เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
เคยรู้ไหมคะว่าความแตกต่างของ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) และเมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล) อยู่ที่ตรงไหน และควรใช้แบบใดถึงจะทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคได้ตรงจุด
เอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol)
มีสูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูงและสามารถละลายน้ำได้ ถือว่าเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% และมีขั้นการทำผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้ง ใช้สำหรับทำความสะอาดฆ่าเชื้อโดยไม่เป็นพิษต่อร่างกาย จึงสามารถนำมาเช็ดถูบนร่างกายได้อย่างปลอดภัย แถมยังเอาไปใช้ในการผลิตเครื่องสำอางได้ด้วย
แอลกอฮอล์ชนิดนี้ยังนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ด้วย แต่อาจจะมีพิษต่อร่างกายคือเกิดอาการเมานั่นเอง ถ้ากินต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ความเป็นพิษที่ว่าจะนำมาซึ่งโรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบนั่นเอง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถนำเอทานอลกลุ่มที่ใช้ในการล้างแผลมาทำเหล้าได้นะคะ เพราะด้วยขั้นตอนการผลิตและสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ประกอบนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อกิน ดังนั้น หากคิดจะกินกลุ่มที่นำมาล้างแผลล่ะก็ บอกเลยว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายแน่นอน
เมทิลแอลกอฮอล์ หรือเมทานอล (Methyl Alcohol หรือ Methanol)
มีสูตรเคมีคือ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นแอลกอฮอล์ที่มีขั้นการทำผลิตจากกลั่นทางปิโตรเคมี จึงนิยมใช้ในงานประเภทอุตสาหกรรม เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่า กินไม่ได้นะคะ และยังเป็นแอลกอฮอล์ที่ห้ามนำมาใช้กับร่างกายอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าสัมผัสโดนเมทิลแอลกอฮอล์เมื่อไหร่ จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ยิ่งถ้าสูดดมเข้าไปก็จะส่งผลต่อสมองและระบบประสาท รวมถึงระบบทางเดินหายใจด้วย ซึ่งผู้ที่สูดดมเข้าไปมากๆ จะมีอาการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลทำให้หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ รวมถึงมีการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ
แล้วใช้แอลกอฮอล์แบบไหนสำหรับฆ่าเชื้อ?
คำตอบคือ ‘เอทานอล’ ค่ะ เพราะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ดีกว่าเมทานอลที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อต่ำ แถมยังมีพิษที่รุนแรงต่อร่างกายมาก จึงไม่ควรนำมาใช้แทนเอทิลแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด
ที่สำคัญ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อต้องมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 70% เป็นอย่างต่ำ จึงจะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสได้
ส่วนว่าจะมีวิธีการตรวจสอบเอทิลแอลกอฮอล์ไหม ขอบอกว่ามีค่ะ โดยนำน้ำส้มสายชู 3 มล. ผสมกับด่างทับทิม 1 เกล็ด แล้วใช้เอทิลแอลกอฮอล์หรือเมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 3 มล. ผสมกับน้ำส้มสายชูที่ละลายกับด่างทับทิมไว้แล้ว 1 ml ถ้าเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ที่อันตรายต่อร่างกายสีจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15 นาทีแรก แต่ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยต่อร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นสีภายใน 1 นาที
ข้อมูล : https://bestreview.asia, www.liquor.or.th
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร