สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
Hoot-Hoot ไปอ่านเจอบทความในเว็บไซต์ PPTV ซึ่งมีรายการ สถานีสุขภาพ (Health Bring Wealth by BDMS) มาค่ะ บทความนี้น่าสนใจตรงที่ได้รวมเทรนด์สุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามไปในปี 2566 นี้ ซึ่งความมี ‘สุขภาพ’ ดีนั้นไม่พออีกต่อไป แต่ต้องมี ‘สุขภาวะ’ หรือที่เรียกว่า Well-being ที่ดีคู่กันไปด้วย ซึ่งนี่คือหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals: SDGs) ที่องค์กรระดับโลกอย่างสหประชาชาติร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุขภาพดี พร้อมกับสุขภาวะ ภายในปี 2573
คำว่า ‘สุขภาพ’ เข้าใจง่ายๆ คือ ร่างกายแข็งแรงปราศจากโรค ส่วนคำว่า ‘สุขภาวะ’ คือความเป็นอยู่ที่ดี มีความสมดุลในทุกมิติ หากมนุษย์มีสองสิ่งนี้อยู่กับตัว การใช้ชีวิต ความคิดและการแสดงออกทั้งหมดจะออกมาดี ซึ่งแน่นอนว่าจะไปมีผลกับชุมชน สังคม เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และโลกในภาพรวมด้วย
เอาล่ะค่ะ ตอนนี้ก็มาดูว่า เทรนด์สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งคาดว่าจะมาแรงในปี 2566 จะมีอะไรบ้าง
- นวัตกรรมฟื้นฟูผิวหนังและกล้ามเนื้อ (NAD+)
ทำความเข้าใจก่อนว่า NAD+ คืออะไร?
NAD+ คือโคเอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมการงอกใหม่ของเซลล์ และการแปลงพลังงานของเซลล์เป็นสารประกอบสำคัญสำหรับร่างกายมนุษย์ที่ช่วยซ่อมแซม DNA ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ รวมถึงระบบเมตาบอลิซึมของเซลล์ให้ดีขึ้น โดยการเพิ่มระดับ NAD+ ในร่างกาย จะช่วยชะลอกระบวนการความชราและลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอายุได้
จึงเกิดการเพิ่มขึ้นของอาหารเสริมคอลลาเจนต่างๆ ขึ้น แต่เอาเข้าจริงๆ คือมีอาหารเสริมไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พิสูจน์ว่าร่างกายสามารถดูดซึมได้ จึงทำให้เกิด ‘NAD+’ หรือนวัตกรรมแห่งการฟื้นฟูผิวและกล้ามเนื้อขึ้นมา ด้วยการค้นพบใหม่ที่เชื่อกันว่าเป็นวิทยาการที่ก้าวหน้าและดูมีประสิทธิผลมากกว่า จึงคาดการณ์ว่านวัตกรรมใหม่นี้จะมาแรงในปี 2566
- โปรตีนหมัก
ความรู้ที่ว่าอาหารหมักดองดีต่อสุขภาพของลำไส้ แต่ในปี 2566 ไม่ได้มีเพียงกิมจิหรือชาหมักคอมบูชะเท่านั้นที่ได้รับความนิยม แต่จะเกิดมีโปรตีนหมักอื่นๆ ที่มาแรงไม่แพ้กัน โดยอาหารที่ได้จากการหมักจะกระตุ้นให้โปรไบโอติกเจริญเติบโต ทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายของเราได้ดีขึ้น
แต่เพราะว่าเทรนด์การกินอาหารทดแทนเนื้อสัตว์ขยายตัวขึ้น ผู้คนจึงพยายามหาแหล่งโปรตีนใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพราะเชื่อว่าจะยั่งยืนกว่าและดีต่อโลกด้วย ตลาดของพืชตระกูลถั่วและธัญพืชจึงขยายตัว และเกิดการนำถั่วมาหมัก อย่าง ‘เทมเป้’ เมนูถั่วเหลืองหมัก แหล่งอาหารโปรตีนสูง กลายเป็นอาหารที่เริ่มได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ และคาดว่าจะมาแรงในปี 2566
- อาหารเสริมสุขภาพดวงตา
แน่นอนว่า ไม่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกหรืออวัยวะภายในเท่านั้นที่ผู้คนจะให้ความสำคัญ แต่เรื่องดวงตาอันเป็นหน้าต่างของหัวใจนั้นก็เริ่มมีคนสนใจมากขึ้น แม้จะยังไม่มีโรคทางสายตามากวนใจ เพราะมีการสำรวจพบว่า ช่วงปี 2565 คนเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพดวงตาเพิ่มขึ้น 24% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2566 อย่างแน่นอน
- เนยถั่วผสมธัญพืช
เนยถั่วธรรมดาๆ อาจจะดูเก่าๆ เชยๆ ชินๆ ไปแล้ว แต่ปี 2566 นี้ รอดูได้เลยว่าจะมีผู้ผลิตเนยถั่วเมล็ดฟักทองหรือเนยถั่วเมล็ดทานตะวันกันออกมาให้ได้บริโภคกัน เพราะนอกจากจะดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มาพร้อมความอร่อย
- วิตามินสำหรับผู้ป่วยภาวะถุงน้ำในรังไข่
ผู้ป่วยภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) รวมถึงผู้ป่วยที่เผชิญกับปัญหาฮอร์โมนผิดปกติ หันไปหา ‘วิตามินสำหรับบำรุงไข่ เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์’ ซึ่งเป็นอาหารเสริมที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนและอินซูลิน เพื่อรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่ได้ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว เจ้าวิตามินตัวนี้มีมาสักพักแล้ว เพียงแต่มันเริ่มจะได้รับการพูดถึงและค้นหาข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในอาหารเสริมที่มีการค้นหาในปี 2565 มากที่สุด และคาดว่าจะถูกค้นหาอย่างต่อเนื่องในปี 2566 นี้
- ออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา (GRIT)
ใครๆ ก็รู้ว่า ออกกำลังจะหนักเบาคือดีทั้งนั้น แต่สำหรับเทรนด์ปี 2566 การออกกำลังกายจะพุ่งไปที่การออกแบบหนักสลับเบา (GRIT) เพราะมีผลการวิจัยยืนยันว่า การออกกำลังแบบนี้ช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือผู้ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดีได้
ส่วนท่าที่เวิร์กๆ ทำตามไม่ยาก แบบทำเองที่บ้านก็ได้ ขอแค่ได้ทำก็เช่น ท่า Low Lunge, ท่า Glute bridge, ท่า Bird Dogs, ท่า Dead bug เป็นต้น (เอาชื่อท่าไปค้นใน Google ได้เลยจ้า) โดยทำท่าละ 3 เซต เซตละ 45 วินาที พักระหว่างทาง 15 วินาที จะช่วงเช้าหรือเย็น หรือจะเช้าเย็นก็ได้
ส่วนว่า ออกกำลังตอนไหนดี Hoot-Hoot ก็มีข้อมูลที่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานมาฝาก ความว่า มีผลการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัย Bath ต่อกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กที่อังกฤษ ชี้ให้เห็นถึงข้อดีของการออกกำลังกายก่อนรับประทานอาหารเช้าว่า
การออกกำลังกายก่อนอาหารเช้ามีผลดีต่อการทำงานของร่างกายมากกว่า ในเรื่องการตอบสนองสารอินซูลินโดยกล้ามเนื้อ นั่นหมายถึงการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคหัวใจ
ทั้งนี้ ในการออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มให้พลังงานสำหรับการออกกำลังกายเสมอ และควรทานอาหาร 15-30 นาทีหลังออกกำลังกาย ในสัดส่วน โปรตีนคุณภาพสูง 1 ส่วน ต่อคาร์โบไฮเดรต 4 ส่วน เพราะการไม่ทานอะไรเลยภายหลังออกกำลังกายไปจนเข้านอน จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดความเครียด และทำให้เกิดการสลายตัวของไกลโคนเจนและโปรตีนในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลง ทำให้ประสิทธิภาพในการเล่นกีฬาครั้งต่อไปลดลงค่ะ
ข้อมูล : สถานีสุขภาพ | Health Station : PPTVHD36 และ https://www.gnc.co.th/blog/category/health-knowledge
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร