หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย…
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวง ห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล
แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม
ครวญคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม…เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
เคยไหมคะ ที่ร้องเพลงตามๆ กันมา ไม่รู้ที่มาที่ไป โดยเฉพาะเพลงนี้ ที่เมื่อตอนเป็นเด็กๆ คุณครูที่โรงเรียนก็สอนให้ร้อง เราเป็นเด็กก็ร้องตาม แต่จะมีกี่คน ที่เกิดสงสัยว่า เพลง “ค่าน้ำนม” นี้ใครแต่ง และที่มาที่ไปของเพลงนี้เป็นมายังไง Hoot-Hoot เลยรวมข้อมูลมาสรุปให้รู้ค่ะ
- ค่าน้ำนม แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน เรียบเรียงเสียงประสานโดย สง่า อารัมภีร และ ประกิจ วาทยกร (บุตรชายของพระเจนดุริยางค์) ขับร้องและบันทึกเสียงครั้งแรกโดย ชาญ เย็นแข เมื่อ พ.ศ. 2492
- ค่าน้ำนม ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงที่เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่ง ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อปีพ.ศ. 2532
- ค่าน้ำนม คือ 1 ในไม่กี่เพลงที่ไพบูลย์ บุตรขัน แต่งให้กับมารดา คือ นางพร้อม ประณีต
- เนื้อเพลงค่าน้ำนม เกิดขึ้นจากความรู้สึกของครูไพบูลย์ที่เจ็บป่วยในระยะที่โรคเรื้อนคุกคามอย่างหนัก ในเวลานั้นคนรอบตัวต่างรังเกียจ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ ด้วยกลัวว่าจะติดโรคร้าย มีเพียงแม่พร้อมของครูไพบูลย์เพียงคนเดียวที่คอยดูแลครูไพบูลย์อย่างใกล้ชิดมาตลอด โดยไม่เคยคิดนึกรังเกียจแม้แต่น้อย ซึ่งแม่พร้อมดูแลครูไพบูลย์กระทั่งจากไปตอนอายุ 70 ปี
- ลาวัลย์ โชตามระ นักหนังสือพิมพ์หญิงเขียนสารคดีชื่อ “ไพบูลย์ บุตรขัน นักแต่งเพลง ‘ประวัติการณ์‘” ได้เขียนในบทความช่วงหนึ่งว่า “แม้ในขณะที่โรคร้ายคุกคามเขาอย่างรุนแรง แม่ก็เฝ้าปรนนิบัติพยาบาลโดยไม่มีความรังเกียจเกลียดกลัวเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่โรคที่เขาเป็นนั้น เป็นโรคร้ายที่ติดต่อกันได้ง่าย”
- แม้เพลงค่าน้ำนมจะไม่ได้แต่งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อร้องในงานวันแม่แห่งชาติ แต่เพลงนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการดนตรีไทย เพราะเป็นการสะท้อนให้แนวคิดศิลปะเพื่อชีวิต ซึ่งต่างจากเพลงมากมายที่แต่งกันในช่วงเวลานั้นที่ขับร้องกัน โดยมุ่งเน้นการแสดงอารมณ์รักใคร่ในเชิงชู้สาวเป็นหลัก (อ้างอิง : บทสัมภาษณ์ของ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง และผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดี)
- ประโยคที่ว่า “เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน” นั้น มีคำอธิบายในช่วงเวลาหลัง โดยอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ว่า หลังคลอดระดับเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดลง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนโปรแลกติน จากต่อมพิตุอิตารีไปกระตุ้นต่อมน้ำนมให้หลั่งน้ำนมซึ่งมีส่วนประกอบที่ได้จากเลือดของมารดา
- ขณะเดียวกัน ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ได้อธิบายการเกิดน้ำนมแม่ ใน “อรรถกถามหาตัณหาสังขยาสูตร” ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของพระพุทธโฆษาจารย์ รจนาในราว พ.ศ. 1000 ว่า มารดายังทารกผู้เป็นนั้นให้ดื่มกินน้ำนมในกาลใด กาลนั้นโลหิตในดวงหทัยของมารดาก็แล่นมาถึงบุตรแล้วก็บังเกิดเป็นน้ำนม เพราะความรักในบุตรจึงทำให้เลือดสีขาวเป็นน้ำนม เนื้อความดังกล่าวยังไปปรากฏอยู่ในคัมภีร์สารัตถสังคหะ ฉบับที่รจนาในลังกาทวีปของพระสิตธัตถะและฉบับที่รจนาล้านนาของพระนันทาจารย์ ซึ่งคัมภีร์สารัตถสังคหะทั้ง 2 ฉบับนี้เป็นหนังสือที่พระในอดีตนิยมตัดเอาข้อความไปใช้เทศนา (อ้างอิง : https://www.matichon.co.th/)
- นับจากวันแรกที่เพลงค่าน้ำนมได้เผยเพร่และวางจำหน่ายในปี เมื่อ พ.ศ. 2492 จนถึงตอนนี้ เพลงนี้มีอายุได้ 72 ปีแล้ว
แม้ตอนนี้โลกจะหมุนไปอย่างไร เพลง “ค่าน้ำนม” อาจจะไม่ค่อยได้ร้องกันแล้ว และหลายคนที่เคยเป็นลูก คงกลายมาเป็นแม่ในวันนี้…แต่เชื่อเถอะค่ะว่า ไม่ว่าคุณจะโตเป็นสาวเป็นหนุ่มกันแค่ไหน หรือจะอายุมาขึ้นในทุกปี ผมหงอกจะเพิ่มขึ้นกี่เส้น สำหรับแม่…คุณก็ยังเป็นลูกตัวเล็กๆ ของท่านเสมอนะคะ
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร