![เบียทริกซ์ พอตเตอร์](https://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/anowl-คลาสสิก-048-เบียทริกซ์-พอตเตอร์-copy.jpg)
เบียทริกซ์ พอตเตอร์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
ไม่…เราไม่ได้หมายถึงพ่อมดน้อยแฮรี่ พอตเตอร์ แต่เรากำลังพูดถึง เบียทริกซ์ พอตเตอร์ ผู้เป็นนักธรรมชาติวิทยา นักเขียนและนักวาดภาพประกอบวรรณกรรมเยาวชนชื่อดัง ไม่มีใครในอังกฤษที่ไม่รู้จักกระต่ายปีเตอร์ แรบบิท และบรรดาผองเพื่อนในป่าใหญ่
เบียทริกซ์ พอตเตอร์ นี่เอง ที่เป็นผู้สร้างสรรค์ตัวละครเหล่านั้นขึ้นมา
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea001-e1629791886414.jpg)
เธอเป็นสาวอังกฤษในสมัยวิกตอเรียน
แน่นอน สาวๆ สมัยนั้นไม่นิยมไปโรงเรียน แต่จะจ้างครูพี่เลี้ยงมาสอนหนังสือ รวมถึงมารยาทสังคมและการวางตัวที่บ้าน ด้วยเหตุนี้เบียทริกซ์จึงเป็นคนสันโดษ ไม่ค่อยได้พบปะสังสรรค์กับบรรดาเพื่อนฝูงในวัยเดียวกันนัก เพื่อนที่ดีที่สุดของเธอคือบรรดาสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่านานาชนิดที่อาศัยอยู่รอบๆ บ้าน สุนัขตัวโปรดของเธอชื่อเจ้าสป็อท เป็นสุนัขพันธุ์สแปเนียล เบียทริกซ์เริ่มเลี้ยงกระต่ายตัวแรกตอนเธออายุ 10 ขวบ เธอตั้งชื่อว่า เบนจามิน เบาน์เซอร์ (Benjamin Bouncer) เมื่อเบนจามินจากไป เธอก็มีกระต่ายตัวที่สอง และเรียกกระต่ายของเธอว่า ปีเตอร์ ไพเพอร์ (Peter Piper) กระต่ายทั้งสองของเบียทริกซ์ ก็คือต้นแบบของคาแรกเตอร์ในเรื่องเล่าของเธอในเวลาต่อมา
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea002.jpg)
วิชาที่เบียทริกซ์ชอบมากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ทุกสาขา โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับเห็ดรา และบรรพชีวิน เบียทริกซ์มีงานอดิเรกคือการสะสมซากฟอสซิล และเฝ้าสังเกตชีวิตเล็กๆ จำพวกเห็ดและเชื้อรา รวมถึงวาดภาพพวกมันขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea003-e1629791874451.jpg)
การวาดภาพพฤกษศาสตร์ แตกต่างจากการวาดภาพธรรมดา เพราะผู้วาดจะต้องศึกษาจนเข้าใจบุคลิก ลักษณะของบรรดาพืชพันธุ์ที่จะวาด รวมถึงเก็บรายละเอียดทุกส่วนให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทั้งรูปทรงและสีสัน
เบียทริกซ์ตั้งใจศึกษาและวาดภาพอย่างจริงจัง เธอปรึกษาผู้รู้และนักวิชาการที่สวนพฤกษศาสตร์คิว ในลอนดอน เพื่อความถูกต้องของภาพวาด ในตอนแรกไม่มีใครยอมรับว่าเธอคือนักเห็ดราวิทยาที่มีความสามารถ เพียงเพราะเธอเป็นสตรี แต่ในเวลาอีกหนึ่งร้อยปีต่อมา สมาคมพฤกษศาสตร์แห่งชาติก็ออกมากล่าวขอโทษและยอมรับเธอในฐานะนักเห็ดราวิทยาผู้มีความสามารถ ปัจจุบันนี้ภาพทั้งหมดของเธอถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในสกอตแลนด์
นอกจากเป็นนักวาดภาพพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงแล้ว เบียทริกซ์ยังศึกษานิทาน เรื่องเล่า และปกรณัมยุโรปอย่างเชี่ยวชาญเช่นกัน นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเริ่มเขียนนิทานขึ้นมาด้วยตัวเอง
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea005-e1629791863977.jpg)
ในช่วงเริ่มแรกเธอจะเขียนเป็นเรื่องสั้นๆ และวาดภาพประกอบ ส่งเป็นการ์ดอวยพรให้กับบรรดาเพื่อนฝูงในเทศกาลต่างๆ แน่นอน เรื่องและภาพทั้งหมดเป็นเรื่องของกระต่ายชื่อ ‘เบนจามิน’ และในเวลาต่อมาเธอก็รวบรวมเรื่องที่เคยเล่าเพื่อทำเป็นหนังสือนิทาน แต่ถูกปฏิเสธจากทุกสำนักพิมพ์ที่เธอส่งงานไปให้พิจารณา
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea009-e1629791843627.jpg)
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea006-e1629791857580.jpg)
กระนั้น เบียทริกซ์ก็ไม่ท้อใจ เธอตัดสินใจพิมพ์งานด้วยเงินตัวเอง เพื่อแจกให้กับบรรดาเพื่อนฝูงที่รักใคร่สนิทสนมกัน เพื่อประหยัดเงินค่าพิมพ์ เธอตัดสินใจพิมพ์หนังสือเป็นภาพลายเส้นขาวดำ และวันหนึ่งหนังสือทำมือของเบียทริกซ์ก็ไปเข้าตาสำนักพิมพ์ Frederick Warne & Co บรรณาธิการอ่านแล้วชอบมาก เขาแนะนำให้เบียทริกซ์ปรับภาพวาดทั้งหมดเสียใหม่ ให้ลงสี และทางสำนักพิมพ์ก็พิมพ์ The Tale of Peter Rabbit ออกมาเป็นเล่มแรก และประสบความสำเร็จในทันที
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea007.jpg)
The Tale of Pater Rabbit เป็นเรื่องเล่าสั้นๆ ของกระต่ายน้อยชื่อ ปีเตอร์ หรือ Peter Rabbit และครอบครัวของเขาที่แสนวุ่นวาย ซุกซน และชอบแอบไปกินแครอตในสวนของนายแมคเกรกเกอร์ (Mr. McGregor) ผู้ได้ฉายาว่า ‘ลุงแม็กใจร้าย’ เพราะเกือบจะจับ Peter Rabbit ไปทำเป็นขนมพายซะแล้ว เรื่องที่เล่าอย่างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน มีตัวละครเอกเป็นสัตว์ จึงทำให้เข้าถึงจิตใจของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea008-e1629791848694.jpg)
เบียทริกซ์ลงมือเขียนนิทานในแนวเดียวกันออกมาอย่างต่อเนื่องถึง 23 เรื่องด้วยกัน แน่นอนว่าทุกเรื่องล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมอ่านของเด็กๆ ชาวอังกฤษ และเด็กๆ นักอ่านจากทั่วทุกมุมโลกมาจนทุกวันนี้
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea010-e1629791837505.jpg)
เบียทริกซ์เสียชีวิตโดยไม่มีทายาทในวัย 77 ปี
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea011-e1629791896684.jpg)
เธอมอบบ้านและที่ดินทั้งหมดให้อยู่ในความดูแลขององค์กรพิทักษ์ที่ดินและเขตประวัติศาสตร์ของชาติแห่งอังกฤษ (National Trust)
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/08/Bea012-e1629791891270.jpg)
ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเปิดให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม นอกจากธรรมชาติสวยงามแล้วที่นี่ยังมีการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบดั้งเดิมด้วยวิธีธรรมชาติอย่างที่เบียร์ทริกซ์เคยทำ นั่นคือการปล่อยฝูงแกะหากินเองอย่างเป็นอิสระ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในท้องทุ่งของพวกมัน
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค