ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
วันนี้จะมาพูดเรื่อง ‘แมงดาทะเล’ ให้ฟังค่ะ เพราะพอดีว่า Hoot-Hoot ได้ไปเจอร้านขายยำรสเด็ดมาเจ้าหนึ่ง หน้าร้านเต็มไปด้วยแมงดาทะเล พลันก็คิดไปถึงข่าวมากมายเกี่ยวกับเรื่องการกินไข่แมงดาทะเลแล้วมีอาการข้างเคียงจนถึงขนาดว่าบางคนต้องเสียชีวิตไป
ความที่อยากแซ่บพอตัว แต่ก็กลัวอยู่เหมือนกัน เลยขอเอ่ยปากถามแม่ค้าเพิ่มความมั่นใจกันหน่อย เช็คภูมิความรู้คนขายกันสักนิด
Hoot-Hoot : “ป้าๆ ตกลงว่าแมงดาทะเลแบบไหนที่กินไข่ได้”
ป้าก็ทำหน้าละเหี่ยใจอ่อนๆ แล้วเอ่ยออกมาว่า “ถามกันทุกคนสิน่า ร้านป้าเนี่ย กินไข่มันได้ ไม่ตายชัวร์ลูก”
Hoot-Hoot : “ก็รู้… แต่อยากรู้ก่อนกินหน่อยอะป้า ว่าตกลงต้องกินแมงดาทะเลแบบไหน แล้วหนูจะรู้ได้ไงอ่ะจ๊ะ ว่าร้านไม่ย้อมแมงดาทะเลมาขาย”
ป้าทำหน้าหน่ายๆ แต่ก็ยังใจดีตอบมาว่า “ไอ้ที่กินได้มันเรียกว่าแมงดาจานไม่ใช่แมงดาถ้วย” เอ้า ป้า…แล้วมันต่างกันยังไง??
ความแตกต่างของสองพันธุ์นี้คือ แมงดาถ้วยตัวจะเล็กกว่าแมงดาจานค่ะ คือตัวโตเต็มที่ไม่เกิน 18 เซนติเมตร ส่วนแมงดาจานจะโตเต็มที่ราวๆ 30 เซนติเมตร และทั้งสองสายพันธุ์มีรูปทรงกระดองก็ต่างกัน
แมงดาถ้วยจะมีกระดองโค้งกลมนูนสมชื่อว่าแมงดาถ้วย ถ้าเอามือลูบดูจะสัมผัสได้ถึงผิวด้านบนที่มีขนสั้นๆ แต่ถ้าเป็นแมงดาจาน กระดองก็จะแบนกว้างเหมือนจาน แถมเวลาที่เอามือไปลูบๆ จะรู้สึกถึงความราบเรียบของผิว ซึ่งพอมาเห็นของจริงหรือหาในกูเกิ้ลมาเทียบกันแล้ว Hoot-Hoot เองก็ยังรู้สึกไม่ต่างเท่าไหร่ คือหน้าตาคล้ายๆ กันไปหมด คนที่แยกรูปร่างมันไม่ออกอย่าง Hoot-Hoot ดูเท่าไหร่ก็ยังมึนอยู่ดี ป้าก็เลยมีให้อีกทางเลือกหนึ่งคือ “ดูที่หาง!!”
ถ้าจับที่โคนหางถึงกลางหางแล้วรู้สึกมนๆ โค้งๆ เหมือนเวลาจับปากกาดินสอ ให้รู้เลยว่า แมงดาตัวที่ว่าเป็นแมงดาถ้วย ซึ่งกินไม่ได้นะจ้ะ แต่ถ้าจับแล้วรู้สึกว่ามีความเหลี่ยมๆ คล้ายสามเหลี่ยม แมงดาตัวที่ว่าคือ แมงดาจาน ซึ่งเป็นแมงดาที่ปลอดภัย กินไข่ได้
แต่ไหนๆ ก็คุยเรื่องแมงดามาแล้ว งั้นมาเจาะลึกกันอีกหน่อยดีกว่า จะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ทำไมนะมันถึงมีพิษ
แมงดาถ้วย เรียกอีกชื่อว่า แมงดาไฟ หรือเหรา (เห-รา) เป็นแมงดาที่มีพิษที่เรียกว่า สาร Tetrodotoxin และ Saxitoxin ในเนื้อและไข่ ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในปลาปักเป้า แถมความร้อนก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ ส่วนแมงดาจานเป็นแมงดาที่ไม่มีพิษ ชาวบ้านชอบนำมาทำเป็นอาหาร
แต่หากใครพลาดกินแมงดาถ้วยเข้าไป จะรู้ได้ไงว่า โดนเข้าให้แล้ว?
ถ้ากินไปแล้วอยู่ๆ ก็รู้สึกมึนๆ ชาๆ ที่ลิ้น ลามไปที่ปากจนพูดไม่ได้ แถมปลายมือ-เท้าก็พลอยชาไปด้วย จะยกมือยกขาก็ไร้เรี่ยวแรง รู้สึกคลื่นไส้อยากอาเจียน เหงื่อออกมาก และเริ่มหายใจติดๆ ขัดๆ นั่นล่ะ โดนพิษไปเต็มๆ ซึ่งหากไม่ช่วยทำให้อาการทุเลาลง อาจเสียชีวิตใน 6-24 ชั่วโมงจากการหยุดหายใจ
แต่ทีนี้การเกิดอาการของแต่ละคนก็ใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน เพราะบางคนกินไปได้ 10 นาทีก็รู้สึกแปลกๆ แล้ว แต่บางรายกว่าจะออกฤทธิ์ก็ล่วงไปแล้วถึง 3 ชั่วโมง นั่นเพราะระยะเวลาก็จะขึ้นอยู่กับว่าเป็นแมงดาถ้วยที่อยู่ในแหล่งที่อยู่ใด รวมถึงขณะนั้นเป็นฤดูกาลอะไร ที่สำคัญคือจำนวนที่กินเข้าไป เพราะถ้ากินเยอะก็เท่ากับว่าปริมาณสารพิษที่ได้รับก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
ส่วนว่าวิธีการรักษาอาการที่ว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ตามข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ Hoot-Hoot หามาได้ระบุว่า พิษจากแมงดาถ้วยยังไม่มียาที่รักษาตรงๆ จะทำได้เพียงเอาพิษออกจากร่างกายให้มากที่สุด เร็วที่สุด โดยสิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ ดูแลเกี่ยวกับการหายใจ เพราะสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ก็คือหยุดหายใจนั่นเอง
สำหรับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ ทำให้คนที่รับพิษหายใจคล่องที่สุด จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ระวังอย่าให้มีอาการหยุดหายใจเด็ดขาด ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้ว่าการหายใจเริ่มมีปัญหาให้ทำการผายปอดจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล และห้ามให้กินน้ำหรือยาใดๆ เพราะอาจเกิดอาการสำลักได้
รู้อย่างนี้แล้ว ถ้าอยากกินไข่แมงดา Hoot-Hoot ก็ไม่ว่า แต่เช็กให้ชัวร์ว่าเป็นไข่ที่มาจากแมงดาจาน ทางที่ดี เห็นตัวแมงดากับตา จับด้วยมือ เช็กให้ชัวร์แล้วจึงออร์เดอร์ ดีที่สุด
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร