เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
อยากใส่เพชรแท้ แต่เงินยังไม่ถึง ไม่ต้องเศร้าไปค่ะ ทางเลือกของคนที่หลงใหลในความวิบวับยังมี เพราะโลกนี้มีเพชรสังเคราะห์ที่เรียกว่าเพชร CZ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ใช้แทนกันได้ ระหว่างรอให้เงินพร้อม ช้อปเพชร CZ มาใส่ก่อนไม่เห็นเป็นไร
จริงๆ แล้ว เพชรสังเคราะห์นี้ไม่ได้เพิ่งจะมีนะคะ ในบ้านเรามีกันมานานแล้ว และความนิยมก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความดีที่ว่า แม้จะมีงบน้อยก็ซื้อมาใส่สวยๆ ได้ แถมยังมีหลายเกรดให้เลือก ถึงจะสวยได้ไม่เท่าเพชรแท้แต่ก็ส่องประกายวิบวับให้ชื่นใจได้พอตัว
CZ คืออะไร
CZ (ซี-แซด) เป็นตัวย่อของคำว่า Cubic Zirconia ซึ่งมนุษย์คิดค้นขึ้นมา โดยการใช้ Zirconium Oxide + Yttrium Oxide และความร้อน จนได้มาเป็นสารสังเคราะห์ที่มีความใกล้เคียงกับเพชร คือเป็นสารที่แข็ง, ไร้ตำหนิ ไม่มีสี แต่ส่องประกายและกระจายแสงได้ จึงดูคล้ายเพชรแท้มากที่สุด โดยเพชร CZ มีหลายสีได้เช่นเดียวกับเพชรแท้ โดยการใช้ธาตุผ่าน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสีต่างๆ กัน เช่น หากอยากได้สีส้มถึงแดงก็เติมซีเรียม (Cerium) ลงไป แต่ถ้าเติมโครเมียม (Chromium) จะให้สีเขียว เติมนิกเกิล (Nicketl) ให้สีน้ำตาล และถ้าเติมโคบอลต์ (Cobaslt) หรือนีโอดีเนียม (Neodynium) จะให้สีม่วงลาเวนเดอร์ เป็นต้น
อะไรคือความต่างของเพชร CZ และเพชรแท้
- ประกาย : แน่นอนว่าเพราะเกิดจากการสังเคราะห์ขึ้น เพชร CZ จึงมีการกระจายแสงได้ แต่น้อยว่าเพชรแท้ ดังนั้น หากคาดหวังความวิบวับประมาณ D Color หรือเพชรน้ำ 100% เลย ไม่สามารถเทียบได้
- ความแข็ง : อย่างไรก็ตาม ความเป็นเพชรแท้ที่แม้จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ยังคงชนะเลิศในเรื่องความแข็งในระดับ 10 ส่วนเพชรสังเคราะห์อย่าง CZ ความแข็งเต็มที่ก็ราว 8.5 ส่งผลให้มีความเงาน้อยกว่าและ ขูดขีดเป็นรอยง่าย
- สี : แน่นอนว่าเมื่อเป็นสารสังเคราะห์ขึ้นมา จึงสามารถทำให้เป็นเพชรไร้สีก็ได้หรือมีสีก็ได้ ซึ่งหากเป็นเพชรแท้ จะหาแบบไร้สีได้ยากมาก ดังนั้น จึงไม่แปลกหาเพชรเกรดสูง จะมีราคาแพง เพราะมีความใส ไร้สี ส่วนถ้าเกรดรองลงมาในเพชรแท้จะค่อยๆ มีสีเหลืองมากขึ้นเรื่อยๆ
- น้ำหนัก : ในปริมาตรที่เท่ากัน เพชร CZ จะมีน้ำหนักมากกว่าเพชรถึง 1.7 เท่า
- ราคา : เพชร CZ ราคาถูกกว่าเพชรแท้อย่างแน่นอน (ราคาหลักร้อย-พัน) แม้จะเลือกเพชรที่อยู่ในเกรดรองๆ ลงมาก็ตาม ด้วยเหตุผลของจุดกำเนิดของเพชรตามธรรมชาติที่กว่าจะเกิดขึ้นมาเป็นเพชรคุณภาพเยี่ยม ประกอบกับเรื่องของสีในเนื้อเพชร การเจียระไน ที่แม้จะมีการพัฒนาเจียระไนเพชร CZ ให้เหมือนเพชรมากขึ้น แต่เมื่อวางเปรียบกับเพชรแท้ ก็ยังเห็นความแตกต่างของเหลี่ยมต่างๆ แสงเงา การเล่นไฟ เพชรแท้จึงเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูง และแม้จะเก็บไว้นานๆ มูลค่าก็ไม่ลด แต่ในทางกลับกันเพชร CZ ถึงจะมีราคาที่ย่อมเยา แต่ก็ไม่มีมูลค่าแต่อย่างใด
ทีนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วค่ะว่าจะสบายใจช้อปเพชรสังเคราะห์มาใส่หรือเปล่า เพราะในปัจจุบัน เครื่องประดับที่เป็นลักษณะ Fine Jewellery มีการนำวัสดุต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลงาน และหนึ่งในนั้นคือการนำเพชร CZ มาใช้ คู่กับตัวเรือนทอง ทองคำขาว และโรสโกลด์ หากจะออกงานใดๆ อยากได้ความวิบวับประดับตัว เพชร CZ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ของแบบนี้อยู่ที่ความพอใจของคนซื้อ ถ้ามีเงินพร้อมอยากซื้อเพชรแท้ ซื้อเลยไม่ว่ากัน แต่ถ้างบไม่ถึงและอยากมีความสุขทางใจ ซื้อเพชร CZ มาใส่ได้ไม่เห็นต้องแคร์ใคร เพชรสังคราะห์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการเลือกเครื่องประดับมาใช้งานนยุคนี้นะคะ
ข้อมูล : www.proudcostumejewelry.com และ www.umasilver925.com
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร