5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
ขนมหวานไทยๆ ได้รับการกล่าวขานว่ารสชาติดี มีเอกลักษณ์ที่หน้าตาสวยงามชวนมอง (จนบางครั้งไม่กล้ากิน) แถมยังเป็นที่ยอมรับระดับโลกมากมายหลายชนิด แต่สิ่งที่อ่านเอาสะดุดใจก็คือ ชื่อเรียกขนมหวานไทยที่ฟังแล้วเสนาะหูเป็นอย่างมาก
ว่าแต่ว่ามีชื่ออะไรบ้าง และมีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรานำมาเล่าให้อ่านกัน
‘ขนมบุหลันดั้นเมฆ’ มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ชื่อว่า ‘บุหลันลอยเลื่อน’ จุดเด่นของขนมบุหลั้นดั้นเมฆคือ กลางตัวขนมหยอดไข่แดงลงไปเพื่อสื่อถึงดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ล้อมรอบด้วยแป้งสีฟ้าที่เปรียบเหมือนสีของก้อนเมฆยามราตรี
ทั้งนี้มีการใช้ขนมบุหลันดั้นเมฆมาเป็นขนมเสี่ยงทายเรื่องหน้าที่การงาน โดยทำนายจากการหยอดส่วนของไข่แดงลงไป หากว่าหยอดแล้วได้ไข่แดงกลมสวยทำนายว่าจะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง แต่ถ้าบิดเบี้ยวก็หมายความไปทางตรงกันข้าม
‘ขนมพระพาย’ มีประวัติที่เล่ากันว่า ขุนพิทักษ์ราชกิจผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระพิทักษ์ราชกิจ กำลังจะจัดพิธีแต่งงานขึ้น เหล่าบรรดาคนทำกับข้าวในวังหลวงจึงได้คิดค้นขนมเพื่อใช้ในพิธีครั้งนี้ เมื่อคิดไปคิดมาก็ได้มาเป็นขนมพระพาย ที่ทำมาจากข้าวเหนียว สอดไส้ด้วยถั่วกวน เพื่อสื่อความรักที่เหนียวแน่นมั่นคง สำหรับไส้หวานๆ ของถั่วกวนสื่อถึงรักแสนหวานของคู่บ่าวสาวที่สุกงอมจนเข้าพิธีแต่งงาน
‘ขนมโพรงแสม’ เป็นขนมอีกหนึ่งชนิดที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงาน โดยลักษณะของตัวขนมโพรงแสมจะคล้ายกับรากต้นแสมที่ขึ้นบริเวณป่าชายเลน คือตั้งตรง ด้านในกลวง แต่แฝงไว้ด้วยความพิเศษคือรากของต้นแสมใช้สำหรับหายใจ จึงได้ตั้งชื่อขนมเพื่อเปรียบเปรยกับความเชื่อในเรื่องความรัก ตัวขนมจึงคล้ายทองม้วนที่ตั้งตรงประหนึ่งเสาบ้านที่แข็งแรง สื่อให้บ่าวสาวอยู่กันยั่งยืนและร่ำรวย แต่แกนกลางที่กลวงนั้นคือลมหายใจที่หล่อเลี้ยงให้รักคงอยู่ พร้อมกับความหวานของชีวิตคู่จากน้ำตาลเคลือบที่พันอยู่รอบขนม
‘ขนมทอง’ ที่มีรูปร่างเหมือนโดนัททำด้วยแป้งทอดน้ำมัน และหยอดหน้าด้วยน้ำตาลโตนดนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวินิจฉัยว่าน่าจะมาจาก ‘ขนมกอง’ อันหมายความว่าเป็นวงเหมือนกำไล มาแต่ศัพท์ภาษาเขมร เช่นเรียกกำไลมือว่า ‘กองไฎย’ เรียกกำไลเท้าว่า ‘กองเชิง’ เป็นต้น ด้วยว่าทางภาคเหนือเรียกขนมทองว่า ‘ข้าวหนมวง’ ส่วนพวกลาวพวนเรียกขนมทองว่า ‘ขนมก้องแหน’
‘ขนมดาราทอง’ คือขนมที่หลายคนเข้าใจมาตลอดว่าคือขนมจ่ามงกุฎที่ไม่ได้มีรูปทรงเป็นมงกุฎ แต่มีรูปทรงแบบเดียวกับกาละแมเพียงแต่มีสีเขียวอ่อนๆ โรยด้วยเมล็ดแตงโมหรือฟักทองเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ก่อนขนมดาราทอง ที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ‘ขนมทองเอกกระจัง’
ที่มาที่ไปของขนมดาราทองนั้น เกิดขึ้นในช่วงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้จัดให้มีประกวดอาหารคาวหวานในงานฉลองปีใหม่ขึ้น โดย คุณหญิงเจือ สิงหเสนี จึงได้นำเอาสูตรขนมของคุณป้านารถ สิงหเสนี มาส่งประกวด ในชื่อ ‘ดาราทอง’ เพราะหน้าตาขนมเหมือนเครื่องหมายดาราในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมีลักษณะคล้ายๆ มงกุฎและได้รับรางวัลชนะเลิศ ขนมชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกไพเราะ 2 ชื่อคือ ‘ขนมทองเอกกระจัง’ หรือ ‘ขนมดาราทอง’ หาใช่จ่ามงกุฏแต่อย่างใด
ใครเคยกินขนมชื่อไพเราะชนิดไหนบ้าง นำมาพูดคุยบอกเล่าให้รู้บ้างนะคะ
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร