วิลเลียม เชคสเปียร์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางหว่างหัวใจ หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
นั่นสินะครับ ความรักเริ่มต้นจากที่ใดกัน แต่ที่แน่ๆ กลอนบทนี้มาจาก ‘เวนิสวาณิช’ พระราชนิพนธ์ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงแปลมาจาก Merchant of Venice ของเชคสเปียร์ และถ้าจะกล่าวว่าคนไทยรู้จักเชคสเปียร์เพราะพระองค์ท่าน ก็คงไม่ผิดความจริงมากนัก
นอกจาก เวนิสวาณิช เชคสเปียร์ยังมีผลงานที่โด่งดังอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น โรเมโอและจูเลียต, Midsummer Night’s Dream, แฮมเล็ต, ตามใจฉัน หรือ As you like it, King Lear, Henry VI, แมคเบธ และอีกมากมาย
เชคสเปียร์คือนามแฝงของ วิลเลียม เชคสเปียร์ มหากวีเอกแห่งอังกฤษ เขาเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2107 ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ช่วงเวลาที่เรากำลังจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 โน่นเลย
เชคสเปียร์เป็นบุคคลลึกลับ ไม่ค่อยมีบันทึกอะไรมากมายให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา แค่เราทราบว่าบ้านเกิดของเขาอยู่ที่เมืองสแตรทฟอร์ดริมแม่น้ำเอวอน เชคสเปียร์เกิดในครอบครัวที่มีฐานะ บิดาเป็นเทศมนตรี มารดามีที่ดินจำนวนมาก เชื่อกันว่าในวัยเด็กเขาได้รับการศึกษาที่ King’s New School โรงเรียนของลูกเศรษฐี คนที่มีฐานะ
เชคสเปียร์แต่งงานตอนอายุ 18 ปี กับภรรยาที่มีอายุมากกว่าเขา ทั้งสองมีลูกด้วยกันสามคน คนโตเป็นผู้หญิง คนที่สองและสามเป็นฝาแฝด
ไม่มีใครรู้ว่าเชคสเปียร์เริ่มเขียนงานตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ปรากฏว่ามีการแสดงละครที่เป็นบทประพันธ์ของเชคสเปียร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2135 แล้ว ในเวลานั้นเชคสเปียร์อายุราวๆ 28 ปี เชคสเปียร์เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในลอนดอน ผลงานของเขาแสดงที่โรงละคร Lord Chamberlain’s Men เพียงแห่งเดียว ว่ากันว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 โปรดปรานงานของเชคสเปียร์เป็นอย่างมาก ถึงกับปลอมพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปชมละครของเขาอยู่บ่อยๆ และนั่น สร้างความริษยาให้กับบรรดากวีและนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นเป็นอย่างมาก
หลายคนถึงกับเขียนบทความปรามาสว่าเชคสเปียร์เป็นคนบ้านๆ ใช้ภาษาไม่สวยเหมือนกับกวีชั้นสูง แต่อาจจะเพราะความบ้านๆ ของเชคสเปียร์นี่ก็ได้ ที่เข้าถึงคนหมู่มาก และทำให้ละครของเขายิ่งเป็นที่นิยม แม้สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 จะสิ้นพระชนม์ไป คณะละครของเชคสเปียร์ก็ยังได้รับความนิยมจากพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ได้รับพระราชทานตราทะเบียนหลวงและเปลี่ยนชื่อคณะละครเป็น King’s Men
เชคสเปียร์ไม่ได้เขียนงานเพียงอย่างเดียว แต่เขาเองก็ร่วมแสดงในละครหลายๆ เรื่อง ทั้งที่ตัวเองเขียนและที่คนอื่นเขียน เขามีบทบาทอยู่ในวงสังคมลอนดอนจนกระทั่งปี พ.ศ. 2139 บุตรชายฝาแฝดของเขาเสียชีวิตลง เชคสเปียร์ก็ค่อยๆ หายไปจากวงสังคม
แม้ว่าเขายังมีงานละครออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มีใครรู้ว่าเขาไปอยู่ไหน ทำอะไรอยู่ นักวิชาการเรียกช่วงเวลานั้นว่า The Lost Year หรือ ‘ปีที่หายไป’ ของเชคสเปียร์ และช่องว่างตรงนี้เองที่ทำให้นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์มีความคาดเดา และสันนิษฐานกันมาจนถึงทุกวันนี้
รวมถึงมีสมมติฐานหลายข้อเกี่ยวกับผลงานของเขาด้วย เป็นต้นว่า เชคสเปียร์อาจไม่ได้เขียนงานทั้งหมดด้วยตัวเอง แต่มีนักเขียนเงา เพราะสำนวนในบทละครบางเรื่องแปลกไปจากที่เขาเคยเขียนมาก เหมือนกับเป็นคนละคนกัน หรือบางทฤษฎีก็กล่าวว่าเชคสเปียร์อาจทำตัวเหมือนบรรณาธิการ มีคนช่วยกันเขียนบทละครบางเรื่องร่วมกับเขา เพราะบทละครในเรื่องเดียวกัน มีสำนวนหลายสำนวนที่ดูแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เป็นต้น
สำหรับกวีที่ถูกพาดพิงมากทีสุดว่าร่วมเขียนงานกับเชคสเปียร์ก็คือ Christopher Marlowe ผู้เป็นเพื่อนร่วมเวทีและเป็นเหมือนกับศิษย์เอกของเชคสเปียร์ คริสโตเฟอร์มีผลงานเขียนเดี่ยวๆ ของตัวเองหลายเรื่อง และนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าสำนวนของคริสโตเฟอร์นั้นมาปรากฏอยู่ในบทละครเรื่อง ‘เฮนรี่ที่เจ็ด’ ของเชคสเปียร์หลายบทหลายตอนเลยทีเดียว
ก็ว่ากันไป วิเคราะห์กันไปนะครับ ความจริงเป็นเช่นไรไม่มีใครรู้ได้ และช่องว่างนี้ก็ทำให้นักเขียนและผู้กำกับภาพยนตร์จำนวนมากเกิดแรงบันดาลใจ เขียนงานและสร้างหนังจำนวนมากออกมาโดยอาศัยช่องว่างทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว เรื่องที่โด่งดังที่สุดเห็นจะไม่พ้น Shakespeare in Love ที่กวาดทั้งรายได้และรางวัลจากเวทีออสการ์ไปหลายรางวัลในปีนั้น
เชคสเปียร์เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2159 อายุได้ 52 ปี ทิ้งผลงานบทละครจำนวน 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง และผลงานของเขาได้รับการแปลไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย รวมถึงนำมาจัดแสดงเป็นละครและภาพยนตร์มาจนถึงทุกวันนี้
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค