“รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
Hoot-Hoot เดินเที่ยวเล่นซื้อของเข้าบ้านแล้วบังเอิญไปเจอตู้แช่แข็งที่รวบรวมเมนูผักแช่แข็งเอาไว้ ทีนี้ก็ไปสะดุดตากับผักในถุงที่หน้าตาก็เหมือนกัน ต่างเพียงขนาดที่เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน พอดูที่หน้าถุงก็เห็นว่าใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษต่างกัน อยากรู้จึงหยิบมือถือมาเสิร์ชหาคำตอบทันที ก็ได้ความว่ามันคือรูปแบบการหั่นผักที่ต่างกัน และแต่ละความต่างก็มีคำเรียกมากกว่าที่คิดค่ะ
การหั่นแบบเป็นแท่งๆ มีอยู่ 2 แบบคือ Julienne (จูเลียน) และ Batonnet (บาโตเนต) ความต่างคือ Julienne จะเป็นแท่งเรียวเล็กกว่า คือ หนาเพียง 1/8 นิ้ว และยาวประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งเป็นการหั่นที่นิยมใช้กับเมนูสลัด หรือแม้แต่ไชเท้าแท่งในเมนูอาหารเกาหลี ส่วน Batonnet จะความหนากว่าเท่าตัว และยาวกว่านิดหน่อย การหั่นแบบนี้ที่คุ้นเคยกันคือเมนูเฟรนช์ฟรายส์ค่ะ
ต่อมาเป็นการหั่นที่เชื่อว่า หลายคนคุ้นเคยคือการหั่นแบบ Slice (สไลซ์) ก็คือหั่นเป็นแว่นๆ ตามรูปทรงของอาหาร ซึ่งใช้ได้กับวัตถุดิบหลากหลาย และถือเป็นการหั่นยอดฮิตของแม่บ้านเลยก็ว่าได้
สำหรับการหั่นที่เด็กๆ ชอบมากๆ คือ หั่นทรงเต๋าที่มีมากมายหลายขนาด และชื่อเรียกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น
Brunoise (บรูนัวส์) คือการหั่นแบบลูกเต๋าจิ๋วสุดๆ คือขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตร จะเริ่มจากหั่นเป็นแท่งๆ แบบ Julienne ก่อนแล้วจึงหั่นซอยให้เป็นลูกเต๋าเล็กๆ อีกที ซึ่งการหั่นเต๋าขนาดนี้นิยมหั่นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในไส้ต่างๆ รวมถึงโรยหน้าตกแต่ง
Small dice (สมอล ไดซ์) คือการหั่นลูกเต๋าเล็กที่ขยับขนาดขึ้นมาอีกนิด หนาประมาณ 1/4 นิ้ว ซึ่งวัตถุดิบที่ทำเป็นไส้ของไข่ยัดไส้หรือผักกับข้าวผัดได้ด้วย
Medium dice (มีเดียม ไดซ์) คือการหั่นลูกเต๋าที่ขยับความใหญ่มาอีกขั้นแต่ยังไม่ใหญ่สุด คือจะหนาประมาณ 1/2 นิ้ว สำหรับเมนูฟรุตสลัด หรือใส่ในขนมหวานที่พอให้เคี้ยวแล้วเจอเนื้อสัมผัสและรับรสชาติกลมกล่อมที่แทรกในเนื้อ จึงมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
Large dice (ลาร์จ ไดซ์) คือ ซุปเปอร์ไซซ์ของการหั่นแบบเต๋าเลยก็ว่าได้ เพราะจะหั่นใหญ่เบิ้มถึง 1 นิ้ว นิยมหั่นกับแครอต มั่นฝรั่งสำหรับทำซุปหรือใส่ในแกงกะหรี่
การหั่นแบบต่อไป คนไทยเรียกว่า “หั่นฝอย” ซึ่งก็ไม่ผิดนะคะ เพราะ Chiffonade (ชิฟฟอเนด) คือการที่เรานำใบของผักมาเรียงซ้อนทับกันและม้วน จากนั้นก็ซอยให้เป็นเส้นบางๆ อย่างการซอยใบมะกรูดค่ะ
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่หั่นแบบไม่มีการกะขนาด เราจะคุ้นกับคำว่า “สับ” ใช่ไหมค่ะ ซึ่งการหั่นในลักษณะสับก็มีชื่อเรียกนะคะ คือ Mince (มินซ์) คือการหั่นอาหารแบบละเอียดโดยไม่จำเป็นต้องเป็นรูปทรงที่แน่นอนแต่ต้องมีขนาดที่เท่าๆ กัน แต่ถ้าเป็น Rough Chop (รัฟช็อป) จะสับหยาบกว่า อย่างเช่นกันหั่นสับในเมนู Chopped Salad นั่นล่ะค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การหั่นแต่ละแบบกับชื่อเรียกที่ต่างกัน ครั้งหน้าจะออร์เดอร์ให้ลูกมือในครัวช่วยหั่นช่วยสับ ใช้คำเหล่านี้บอกได้นะคะ รับรองว่าไม่พลาดแน่นอน
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร