“เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
สายสุขภาพรู้จักเมล็ดพืชจิ๋วๆ ที่ทรงคุณค่าสองชนิดนี้อยู่แล้ว แต่ Hoot-Hoot เพิ่งจะเข้าสู่วงการสุขภาพ เพราะเพิ่งหมั่นออกกำลังกายมากขึ้นได้ 2-3 เดือนนี้เอง ก็เลยเพิ่งมาได้รู้จักอย่างจริงจัง วันนี้เลยมาขอแชร์ความรู้และขอความรู้เพิ่มเติมจากพี่ๆ นักอ่านชาวอ่านเอาซะหน่อย เผื่อว่าพี่ๆ ท่านไหน มีสูตรอร่อยจากสองเมล็ดที่ว่านี้ แนะนำฮูกได้นะคะ
ข้อมูลที่ Hoot-Hoot เสาะหาอ่านมาหลายที่หลายแห่ง เขาบอกว่า ทั้ง ‘เมล็ดเจีย’ และ ‘เมล็ดแฟล็กซ์’ เป็นเมล็ดพืชที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ โปรตีนและโอเมกา-3 ทั้งนั้น ส่วนเรื่องหน้าตานั้น ถ้าใครไม่เป็นตัวจริง (อย่าง Hoot-Hoot) คงได้มีมึน เวลาดูแบบไม่มีคำอธิบายบอกชื่อที่หน้าซอง
เมล็ดเจีย (Chia) มีลักษณะกลมรี ออกสีน้ำตาลเทา ขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นเมล็ดแฟล็กซ์ (Flax) นั้น มีรูปร่างคล้ายเมล็ดงาแต่มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นสีน้ำตาล
ว่ากันด้วยคุณค่าที่คุ้มค่า!!
เมล็ดเจีย อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง อย่างเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง (A High-quality Source) เพราะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด
เคยมีงานวิจัยบอกว่า เมล็ดเจีย 1 ช้อนโต๊ะ มีโปรตีน 4 กรัม ซึ่งในปริมาณที่ว่า เทียบเคียงได้กับเนื้อปลา 1 ช้อนโต๊ะ และยังมีโปรตีนมากกว่าข้าวขัดขาวมาก นั่นแปลว่า ต้องกินข้าวขัดขาวถึง 2 ทัพพี จึงจะได้ปริมาณโปรตีนเท่ากัน!!
นอกจากนี้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเมล็ดเจียคือ สามารถดูดซับน้ำได้ถึง 9 เท่าของน้ำหนักแห้ง ดังนั้น ก่อนกินจึงควรแช่น้ำอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้เมล็ดเจียดูดน้ำและพองตัวเต็มที่ หรือดื่มน้ำตามหลังกิน จะได้ไม่ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารและทำให้ท้องผูกได้
ส่วน เมล็ดแฟล็กซ์ นั้น ถ้าเทียบอัตราส่วนของปริมาณคุณค่าสารอาหารแล้ว ในปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงาน 534 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 28.9 กรัม โปรตีน 18.3 กรัม ไขมัน 42.2 กรัม ใยอาหาร 27.3 กรัม มิลลิกรัม และมาพร้อมวิตามินบี วิตามินเค โฟเลต โคลีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม สังกะสี ทองแดง แมงกานีส ซีลีเนียม ที่สำคัญมีกรดไขมันโอเมกา-3 สูงถึง 22,813 มิลลิกรัม และโอเมกา-6 ถึง 5,911 มิลลิกรัม!!
ความเจ๋งของเมล็ดแฟล็กซ์ที่ทาง The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism เคยลงไว้บอกว่า เมื่อผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนกินเมล็ดแฟล็กซ์ร่วมกับมื้ออาหาร วันละ 4 ช้อนโต๊ะ หรือราว 40 กรัม ติดต่อกัน 3 เดือน ปรากฏว่าระดับคอเลสเตอรอลรวมในเลือดลดลงถึง 6% และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง 12.8%
นอกจากนี้ ยังมีการตีพิมพ์ผลวิจัยใน Journal of Nutrition ครั้งหนึ่งว่า เมล็ดแฟล็กซ์ ช่วยลดความดันโลหิตได้ ถ้ากินแบบเต็มเมล็ดเสริมในมื้ออาหาร ต่อเนื่องนานอย่างน้อย12 สัปดาห์ ช่วยลดการอักเสบที่อาจทำให้เป็นโรคหอบหืด, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ปวดศีรษะไมเกรนและโรคกระดูกพรุน กรดอัลฟา-ลิโอเลนิก คือโอเมกา-3 อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในเมล็ดแฟล็กซ์ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก เมล็ดแฟลกซ์ยังช่วยลดความดันโลหิต นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารซึ่งช่วยในการย่อยอาหาร ขณะที่ Lignans ในเมล็ดแฟล็กซ์เชื่อกันว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่จะกินเมล็ดแฟล็กซ์ ควรบดละเอียดเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเต็มเปี่ยม เพราะหากกินโดยไม่บด จะได้สารอาหารจากไฟเบอร์เพียงน้อยนิด เพราะคุณค่าทางอาหารจริงๆ ซ่อนอยู่ภายในเมล็ดเล็กๆ ทั้งหลายนั่นเองค่ะ
พี่ๆ ชาวอ่านเอาท่านไหน มีสูตรกิน 2 เมล็ดนี้เด็ดๆ บอก Hoot-Hoot บ้างนะคะ จะขอก๊อบปี้สูตรสักนิด อยากสุขภาพดีสักหน่อย ขอบคุณค่า
อ้างอิงข้อมูลจาก https://mamaclub.info/ และ https://manhattanmedicalarts.com/
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร