึ่งบอกเลยนะคะว่าถ้ารักจะกินตามฮูกต้องมีความอดทนในการรอพอตัว เพราะใช้เวลาทำนานกว่าแบบแป้งผสมไข่ ถ้าให้บอกเป็นเวลานาที… สมมติว่าไม่มีคิวนะคะ แบบแป้งนุ่มๆ ไม่เกิน 2 นาทีเสร็จ แต่ถ้าแบบแป้งบางๆ กรอบๆ 10 นาทีขึ้นไป ไม่นับช่วงเวลาต่อคิวนะคะ
เหตุที่ว่ามันนาน เพราะต้องใช้ไฟอ่อนๆ แล้วค่อยๆ เทแป้งลงกระทะ คอยดูว่าต้องหยอดน้ำมันเพิ่มรอบๆ แป้งที่ค่อยๆ สุกตอนไหน ซึ่งการหยอดน้ำมันเนี่ย ที่ฮูกยืนรออยู่ก็คือหยอดไปเรื่อยๆ ไม่ใช่หยอด 2-3 ทีแล้วจบ คือต้องหยอดไปจนกว่าแป้งจะค่อยๆ กรอบจนทั่ว ฮูกกะเองโดยสายตาว่า แป้งเหลืองกรอบเกือบ 100% ป้าถึงจะใส่ไส้ลงไป แล้วค่อยๆ ตักขึ้นวางบนกล่องแล้วประคองลงถุง
“ไปถึงบ้านยังกรอบไหม?” เอาตรงๆ ก็คือ ความกรอบตรงขอบๆ แป้งยังคงอยู่ ส่วนแป้งที่โดนไส้ตรงกลางก็นิ่มๆ เป็นธรรมดา แต่พอกินคู่กับน้ำอาจาดที่ได้มารสชาติยังเด็ดไม่เปลี่ยน
กระซิบบอกก่อนไปล้างจานอีกอย่างหนึ่งคือ เวลาไปสั่งแล้วยืนรอ เพื่อนๆ อาจจะได้เจอกับอารมณ์ของลิ้นกับฟันให้อมยิ้มบ้าง อึ้งบ้าง เพราะคุณป้าขายคู่กับคุณลุง ซึ่งมือทำขนมเบื้องคือคุณป้าคนเดียว ส่วนคุณลุงคือผู้ช่วย อาจมีบ้างที่ออร์เดอร์มาล้นๆ ลุงก็มีงงๆ เลยไม่ทันใจป้า เพื่อนๆ ก็จะได้ยินเสียงป้าดุลุงบ้างไม่มากก็น้อย
แต่ไม่ว่า ป้าจะดุลุงอย่างเผ็ดร้อนแค่ไหน มือป้าก็ไม่หยุด ยังคงทำขนมเบื้องญวนตามออร์เดอร์ไม่มีหวั่นไหว ใครอยากพิสูจน์ความอร่อยหรืออยากไปแอบดูป้ากับลุงทำงานงุงิด้วยกันล่ะก็ ไปกันได้เลยที่ตลาดพลูนะคะ
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร