นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
แต่ไหนแต่ไรมา พอถึงหน้าร้อนทีไร Hoot-Hoot จะได้ยินคนพูดถึงเมนูข้าวแช่ทุกปี พอได้เห็นหน้าค่าตาก็พอเข้าใจได้ว่าทำไมขึ้นชื่อว่าข้าวแช่ แต่ไม่เคยค้นสักนิดว่าข้าวแช่ที่ว่าเป็นมายังไง จนโตเป็นสาววันนี้ ถามกูเกิลรู้เรื่องสักที ก็เลยขอสรุปความมาเล่าให้อ่าน
ว่ากันว่าข้าวแช่มาจากชาวมอญ
‘ข้าวแช่’ เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวมอญ เรียกแบบภาษาถิ่นเลยว่า ‘เปิงด๊าดจ์’ ที่มีความหมายว่า ‘ข้าวน้ำ’ เป็นเมนูที่ชาวมอญทำถวายทวยเทพในเทศกาลตรุษสงกรานต์ และก็จะนำมาถวายพระสงฆ์ รวมถึงให้ผู้สูงอายุที่นับถือได้กิน ซึ่งบ้านไหนใครทำไปถวาย เชื่อว่าจะนำสิ่งที่เป็นมงคลมาสู่ตัว
ข้าวแช่มาแลนดิ้งเมืองไทยได้เพราะแบบนี้
อย่างที่รู้ๆ กันอยู่แล้วนะคะว่า ไทย-มอญคือเพื่อนกันมายาวนาน สองวัฒนธรรมไม่ได้ติดต่อแลกเปลี่ยนแค่เรื่องเสื้อผ้าหรือภาษา แต่หนึ่งในนั้นคือเรื่องของอาหารการกิน ข้าวแช่ก็เลยแพร่มาสู่สำรับอาหารไทย โดยเริ่มจากสำรับในวังก่อน เพราะมีสตรีชาวมอญได้เข้าเป็นฝ่ายใน จึงได้ทำข้าวแช่เพื่อถวาย ทีนี้เวลาก็เดินไปเรื่อยๆ ความดีงามของข้าวแช่ก็สืบเนื่องต่อมากันเรื่อยๆ ซึ่งว่ากันว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสวยก็ทรงโปรดเมนูนี้มาก คนในวังจะรู้จักกันดี โดยจะเรียกข้าวแช่ว่า ‘ข้าวเสวย’ หรือ ‘ข้าวแช่เสวย’ ซึ่งหมายถึงข้าวแช่ที่ปรุงขึ้นเพื่อให้พระมหากษัตริย์เสวยนั่นเอง แต่ชาวบ้านไม่มีใครเคยได้ลิ้มรส จนยุคสมัยผ่านไป ม.ล. เนื่อง นิลรัตน์ ผู้เคยทำงานห้องเครื่องต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้นำข้าวแช่ออกสู่ตลาด ประชาชนคนนอกวังก็เลยได้รู้จัก ได้ลิ้มรส จนเกิดเป็นกระแสนิยมสืบมาจนตอนนี้
ข้าวแช่จะอร่อย เครื่องต้องครบ!
ความเฉพาะตัวของข้าวแช่ ไม่ได้อยู่ที่เอาข้าวสวยหุงสุกมาแช่ในน้ำลอยดอกไม้อบควันเทียนให้กินกันเพียวๆ แต่มีความเย็นชื่นใจของน้ำเป็นหัวใจสำคัญอีกอย่าง ซึ่งถ้าสงสัยว่า เมื่อก่อนไม่มีตู้เย็น ไม่มีน้ำแข็ง แล้วข้าวแช่เย็นฉ่ำได้ไง คำตอบคือ คนไทยสมัยก่อนจะนำน้ำลอยดอกไม้ไปใส่ไว้ในหม้อดินแล้วจึงตักมาใช้ หรือไม่ก็จัดข้าวแช่ใส่สำรับกระเบื้องเคลือบก็จะทำให้น้ำเย็นลอยดอกไม้นั้นเย็นขึ้นกว่าน้ำปกตินั่นเองค่ะ
เอาล่ะค่ะ ทีนี้มาดูกันต่อว่าข้าวแช่จะสมบูรณ์ได้ต้องมีเครื่องเคียงที่กินด้วยกันแล้วยิ่งเสริมความอร่อย ไม่ว่าจะเป็น…
ลูกกะปิ ที่ปั้นมาจากปลาช่อนย่าง ตะไคร้ กระชาย หัวหอม กะปิ หัวกะทิ ขนาดพอดีคำ แล้วนำไปชุบไข่ทและแป้งสาลีทอดในกระทะจนสีเหลืองทอง ได้กลิ่นหอมคละคลุ้งชวนหิว ถือเป็นเครื่องเคียงเบอร์หนึ่งที่ต้องมีในข้าวแช่
นอกจากนั้นก็จะมีหอมแดงสอดไส้, พริกหยวกสอดไส้, ไชโป๊วผัดหวาน และหมูฝอย มาประกอบเคียงกัน จัดเสิร์ฟสวยๆ เป็นของว่างยามบ่ายอากาศร้อนๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงนั่งกินกันนอกชาน แต่สมัยนี้เวลานี้ พระอาทิตย์ไม่ปรานี ขนาดนั่งในห้องแอร์บางทียังเหงื่อตก
ทีนี้ ถ้าจะยกสำรับข้าวแช่ทั้งหมดไปนั่งกินกันช่วงหน้าร้อนก็ไม่มีใครว่านะคะ
ข้อมูล : https://th.openrice.com, https://cheechongruay.smartsme.co.th
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร