ลิวอิส แครอล

ลิวอิส แครอล

โดย : พงศกร

Loading

อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน  เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม

*************************

สนับสนุนอ่านเอาด้วยการสั่งซื้อหนังสือ “ในสวนอักษร” คลิกที่นี่

เอ่ยชื่อ ลิวอิส แครอล หลายคนคงส่ายหน้าและบ่นว่าอิหยังวะ คนผู้นี้คือใคร

แต่ถ้าเอ่ยชื่อ อลิซในแดนมหัศจรรย์ เชื่อว่าหลายคนคงร้องอ๋อ

แน่ละครับ ก็วรรณกรรมเรื่องนี้ดังจะตาย เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก แต่เชื่อไหมว่าหลายคนไม่รู้ว่าคนเขียนอลิสในแดนมหัศจรรย์ชื่อ ลิวอิส แครอล !

แครอล ลิวอิสคือนามปากกาของชาร์ลส ดอดจ์สัน ลุดวิก

ลิวอิส แครอล คือนามปากกาของ Charles Lutwidge Dodgson

ดอดจ์สันเป็นชาวอังกฤษ เกิดในครอบครัวเคร่งศาสนา เขาเรียนหนังสือแบบโฮมสกูลอยู่ที่บ้านจนเทียบได้กับชั้นมัธยม เพราะอย่างนี้เขาเลยได้อ่านหนังสือดีๆ มากมาย ว่ากันว่าดอดจ์สันอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลจบเล่มตั้งแต่อายุ 7 ขวบ

ดอดจ์สันเป็นนักคณิตศาสตร์หนุ่มผู้มีความสามารถ

พอย่างเข้าวัยรุ่น ครอบครัวส่งดอดจ์สันเข้าโรงเรียนรักบี้ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนกีฬาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก นักกีฬารักบี้ในเวลานั้นทำรายได้ดีและมีการงานที่มั่นคง อีกหนึ่งเหตุผลคือดอดจ์สันเป็นเด็กไม่ค่อยแข็งแรง พ่อและแม่มองว่าการเข้าเรียนในโรงเรียนกีฬาจะทำให้เขามีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่หลังจากเข้าเรียนได้ไม่กี่ปีดอดจ์สันก็พบว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาชอบ และลาออกมาเรียนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

เด็กหญิงอลิซ ลิดด์เดล ผู้เป็นต้นแบบของอลิซในแดนมหัศจรรย์

ที่นั่นดอดจ์สันได้พบกับสิ่งที่ตัวเองชอบ และฉายแววความเป็นอัจริยะทางด้านคณิตศาสตร์ออกมาให้เห็น ดอดจ์สันเข้าแข่งขันโครงการทางด้านคณิตศาสตร์หลายรายการและแน่นอน เขาได้รับรางวัลชนะเลิศแทบทุกสถาบัน ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ศาสตร์รุ่นเยาว์ที่น่าจับตามองที่สุดของอังกฤษในเวลานั้น ความสามารถด้านคณิตศาสตร์นี้เองที่ดอดจ์สันนำมาออกแบบฉากและตัวละครใน ‘อลิซในแดนมหัศจรรย์’ ในเวลาต่อมา

ก่อนหน้าเขียน อลิซฯ ดอดจ์สันชอบงานประพันธ์มาก เขาเขียนโคลงกลอนขำขันและเรื่องสั้นออกมามากมาย หากในตอนนั้นยังไม่มีคนรู้จักมากนัก นอกจากความสามารถด้านการประพันธ์แล้ว ดอดจ์สันยังเป็นช่างภาพอีกด้วย

ภาพประกอบในหนังสืออลิซในแดนมหัศจรรย์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ดอดจ์สันวาดขึ้นมาด้วยตัวเอง

เรื่องการถ่ายภาพในเวลานั้นถือเป็นเรื่องใหม่มาก เพราะเพิ่งมีการสร้างกล้องถ่ายภาพได้เพียงไม่กี่ปี  คนจะมีกล้องได้ต้องมีฐานะดีมาก Skeffington Lutwidge คุณลุงของเขาสอนให้ดอดจ์สันรู้จักกล้องและการถ่ายภาพ ซึ่งดอดจ์สันสนุกกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เขาถ่ายภาพต่างๆ เอาไว้หลายร้อยภาพ ส่วนมากเป็นภาพของเด็กๆ ในอิริยาบถต่างๆ

หน้าปกอลิซในแดนมหัศจรรย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งปีพ.ศ. 2408

ดอดจ์สันเริ่มเขียน อลิซในแดนมหัศจรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 2408 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

นักวิชาการทางวรรณกรรมหลายคนเชื่อว่าต้นแบบของอลิซมาจาก เด็กหญิงอลิซ ลิดด์เดล ซึ่งเป็นบุตรสาวของ เฮนี่ ริดด์เดล เพื่อนสนิทของครอบครัวดอดจ์สัน

ภายในเล่ม มีภาพประกอบฝีมือของดอดจ์สัน

เฮนรี่และภรรยา รวมถึงลูกๆ สามคนย้ายเข้ามาอยู่ในละแวกบ้านเดียวกับดอดจ์สันและมาทำกิจกรรมทาศาสนาที่โบสถ์ซึ่งคุณพ่อของดอดจ์สันเป็นอธิการอยู่ ดอดจ์สันใช้เวลาว่างเล่านิทานให้เด็กๆ ทั้งสามฟัง รวมถึงสอนคณิตศาสตร์ เล่นสนุกกันอยู่เป็นประจำ แม้ว่าดอดจ์สันจะปฏิเสธมาดดยตลอดว่าไม่ได้เอาแรงบันดาลใจมากจากสหายวัยเยาว์ของเขา หากทว่าคนที่รู้จักทั้งสองครอบครัวนี้ต่างกล่าวตรงกันว่า บุคลิกหลายๆ อย่างของอลิซในนิทาน ก็มาจากบุคลิกจริงๆ ของ เด็กหญิงอลิซ ลิดด์เดล นั่นเอง

หน้าปกของภาคต่อ อลิซในเมืองกระจก ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งปีพ.ศ.2414
ภายในเล่มของอลิซในเมืองกระจก

หลังจาก อลิซในแดนมหัศจรรย์ ตีพิมพ์ วรรณกรรมเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ดอดจ์สันโด่งดังภายในชั่วข้ามคืน แม้แต่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ทรงโปรดปราน อลิซในแดนมหัศจรรย์ เป็นอย่างมาก ถึงกับมีพระราชหัตถเลขาถึงดอดจ์สันเพื่อชื่นชม และขอให้เขาเขียนเรื่องทำนองนี้ออกมาอีก

ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องอลิซในแดนมหัศจรรย์ โดยดิสนีย์

หกปีต่อมา ดอดจ์สันลงมือเขียนภาคต่อของอลิซในแดนมหัศจรรย์ ใช้ชื่อว่า ‘Through the Looking Glass’ หรือ อลิซในเมืองกระจก เล่าเรื่องราวของอลิซวัย 7 ขวบครึ่ง ที่อยากเข้าไปในโลกกระจก และต้องเข้าไปอยู่ตรงกลางระหว่างการแข่งหมากรุกของราชินีแดงและราชินีขาว ที่มีตัวละครอย่างฮัมพ์ตี้ดัมพ์ตี้ และแฝดพี่น้องทวีดเดิ้ล รวมถึงแมดแฮทเทอร์กลับมาเป็นคู่ต่อสู้

บ้านเกิดของดอดจ์สันที่อังกฤษ

ในภาคสองนี้ ธีมของเรื่องหม่นเศร้ากว่าเล่มแรกอย่างเห็นได้ชัด ว่ากันว่าเป็นเพราะในเวลานั้นดอดจ์สันกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า เนื่องจากบิดาของเขาเสียชีวิตลง

ปัจจุบันบ้านหลังนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้แฟนนักอ่านได้เข้าไปชมสถานที่ทำงานของดอดจ์สัน
หลุมศพของดอดจ์สันที่เมืองกิลด์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

แม้จะประสบความสำเร็จมากมาย หากดอดจ์สันยังคงใช้ชีวิตเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีงานอดิเรกคือถ่ายภาพและเขียนหนังสือ

ดอดจ์สันไม่มีครอบครัว เขาอยู่ตัวคนเดียว ตอนอายุ 65 ปี เขาเริ่มล้มป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ และเสียชีวิตด้วยปอดติดเชื้อในปีพ.ศ. 2451 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่กิลด์ฟอร์ด ก่อนจะได้รับการบรรจุที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ในอีกเกือบหนึ่งร้อยปีต่อมา

อนุสาวรีย์ของลิวอิส แครอล ในเซนทรัลปาร์ด นิวยอร์ค

งานเขียนของดอดจ์สันหรือ ลิวอิส แครอล ยังเป็นที่นิยมอ่านกันทั่วโลก รวมถึงได้รับการดัดแปลงไปเป็นแอนิเมชัน ละครเวที ภาพยนตร์ในรูปแบบต่างๆ มาจนถึงทุกวันนี้

Don`t copy text!