“ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย…สั่งได้ยังไง
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
“ยาสั่งที่คนสมัยก่อนใช้ ก็คงมีที่มาแบบนี้นั่นเอง… ของสองอย่าง เมื่อกินแยกกันไม่ส่งผลอะไร แต่ถ้ากินผสมกันเมื่อไรก็เกิดเป็นอันตรายเมื่อนั้น…” นี่ล่ะค่ะ คือแรงบันดาลใจแห่งความสงสัยของ Hoot-Hoot ที่หลังจากอ่านนิยายเรื่อง ‘ฉัตรกนก’ ตอนที่ความจริงเริ่มปรากฏว่า คุณหญิงวิศวานฤมิตและคุณหญิงฉัตรกนกโดนยาสั่งผ่านทางชาที่ดื่ม ก็เลยเกิดความอยากรู้อยากเห็นว่าเจ้ายาสั่งมันอะไรยังไงกันแน่
เมื่อสงสัยต้องหาคำตอบ!! งานสืบต้องมา
‘ยาสั่ง’ ตามความหมายที่ราชบัณฑิตยสถานให้ไว้คือ ยาพิษจําพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กําหนดหรือตามเวลาที่กําหนดไว้
ว่ากันว่า กลุ่มที่มีชื่อเสียงเรื่องยาสั่งมักจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมร-กูย ทางอีสานใต้แถวอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในเรื่องนี้ พระยาอนุมานราชธนได้บันทึกเรื่องการทำยาสั่งว่า
“ยาสั่งนั้นทำจากว่านบางชนิด นำมาบดผสมเข้ากับกระดูกงูเห่าไฟ เมื่อจะใช้ก็นำผงนี้จำนวนเล็กน้อยไปใส่ในเหล้า คนที่กินเข้าไปก็จะตายใน 4-5 ชั่วโมง เว้นแต่จะได้รับยาแก้ทันเวลา”
นอกจากนี้การใช้ยาสั่งของทางอีสานใต้หรือเขมรก็คล้ายกัน คือมีชนิดที่กินแล้วถึงแก่ความตายเลย หรือต้องกินอาหารที่คนวางยากำหนดไว้หรือ ‘สั่ง’ เอาไว้ คล้ายกับที่พระยาอนุมานราชธนได้เล่าไว้ คือกำหนดให้ออกฤทธิ์หลังจากกินอาหารหรือเครื่องดื่มเฉพาะ (อ้างอิงจาก www.sac.or.th)
เอ… ถ้าอย่างนั้นที่ปู่ย่าตาทวดเล่าว่า บางทีมีคนตายโดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ก็คงมีเรื่องของยาสั่งมาเอี่ยวแหงๆ และจากข้อมูลที่ไปอ่านๆ มา ทำให้รู้ว่า ในความเชื่อของคนโบราณนั้น ยาสั่งเป็นการจับมือกันของวิชา 2 แขนง คือไสยเวทและการปรุงยาสมุนไพร เป็นยาที่กินแล้วถึงตายหรือได้รับความทุกข์ทรมาน แล้วก็มีแบบกินปุ๊บตายทันทีในไม่กี่นาที กับที่กินแล้วตายอย่างช้าๆ
ทีนี้ก็เกิดคำถามว่า แล้ววิธีที่จะทำให้คนกินแล้วตายอย่างใจสั่งล่ะ ทำยังไง?
แน่นอนค่ะ ไม่ได้เดินถือมาเป็นยาเม็ดแล้วยื่นให้บอกว่า กินสินี่ยาบำรุง แต่จะเป็นการเนียนๆ มาใส่ไว้ในอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็อย่างที่คุณหญิงวิศวานฤมิตและคุณหญิงฉัตรกนกโดน วิมล วิเศษสุรนาถ เนียนใส่ไว้ในชานั่นไงคะ โดยวิธีการสั่งก็มีลึกลงไปอีกนิดคือ จะกำหนดระยะเวลาให้ยาออกฤทธิ์ด้วยการกล่าวคาถาอาคมกำกับไว้ว่าผู้กินเข้าไปต้องมีอันเป็นไปในแบบที่คนทำยาสั่งต้องการ และยังมีความเฉพาะเจาะจงลงไปอีกขั้นคือ กำหนดลงไปในสูตรตัวยาเลยว่า เมื่อใส่ยาสั่งไปกับอาหารชนิดนั้นชนิดนี้แล้วคนที่กินจะเกิดอาการจนถึงความตายเมื่อกินอาหารที่กำหนดเข้าไปด้วย เช่นว่า ยาสั่งที่มีตัวกระตุ้นคือเนื้อควาย หลังจากกินอาหารที่มียาสั่งเข้าไปแล้วจะไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะกินอาหารที่มีเนื้อควายเข้าไป อาการก็จะเริ่มมา แล้วจะค่อยๆ ตายอย่างช้าๆ จับมือใครดมไม่ได้ หรือแล้วแต่ความปรานีของคนทำยาสั่งนั้นๆ
แต่ Hoot-Hoot ว่าถ้าเป็นสมัยนี้คงเป็นลักษณะว่าศึกษา ค้นคว้าทดลองและบันทึกกันไว้แบบเป๊ะๆ ว่า กินแค่ไหน ออกฤทธิ์เมื่อไหร่ แล้วค่อยเลือกปริมาณยาสั่งจัดการแหงๆ ซึ่งทำให้กำหนดได้ว่า บางคนก็แค่ทรมานแต่ไม่ถึงตาย ประมาณว่ามีอาการบางอย่างเกิดขึ้นมาในเวลาไม่กี่นาที อย่างเป็นอัมพาตชั่วขณะ บางคนก็โหดหน่อยคือใช้ยาแรงเพราะหวังให้อีกฝ่ายโบกมือลาโลกหมดลมหายใจในที่สุด
ส่วนว่าเดี๋ยวนี้ยังมียาสั่งกันอยู่ไหม ฮูกก็ยังเชื่อว่ายังมีการใช้ยาสั่งนะ เพราะจากข้อมูลที่เจอบอกว่า มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพัทลุง ส่วน Hoot-Hoot นั้นไม่เคยเจอ และไม่ขอเจอดีกว่า คือไม่อยากเป็นแบบคุณหญิงวิศวาฯ อะค่ะ แล้วถ้าไม่ถึงตาย แต่เป็นอัมพาตชั่วคราวอย่างคุณหญิงฉัตรกนก Hoot-Hoot ก็ขอบายนะคะ เพราะชีวิตจริงไม่มีตวงฤทธิ์มาเป็นฮีโร่ งั้นไม่ขอเสี่ยงละกันเนอะ
ข้อมูล :
- www.thairath.co.th
- www.sac.or.th
- www.hatyaifocus.com
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร