“เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
วันนี้ Hoot-Hoot มีเรื่องอาหารมงคลมาฝากกันค่ะ ซึ่งข้อมูลที่จะเล่าให้ฟังในครั้งนี้ คือเรื่องของ ‘เกี๊ยว’ ที่ชาวจีนถือว่า นี่คือเมนูอาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน ซึ่งแรงบันดาลใจของเรื่องนี้ไม่ใช่ใครอื่นค่ะ โม่เหลียนฮวา จาก ชื่นกลิ่นกุสุมา เพราะนางได้เลือกเมนูเกี๊ยวมาสู้กับแฟนเก่าของสามีนาง
“ข้าเลือกที่จะทำเกี๊ยว เพราะข้าสามารถทำมันออกมาโดยที่คิดถึงความสุข”
เพียงแต่ว่า… ความเป็นเหลียนฮวาจะทำเกี๊ยวนี้ให้กลายเป็นเมนูอาหารอร่อยเริ่ดดดดได้ไหม จะเป็นไปได้งั้นหรือ อะๆ แต่เรื่องความพยายามของนางไม่แพ้ใคร ซึ่ง Hoot-Hoot ก็แอบจินตนาการเองว่า ถึงนางจะทำอาหารไม่อร่อย ห่อเกี๊ยวก็อาจจะไปสวยเป๊ะ แต่เชื่อว่านางน่าจะรู้ที่มาที่ไปของเมนูนี้อยู่นะ
‘เกี๊ยว’ เมนูนี้เป็นมายังไง
ถ้าพูดเรื่องอาหารปีใหม่ของจีนและอาหารที่ชาวเอเชียตะวันออกฮิตกันมาตั้งแต่สมัยโบราณไม่พ้นเมนู ‘เกี๊ยว’ ที่ทุกบ้านต้องมีเกี๊ยวฉลองในวันปีใหม่ค่ะ โดยชาวจีนทุกบ้านต้องทำอาหารดีๆ และเป็นมงคลร่วมฉลองในเทศกาลปีใหม่ที่ได้อยู่พร้อมหน้ากับครอบครัว แต่ตามข้อมูล Hoot-Hoot ได้มาจากนาคเหรา เจ้าของผลงาน ชื่นกลิ่นกุสุมา ได้สืบค้นไว้เป็นวัตถุดิบในการเขียนนิยายเรื่องนี้บอกไว้ว่า
ประวัติความเป็นมาของเกี๊ยว ไม่ได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยไหน แต่มีข้อมูลว่า เกี๊ยวเป็นอาหารมงคลของชาวจีนที่กินกันตั้งแต่ชนชั้นสูงไปจนถึงประชาชนทั่วไป และโดยมากจะกินกันในเทศกาลตรุษจีนหรือช่วงขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ให้มีความเจริญรุ่งเรือง และมีอายุที่ยืนยาวค่ะ
ส่วนเหตุผลที่ชาวจีนถือว่าเกี๊ยวเป็นอาหารมงคลเพื่อส่งเสริมเรื่องสุขภาพและต่ออายุก็สืบเนื่องมาจาก สมัยก่อนมีตำนานเล่าว่าแพทย์จีนชื่อ ‘หมอจางเจี่ยวจือ’ ชาวเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางการแพทย์ที่มีความสามารถในการรักษาอาการเจ็บป่วยได้ทุกชนิดได้คิดค้นอาหารชนิดนี้ขึ้นมาในระหว่างทางกลับบ้าน เพราะหมอชาวหนานหยางเห็นชาวบ้านเจ็บป่วย เป็นไข้และหูก็เปื่อยเพราะถูกหิมะกัด จึงคิดสูตรยาขึ้น
สูตรที่ว่าคือต้มเนื้อแพะ พริกและสมุนไพรที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกายในหม้อใบใหญ่ จากนั้นก็ตักเนื้อแพะมาสับให้ละเอียด และใช้แป้งที่นวดไว้ห่อเนื้อแพะสับโดยจีบให้เหมือนรูปหูเพื่อแก้เคล็ดแล้วก็นำไปต้มจนสุก เสร็จแล้วก็ทำน้ำซุปไว้กินคู่กับยาที่ทำขึ้น เมื่อชาวบ้านได้กินยาของหมอจางเข้าไปก็รู้สึกอบอุ่นไปทั้งร่างกาย พอกินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ตลอดจนถึงวันตรุษจีน ชาวบ้านที่ป่วยอยู่ก็หายป่วย พวกเขาจึงได้ฉลองวันขึ้นปีใหม่ไปพร้อมกัน
และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวจีนก็เลยดัดแปลงทำแป้งจีบห่อไส้ให้คล้ายๆ กับตัวยาของหมอจาง เอาไว้สำหรับรับประทานกันในวันตรุษจีน
ความเชื่อกับเรื่อง ‘เกี๊ยว’
ว่ากันว่า อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ ‘เกี๊ยว’ เป็นอาหารที่นิยมกินกันอย่างแพร่หลายในวันตรุษจีนหรือวันปีใหม่ เพราะรูปร่างของเกี๊ยวมีหลายแบบหลายไส้แตกต่างกัน ซึ่งรูปลักษณ์ของเกี๊ยวคล้ายกับก้อนเงินของจีนในสมัยโบราณค่ะ แถมยังมีตำนานเล่าว่าการกินเกี๊ยวในช่วงปีใหม่ว่า ทำเกี๊ยวให้เหลือเยอะกว่าที่จะกินจะช่วยให้มีเงินเหลือใช้มากมายในปีนั้น ส่วนคนที่อยู่ตามชนบทจะทำเกี๊ยวที่มีลวดลายคล้ายรวงข้าวสาลีเพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าในรอบปีใหม่นี้จะมีการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์
นอกจากนี้ เวลาทำเกี๊ยว คนจีนเชื่อว่าควรจะมีจำนวนของจีบเป็นเลขมงคล และต้องจีบเกี๊ยวให้มีลักษณะป่องกำลังดี ถ้าทำแบนๆ จะหมายถึงความยากจน และบางคนก็จะใส่ด้ายสีขาวภายในไส้เกี๊ยว ซึ่งคนที่รับประทานเกี๊ยวนั้นจะมีชีวิตยืนยาว เอ… แต่ Hoot-Hoot ก็สงสัยนะว่า ต้องแหวะเอาด้ายออกก่อนค่อยกินสินะ โอ๊ยยยย ยุ่งยากไปอีกกว่าจะได้กินเนอะ
ทีนี้มาดูเรื่องเกี๊ยวกันอีกหน่อย อย่างที่เราพอจะนึกๆ กันได้ว่า ไส้เกี๊ยวต้องผสมทั้งเนื้อสัตว์และผักด้วยกัน แต่ไม่ใช่แค่สับๆ เท่านั้นนะคะ คนจีนเชื่อว่า เสียงสับไส้ยิ่งนานยิ่งดังจะยิ่งทำให้มีทรัพย์สินเหลือมากและยาวนาน เพราะเสียงของคำว่า เนื้อและผักรวมกันจะคล้ายกับเสียงคำว่า มีทรัพย์ และถ้าใช้เวลานานในการสับไส้เกี๊ยว ยังเป็นการแสดงว่าบ้านนี้มีชีวิตที่มั่งคั่งอีกด้วย
ที่มาข้อมูล : http://thai.china.com และนาคเหรา
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร