ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร
โดย : Hoot-Hoot
เรื่องราวรอบตัวน่ารู้น่าอ่านกับหลากหลายสิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ในคอลัมน์ Lifestyle โดย Hoot-Hoot ที่อ่านออนไลน์แล้วรับรองมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวดีๆ ที่รายล้อมรอบตัว #มีให้อ่านที่อ่านเอา
…………………………………………..
จะดีแค่ไหน ถ้าคุณได้รักษาสุขภาพไปพร้อมๆ กับได้รักษ์โลกไปด้วย ยิ่งยุคนี้จะกินอะไรก็ต้องเช็กแล้วเช็กอีกว่าปลอดภัยจริงหรือเปล่า ยิ่งถ้าซื้อผักมาทำอาหารยิ่งต้องระวังหนัก เพราะสารปนเปื้อนเพียบ บางทีเห็นว่าผักสวยสดน่ากิน แต่พอเข้าแล็บตรวจสอบความปลอดภัยถึงกับเข่าทรุดเพราะปริมาณสารปนเปื้อนมาพร้อมเชื้อโรคที่ตาเปล่ามองไม่เห็น กระแสผักสะอาดๆ ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยจึงเกิดขึ้นภายใต้ชื่อที่หลายคนยังงงว่า เอ… มันต่างกันยังไง
ความปลอดภัยมีหลายระดับอย่างนั้นหรือ? ในยุคนี้จึงมีคำเรียกที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็น ‘ผักปลอดสารพิษ’ ‘ผักปลอดภัย’ และ ‘ผักออร์แกนิก’
‘ผักปลอดสารพิษ’ แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นผัดปลอดสารพิษ แต่ชีวิตจริงไม่ได้แปลว่าจะปลอดสารพิษ 100% เพราะความปลอดสารพิษคือไม่ใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูก แต่ในขั้นตอนการผลิตยังมีการใช้ปุ๋ยเคมีเร่งโตกระทั่งอาจถูกตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ก่อนนำมาปลูก เพียงแต่ยังถือว่ากินได้ในระดับที่ปลอดภัย ซึ่งการใช้สารเคมีในการผลิตมีการควบคุมไม่ให้สารเคมีตกค้างในผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนด
นอกจากนี้แม้ในฟาร์มผู้ผลิตจะเคร่งครัดกับเรื่องการไม่ใช้สารพิษกำจัดศัตรูพืช แต่ยังคงมีโอกาสเกิดสารพิษตกค้างได้จากสภาพแวดล้อมของฟาร์ม อยู่ใกล้กับฟาร์มที่มีการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง จึงมีโอกาสที่สารพิษที่ฟาร์มอื่นในบริเวณใกล้เคียงฉีดพ่นลอยมาตามอากาศตกลงในฟาร์มผักปลอดสารพิษของผู้ผลิตได้ หรือแม้แต่ในผิวดินที่ใช้เพาะปลูกก็อาจมีสารเคมีที่เคยถูกฉีดพ่นซึมซับตกค้างไว้แต่เดิม
‘ผักปลอดภัย’ คือ ผักที่ผ่านระบบรับรองที่ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP ซึ่งสามารถตรวจสอบถึงที่มาที่ไปของผักชนิดนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งผลิตที่ตรวจสอบได้ว่ามาจากฟาร์มไหน ฟาร์มนั้นได้มาตรฐาน มีรูปแบบการปลูกที่ดีและเหมาะสมในเรื่องการจัดการดินและน้ำไหม มีการคัดสรรเมล็ดพันธุ์ ควบคุมสารเคมี โรคและแมลง รวมถึงมีการรักษา ปรับปรุง ดูแลให้การปลูกผักนั้นอยู่ในมาตรฐาน ความปลอดภัยห่างไกลจากการปนเปื้อนตั้งแต่ฟาร์มไปถึงโรงงานหรือไม่
ที่สำคัญคือ เมื่อเข้าสู่กระบวนการขนส่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะเกิดการปนเปื้อนได้มากๆ นั้น มีการวางระบบและคงคุณภาพผักไว้ได้ดีตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางด้วยวิธีการใด เรียกได้ว่า หากอยากตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาที่ไปของผักที่ซื้อมานั้น หากขึ้นชื่อว่าเป็นผักปลอดภัยก็สามารถทำได้
‘ผักออร์แกนิก’ คือผักที่มีความเป็นธรรมชาติสูงมาก เพราะตอนที่ปลูกจะไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ แต่ปลูกโดยดัดแปลงสภาพการเพาะปลูกเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้พืชผักเจริญเติบโตได้ด้วยวิธีแบบธรรมชาติโดยอาหารจากธรรมชาติ ผักออร์แกนิกจะค่อยๆ เติบโตขึ้นโดยมีระยะเวลาการเติบโตตามธรรมชาติของพืชผักชนิดนั้นๆ จึงใช้เวลาปลูกนานกว่าผักปลอดภัยและผักปลอดสารพิษ โดยผักออร์แกนิกมักถูกบรรจุในถุงพลาสติกที่บนถุงมีเครื่องหมาย Organic Thailand หรือ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ‘IFOAM Accredited’ ระบุไว้ เพื่อรับรองมาตรฐานการผลิตตามกระบวนการธรรมชาติ
และอย่างที่อธิบายไปแล้วทั้ง 3 คำ เราอาจสรุปได้ว่า ผักออร์แกนิกเป็นผักปลอดสารพิษและผักปลอดภัยได้ แต่ผักปลอดสารพิษไม่จำเป็นต้องเป็นออร์แกนิกเสมอไป และผักปลอดภัยก็มีระดับความปลอดภัยมากกว่าผักปลอดสารพิษเพราะสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาได้นั่นเอง
ข้อมูล : www.kcfresh.com, www.rakbankerd.com, www.honestdocs.co
- READ สายมูมุงมาอ่าน เรื่องราวความเชื่อในวันตรุษจีน
- READ ทะเลขึ้นบกกับ “ไข่ครอบ” เมนูหรอยจั๋งฮู้จากแดนใต้
- READ 5 ขนมไทยมีที่มาพร้อมนามไพเราะ
- READ “เครื่องแขวนดอกไม้สด” แชนเดอเลียร์สไตล์ไทยมีกลิ่นหอม
- READ “ไข่เหี้ย” ก็คือ “ไข่หงษ์” แต่ไม่ใช่ “ไข่เต่า”
- READ ‘ขนมหนวดมังกร’ ก็คือ ‘ขนมไหมฟ้า’ นั่นเอง
- READ สุขภาพดี-สุขภาวะเลิศกับ 6 เทรนด์สุขภาพ ปี 66
- READ เล่าเรื่อง “กฐินพระราชทาน”
- READ “เจีย” และ “แฟล็กซ์” กินอะไรกันดี
- READ ‘กราโนล่า – มูสลี่’ ความเหมือนในความต่าง
- READ ไขความหมาย ลูกนิมิต 9 ลูกคืออะไร
- READ ครั้งแรกที่วัดญวนเลยชวนมาอ่าน
- READ มองโลกใสๆ แบบไร้ฝ้า ด้วย DR.FILM® Anti-Fog
- READ หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย...
- READ 5 สิ่งนี้ต้องมี ถ้าจะเป็นเจ้าสาวสาย ฝ.
- READ เครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ เปลี่ยนคุณให้เป็นช่างฉบับมือโปร
- READ ใช่คุณหรือเปล่า 5 กลุ่มอาชีพปี 2021 ปรับตัวได้ไม่มีอด
- READ Apple Cider Vinegar กินดีมีประโยชน์แต่ก็มีโทษต้องระวัง
- READ “รู้ไว้เรียกถูก” กับสารพัดชื่อและการหั่นผักแบบอินเตอร์
- READ ‘งาขี้ม้อน’ ธัญพืชเมล็ดจิ๋วหน้าตาเหมือนงาดำแต่ไม่ใช่งา
- READ กันเจแตก กับ 7 เมนูห้ามกิน
- READ 10 วรรณกรรมเยาวชนสัญชาติไทยอ่านได้ทุก พ.ศ.
- READ ตราตรึง – อิ่มใจ – ตลอดกาล “10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิค”
- READ ‘สุอาภา’ ขนมเบื้องญวนยั่วยวนใจในตลาดพลู
- READ อ่านออนไลน์ก็ดี แต่จะให้คอมพลีตต้องซื้อเก็บ
- READ ‘เจ้าชายน้อย’ #เรื่องนี้ในดวงใจ
- READ ไข่แมงดาทะเลกินได้ ถ้ากินถูกชนิด
- READ ดอกเกลือ...เกลือแรกแสนบริสุทธิ์
- READ ใบยูคาลิปตัสมีพิษแต่ทำไมโคอาลากินได้
- READ รู้จักกันไหม “ขนมกง” ขนมโบราณในงานมงคล
- READ มาทำสวยด้วย ‘งา’ กันดีกว่า
- READ 5 เคล็ดลับ อ่านหนังสือได้ยาว ถนอมดวงตาได้ด้วย
- READ ของใกล้ตัว 5 อย่างช่วยกำจัดเชื้อราบนผ้าได้
- READ “แห้งเร็ว - ไม่เหม็นอับ” รวมเคล็ดลับตากผ้าหน้าฝน
- READ เอทิลแอลกอฮอล์ (เอทานอล) vs เมทิลแอลกอฮอล์ (เมทานอล)
- READ 13 เมษายน วันสงกรานต์ที่ไม่ควรลืมผู้สูงอายุ
- READ นั่งตากแอร์ กินข้าวแช่หน้าร้อนกันดีกว่า
- READ ตุนอาหารให้ถูกวิธี จะได้มีอาหารให้กินยาวๆ ไป
- READ เทศกาลซอลรันคนเกาหลีต้องกิน “ต็อกกุก”
- READ “เกี๊ยว” อาหารมงคลในเทศกาลตรุษจีน
- READ เพชร CZ อีกทางเลือกหนึ่งของคนอยากวิบวับ
- READ “ไข่มุก” ความเชื่อ โชคลาง และความรัก
- READ ผมดำขลับกลับมาสาว ด้วย 4 สิ่งนี้ที่ธรรมชาติให้มา
- READ “ใบขับขี่สากล” ของสำคัญต้องทำ ก่อนข้ามขอบฟ้าไปจรดขอบน้ำ
- READ ‘แก้ว+ไวน์’ จับคู่ถูก รสชาติเริ่ดแน่
- READ 'ปิ่นปักผม' กับความหมายลึกซึ้งที่มากกว่าเครื่องประดับ
- READ “ยาสั่ง” สั่งเป็นสั่งตาย...สั่งได้ยังไง
- READ 5 ธัญพืชนอกสายตา กินแล้วชีวิตดีมากมาย
- READ ฮิตกันจัง! ‘หม่าล่า’ ว่าแต่มันมีประโยชน์ไหม
- READ ผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย และผักออร์แกนิก ต่างกันอย่างไร