ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
ข้าวของขึ้นราคา!! ก็เลยมีหลายคนคิดจะต้องซื้ของเข้าครัวมาเก็บไว้บ้าง แต่ด้วยความหวังดีนะคะ แม้จะมีมีเงินซื้อตุนก็ขอให้ตุนแบบพอประมาณ เพราะถ้าซื้อมาตุนเยอะไป ไม่เกรงใจคนอื่นก็ไม่น่ารัก และที่สำคัญ ซื้อของมาเยอะๆ แล้ว เก็บของที่ซื้อมาวิธีหรือเปล่า เพราะเก็บไม่เป็น คำว่า ‘เสียของ’ จะปรากฏทันที
เอางี้ละกัน ไม่อยากเสียเงินฟรี เพราะเก็บตุนอาหารผิดวิธี มาเช็กวิธีเก็บอาหารที่ควรทำให้ถูกต้องกันดีกว่า
พริกขี้หนู ผักคู่ครัวของคนไทยที่ทุกครัวเรือนต้องมีอย่างพริกขี้หนู ต้องล้างทำความสะอาดก่อน จากนั้นเด็ดก้านทิ้ง แล้วซับให้แห้งก่อนจะลงไปบรรจุในกล่องที่รองก้นกล่องด้วยทิชชู่แห้ง 2-3 ชั้น จากนั้นปิดฝากล่องให้สนิท แล้วแช่ตู้เย็น
มะนาว บ้านไหนบ้านนั้นต้องมีมะนาวติดตู้เย็นแน่นอน แต่ถ้าจะให้เก็บแบบที่ใช้ไม่หมดละก็ อย่าเก็บแบบฝานคาๆ ไว้แบบนั้น ให้บีบเอาน้ำออกมาใส่ถาดน้ำแข็งแล้วแช่ช่องเย็นไว้ จะเอามาใช้ได้ในระยะเวลา 3 เดือน แต่ถ้ามาทั้งลูกก็ให้นำมะนาวใส่ถุงพลาสติกแล้วเจาะรูระบายอากาศ หรือหากอยากจะห่อด้วยกระดาษก่อนแบบที่ห่อผักก็ทำได้เช่นกัน
กระเทียม วิธีที่ง่ายที่สุดในการเก็บกระเทียมไว้ที่บ้านคือ นำกระเทียมใส่ถุงตาข่ายหรือตะกร้าไว้ ส่วนถ้าใครอยากเอาเข้าตู้เย็นก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าเป็นกระเทียมสับก็ต้องเก็บไว้ในภาชนะปิดฝาสนิทก่อน ถ้าไม่อยากให้กระเทียมฝ่อให้ปอกเปลือกออกก่อนแล้วนำระเทียมไปแช่ในน้ำมันมะกอกก็จะเก็บได้นานเป็นปี รับรองว่ากลิ่นของกระเทียมไม่จางหาย จะหยิบใช้ตอนไหนก็แค่นำมาล้างน้ำให้สะอาดก็ใช้ได้แล้ว
หอมหัวใหญ่ ถึงจะขึ้นชื่อว่าอยู่ได้นานสุดๆ แต่จะนานขึ้นถ้าเก็บไว้ในถุงตาข่ายเนื้อละเอียด ซึ่งบางยี่ห้อก็จะขายหอมหัวใหญ่แบบใส่ถุงตาข่ายแยกหัวมาอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ซื้อจากตลาดสด ก็หยิบของใกล้ตัวอย่างถุงน่องมาใช้ได้นะคะ เพราะตาข่ายเล็กๆ จะช่วยให้หอมหัวใหญ่สัมผัสอากาศได้เพียงพอแต่ไม่มากเกินไป ซึ่งถ้ามีหลายหัวก็อย่าลืมว่าต้องระวังอย่ามัดถุงน่องจนหัวติดกันเด็ดขาด ส่วนหอมใหญ่ที่ใช้ไม่หมด ก่อนนำมาใช้ให้เอาไปแช่น้ำเย็นจัดก่อน ก็จะทำให้กลับมาสภาพคงเดิมได้
สารพัดไข่ จะไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา อะไรก็ตามแต่ นอกจากจะเก็บที่ชั้นวางไข่ในตู้เย็นเพื่อกันการกระแทกแล้ว วิธีวางก็ต้องถูกต้อง นั่นคือวางให้ด้านแหลมอยู่ด้านล่าง แต่ถ้าซื้อมามากๆ แล้วชั้นวางไข่ไม่พอรองรับ ต้องเอาวางไว้ข้างนอก ก็อย่าลืมเอาน้ำมันพืชมาทาให้ทั่วไข่เสียก่อน น้ำมันจะเคลือบผิวไข่และป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกหรือกลิ่นเข้าไปในไข่ได้ ว่ากันว่าทำแบบนี้ เก็บไข่ได้นานเป็นปีแบบไม่ต้องใส่ตู้เย็น
ผักสดและผลไม้ กฎที่ต้องรู้คือ ห้ามเก็บไว้ด้วยกันเด็ดขาด! เพราะผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอธิลีนออกมา ทำให้ผักที่ว่างอยู่ใกล้ๆ เสียเร็ว ทีนี้ถ้าจะเก็บผักสดก็ให้ห่อผักนั้นด้วยกระดาษทิชชู (ไม่ใช่กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร) หรือจะเป็นกระดาษสีขาวสะอาดตา ก่อนนำไปใส่ในถุงซิปล็อกแยกประเภทและแช่ในช่องแช่ผัก อ้อ… อย่าลืมเด็ดใบเหลือง ใบช้ำทิ้งก่อนนะคะ
ส่วนถ้าเป็นผลไม้ ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่เพิ่มเติมคือ เจาะรูที่ถุงเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทก่อนเสมอ
เนื้อสัตว์ทั้งหลาย
เนื้อหมู-เนื้อไก่ : ใช้เท่าไหร่ หั่นออกมาแค่นั้น ส่วนที่เหลือก่อนใส่ถุงซิปล็อกให้หั่นแยกเก็บในปริมาณการใช้งาน 1 ครั้งแล้วค่อยใส่ถุงไว้ โดยหากมีหมูหลายประเภทก็ให้แยกเป็นถุงๆ แบบนี้เช่นกัน อย่าเอาหมูสับ หมูสามชั้น หมูเนื้อแดง ฯลฯ รวมกันในถุงเดียวเด็ดขาด เมื่อแยกแล้ว นำไปแช่เย็นที่อุณหภูมิ -1 ถึง 0 องศาเซลเซียส หรือเก็บที่ใต้ช่องฟรีซในตู้เย็นก็ได้
เนื้อปลา : ส่วนใหญ่แล้วปลาสดต้องเอาเครื่องในออกก่อน ก็อย่าลืมล้างให้สะอาดแล้วแบ่งเก็บใส่ถุงซีลหรือซิปล็อกก่อนแช่เย็น แต่ถ้าเป็นเนื้อปลาแช่แข็งมาแล้วก็แช่แข็งต่อไปได้ เพียงแต่ต้องระวังการเสียอุณหภูมิระหว่างการเดินทาง ซึ่งมีผลต่อการนำไปแช่แข็งต่อไป
กุ้งและปลาหมึก : จะเก็บแบบปอกเปลือกหรือไม่ปอกก็ได้ แต่ควรแยกเป็นห่อๆ ตามขนาดใช้ 1 ครั้งแล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง
เอาล่ะค่ะ อ่านถึงตรงนี้ เพื่อนๆ ชาวฮูกคงพอเข้าใจและเห็นภาพแล้วนะคะว่า ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์แต่ละชนิด ควรเก็บรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะเหมาะ ทำให้ถูกต้องนะคะ รับรองอาหารที่ตุนไว้ ไม่เสียหายแน่นอนค่ะ
ข้อมูล : www.wongnai.com, http://travel.trueid.net, www.rakbankerd.com
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร