“ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
อ่านนิยายเรื่อง ‘ขอบฟ้าจรดขอบน้ำ’ ของคุณกฤษณา อโศกสิน แล้ว Hoot-Hoot เชื่อว่า เพื่อนๆ หลายคนคงเกิดอาการเดียวกันคือ อยากขับรถไปท่องโลกกว้างแบบนั้นบ้าง แต่แค่ขับรถเป็นอย่างเดียวไม่ได้นะ ใบขับขี่ต้องมี! และต้องไม่ใช่ใบขับขี่ที่ใช้ในบ้านเราเท่านั้น ถ้าคิดจะขับรถท่องโลกต่างแดน ต้องมี ‘ใบขับขี่สากล’
จะขับขี่สากลได้ต้องเริ่มจากขับขี่ในประเทศก่อน
ใบขับขี่สากล หรือ International Driving Permit (IDP) คือใบอนุญาตขับขี่ในต่างประเทศที่จะต้องใช้ควบคู่กับใบขับขี่ภายในประเทศ เพื่อให้คนขับสามารถขับรถออกนอกประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย (ในกรณีที่เอารถของตัวเองไปเที่ยวด้วย แต่ทางที่ดี พกไปทั้ง 2 ใบปลอดภัยสุด) ซึ่งลักษณะของใบขับขี่สากลนั้นจะไม่ได้มีขนาดเล็กๆ เท่ากับใบขับขี่ในประเทศ แต่จะมีขนาดใหญ่กว่าพาสปอร์ตเล็กน้อย และในนั้นจะมีข้อมูลสำคัญคือ รูปภาพของผู้ถือบัตร คำแปลจากหลายภาษา และสถิติต่างๆ โดยใบขับขี่สากลจะมีอายุการใช้งานเพียง 1 ปีเท่านั้น
ในปัจจุบันใบขับขี่สากลสามารถใช้ได้ทั้งหมด 198 ประเทศ แต่ในจำนวนนี้ ในบางประเทศก็มีข้อกำหนดพิเศษประกอบด้วย เช่น ไม่เป็นประเทศภาคีฯ แต่ก็ยอมรับใบอนุญาตขับขี่สากล หรือบางประเทศเมื่อเดินทางไปถึงแล้วต้องแสดงตัวและใบขับขี่สากลนี้ต่อตำรวจท้องที่และชำระค่าลงทะเบียนพิเศษด้วย
แต่ถ้าประเทศที่อยากจะขับรถเที่ยวคือ สปป.ลาว, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, บรูไน, กัมพูชา, เวียดนาม และเมียนมา ไม่ต้องทำใบขับขี่สากลนะคะ สามารถใช้ใบขับขี่ของบ้านเราได้เลย
ขั้นตอนทำใบขับขี่สากล
Step 1 >> เช็กประเทศที่จะไปเที่ยวก่อน ว่าต้องใช้หรือไม่ใช้ใบขับขี่สากล และมีกฎระเบียบอะไรบ้าง
Step 2 >> เตรียมเอกสารให้พร้อม อันได้แก่
- สำเนาหนังสือเดินทางเล่มที่ใช้ในการเดินทางต่างประเทศ ประวัติหน้าที่แก้ไข (พร้อมฉบับจริง) ต้องเป็นหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่ยังไม่หมดอายุ
- สำเนาและฉบับจริงของใบขับขี่รถยนต์ หรือใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล (ชนิด 5 ปี) หรือตลอดชีพ
- รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ที่เพิ่งถ่ายไปไม่เกิน 6 เดือน เป็นรูปหน้าตรง ไม่สวมหมวกหรือสวมแว่นตาสีเข้ม ไม่มีภาพวิวหลังรูป (พูดง่ายๆ คือ ใช้รูปที่เป็นทางการเหมือนตอนไปสมัครงานนั่นเอง)
- ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ให้นำสำเนาหลักฐานการแก้ไขชื่อและสกุลไปด้วย
- หลักฐานอื่นๆ เช่น ทะเบียนสมรสหรือใบหย่า
- เตรียมเงินค่าธรรมเนียมในการทำใบขับขี่สากลไปด้วย 505 บาท
Step 3 >> เลือกสถานที่ทำใบขับขี่สากล ซึ่งหากเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถไปทำได้ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 แต่ถ้าอยู่ต่างจังหวัดสามารถขอทำใบขับขี่สากลได้ที่สำนักงานขนส่งของจังหวัดได้เลย
ในกรณีที่ไม่สะดวกจะเดินทางไปทำใบขับขี่สากลด้วยตัวเองก็สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นไปทำแทนได้ โดยเตรียมเอกสารเหมือนที่ Hoot-Hoot บอกไว้ให้ครบ และเพิ่มใบมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท, สำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้มอบและรับอำนาจ (พร้อมฉบับจริง) ซึ่งยังไม่หมดอายุ โดยอย่าลืมให้ผู้มอบอำนาจลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารหลักฐานทุกฉบับ
เอกสารไม่เยอะ ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แค่นี้ก็ได้ใบขับขี่สากลมาครอบครอง จากนั้นตีตั๋ว เก็บกระเป๋า และข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำตามไปช่วยน้องบนฟ้าสกัดดาวรุ่งแม่หนูยาเยียได้เลย คริๆๆ
ข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก (www.dlt.go.th)
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร