“รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์

“รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์

โดย : Hoot-Hoot

Loading

เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา

…………………………………………..

สนับสนุนอ่านเอาด้วยการสั่งซื้อหนังสือ “ในสวนอักษร” คลิกที่นี่

Hoot-Hoot เดินเที่ยวเล่นซื้อของเข้าบ้านแล้วบังเอิญไปเจอตู้แช่แข็งที่รวบรวมเมนูผักแช่แข็งเอาไว้ ทีนี้ก็ไปสะดุดตากับผักในถุงที่หน้าตาก็เหมือนกัน ต่างเพียงขนาดที่เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน พอดูที่หน้าถุงก็เห็นว่าใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษต่างกัน อยากรู้จึงหยิบมือถือมาเสิร์ชหาคำตอบทันที ก็ได้ความว่ามันคือรูปแบบการหั่นผักที่ต่างกัน และแต่ละความต่างก็มีคำเรียกมากกว่าที่คิดค่ะ

การหั่นแบบเป็นแท่งๆ มีอยู่ 2 แบบคือ Julienne (จูเลียน) และ Batonnet (บาโตเนต) ความต่างคือ Julienne จะเป็นแท่งเรียวเล็กกว่า คือ หนาเพียง 1/8 นิ้ว และยาวประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งเป็นการหั่นที่นิยมใช้กับเมนูสลัด หรือแม้แต่ไชเท้าแท่งในเมนูอาหารเกาหลี ส่วน Batonnet จะความหนากว่าเท่าตัว และยาวกว่านิดหน่อย การหั่นแบบนี้ที่คุ้นเคยกันคือเมนูเฟรนช์ฟรายส์ค่ะ

ต่อมาเป็นการหั่นที่เชื่อว่า หลายคนคุ้นเคยคือการหั่นแบบ Slice (สไลซ์) ก็คือหั่นเป็นแว่นๆ ตามรูปทรงของอาหาร ซึ่งใช้ได้กับวัตถุดิบหลากหลาย และถือเป็นการหั่นยอดฮิตของแม่บ้านเลยก็ว่าได้

สำหรับการหั่นที่เด็กๆ ชอบมากๆ คือ หั่นทรงเต๋าที่มีมากมายหลายขนาด และชื่อเรียกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น

Brunoise (บรูนัวส์) คือการหั่นแบบลูกเต๋าจิ๋วสุดๆ คือขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร จะเริ่มจากหั่นเป็นแท่งๆ แบบ Julienne ก่อนแล้วจึงหั่นซอยให้เป็นลูกเต๋าเล็กๆ อีกที ซึ่งการหั่นเต๋าขนาดนี้นิยมหั่นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในไส้ต่างๆ รวมถึงโรยหน้าตกแต่ง

Small dice (สมอล ไดซ์) คือการหั่นลูกเต๋าเล็กที่ขยับขนาดขึ้นมาอีกนิด หนาประมาณ 1/4 นิ้ว ซึ่งวัตถุดิบที่ทำเป็นไส้ของไข่ยัดไส้หรือผักกับข้าวผัดได้ด้วย

Medium dice (มีเดียม ไดซ์) คือการหั่นลูกเต๋าที่ขยับความใหญ่มาอีกขั้นแต่ยังไม่ใหญ่สุด คือจะหนาประมาณ 1/2 นิ้ว สำหรับเมนูฟรุตสลัด หรือใส่ในขนมหวานที่พอให้เคี้ยวแล้วเจอเนื้อสัมผัสและรับรสชาติกลมกล่อมที่แทรกในเนื้อ จึงมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป

Large dice (ลาร์จ ไดซ์) คือ ซุปเปอร์ไซซ์ของการหั่นแบบเต๋าเลยก็ว่าได้ เพราะจะหั่นใหญ่เบิ้มถึง 1 นิ้ว นิยมหั่นกับแครอต มั่นฝรั่งสำหรับทำซุปหรือใส่ในแกงกะหรี่

ภาพ : https://www.rsvp-intl.com/

การหั่นแบบต่อไป คนไทยเรียกว่า “หั่นฝอย” ซึ่งก็ไม่ผิดนะคะ เพราะ Chiffonade (ชิฟฟอเนด) คือการที่เรานำใบของผักมาเรียงซ้อนทับกันและม้วน จากนั้นก็ซอยให้เป็นเส้นบางๆ อย่างการซอยใบมะกรูดค่ะ

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หั่นแบบไม่มีการกะขนาด เราจะคุ้นกับคำว่า “สับ” ใช่ไหมค่ะ ซึ่งการหั่นในลักษณะสับก็มีชื่อเรียกนะคะ คือ Mince (มินซ์) คือการหั่นอาหารแบบละเอียดโดยไม่จำเป็นต้องเป็นรูปทรงที่แน่นอนแต่ต้องมีขนาดที่เท่าๆ กัน แต่ถ้าเป็น Rough Chop (รัฟช็อป) จะสับหยาบกว่า อย่างเช่นกันหั่นสับในเมนู Chopped  Salad นั่นล่ะค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การหั่นแต่ละแบบกับชื่อเรียกที่ต่างกัน ครั้งหน้าจะออร์เดอร์ให้ลูกมือในครัวช่วยหั่นช่วยสับ ใช้คำเหล่านี้บอกได้นะคะ รับรองว่าไม่พลาดแน่นอน

 

Don`t copy text!