![คำพูน บุญทวี](https://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/anowl-คลาสสิก-057-คำพูน-บุญทวี-copy.jpg)
คำพูน บุญทวี
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
เขาคือซีไรต์คนแรกของประเทศไทย จากนวนิยายเรื่อง ‘ลูกอีสาน’
เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มีสำนักพิมพ์เป็นของตัวเอง และมีผลงานเขียนทั้งเรื่องสั้นและนวนิยายมากมาย
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan001.jpg)
ในวันที่โลกยังไม่หมุนเร็วอย่างวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคอีสานเป็นดินแดนที่ห่างไกลจากความรับรู้ของผู้คน ส่วนมากแล้วในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๐ เมื่อเอ่ยถึงอีสาน ผู้คนส่วนมากจะนึกถึงภาพความแห้งแล้งและความยากลำบากเป็นส่วนใหญ่ หากงานเขียนของ คำพูน บุญทวี ทำให้คนไทยรู้จักอีสาน ผู้คน และวัฒนธรรมในหลากหลายแง่มุมขึ้น
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan002.jpg)
คำพูนเป็นคนยโสธร ชื่อเดิมว่า ‘คูน’ ชื่อเดียวกับตัวเอกในลูกอีสาน
ใช่… บักคูนในลูกอีสาน ก็คือภาพจำลองในวัยเยาว์ของ คำพูน บุญทวี นั่นเอง
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan003-e1634702598426.jpg)
หลังจากล้มลุกคลุกคลาน สู้ชีวิต เคยเป็นครู กรรมกร ถีบสาม้อ เลี้ยงม้าแข่ง ขายผลไม้ รีดนมวัว สุดท้ายเขาได้เข้ารับราชการที่กรมราชทัณฑ์ เป็นผู้คุมนักโทษ และเริ่มต้นงานเขียนขึ้นอย่างมุ่งมั่น
คำพูนส่ง ‘ความรักในเหวลึก’ เรื่องสั้นเรื่องแรกในชีวิตไปที่นิตยสาร ฟ้าเมืองไทย และ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็น ‘นิทานลูกทุ่ง’ และลงตีพิมพ์ให้ หลังจากนั้นคำพูนก็ลงมือเขียนนวนิยายเรื่องแรกในชีวิตคือ ‘มนุษย์ร้อยคุก’ และเป็นที่นิยมชมชอบของนักอ่านในทันที
คำพูนเขียนทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาวลงในฟ้าเมืองไทยและนิตยสารอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
ครั้งหนึ่ง คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้แนะนำให้คำพูนลองอ่าน บ้านเล็กในป่าใหญ่ ผลงานการแปลของ ‘สุคนธรส’ ดู เพราะเห็นว่าอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้ลองหยิบเอาเรื่องราววิถีชีวิตของชาวอีสานมาเล่าดูบ้าง
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan004.jpg)
ซึ่งก็ได้ผล เพราะหลังจากอ่าน บ้านเล็กในป่าใหญ่ จบลง คำพูนเกิดแรงบันดาลใจหยิบเอาเรื่องราวของเด็กชายชาวอีสาน กับวิถีชีวิตกับวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเล่าเป็นนวนิยายชื่อ ‘ชีวิตของลูกผู้ชายชื่อคำพูน บุญทวี’
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan005-e1634702660391.jpg)
หลังจาก อาจินต์ ปัญจพรรค์ ได้รับต้นฉบับและอ่านจบ เขาเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ลูกอีสาน’ และลงพิมพ์ในนิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ระหว่างปี ๒๕๑๘-๒๕๑๙
ลูกอีสาน สร้างปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากให้กับโลกวรรณกรรม เพราะไม่มีใครหยิบเอาเรื่องของคนอีสานมาบอกเล่าในแง่มุมที่น่ารักและน่าสนใจเช่นนี้มาก่อน
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan006.jpg)
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ ‘ลูกอีสาน’ จะได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่นจากการประกวดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๑๙ และได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือซีไรต์ในอีก ๓ ปีต่อมา อีกทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นต้น
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan007.jpg)
ความสำเร็จของลูกอีสาน ทำให้นวนิยายเรื่องต่อๆ มาของคำพูนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เกือบทุกเรื่องจะมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอีสาน เรื่องเล่า ความเชื่อในพื้นถิ่นเป็นแกนหลัก เช่น เลือดอีสาน, อีสานพเนจร, ลูกลำน้ำโขง, แผนชั่วเชือดอีสาน, นายฮ้อยทมิฬ เป็นต้น
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan008-e1634702714196.jpg)
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan009.jpg)
คำพูน บุญทวี เป็นนักเขียนคนแรกๆ ที่ลุกขึ้นมาตั้งสำนักพิมพ์เอง เพราะรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบจากสำนักพิมพ์หลายแห่งที่เคยร่วมงานด้วย เขาเป็นนักเขียนคนแรกที่ลุกขึ้นมาทวงความยุติธรรม ด้วยการฟ้องร้องสำนักพิมพ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง ‘ลูกอีสาน’ ด้วยการพิมพ์ขายไปเรื่อยๆ หนังสือไม่หมดเสียที แม้ว่าจะเลยระยะเวลาที่ระบุในสัญญาไปนานแล้วก็ตาม
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan010.jpg)
คำพูนชนะคดีในที่สุด และต่อมาคดีนี้ได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานสำคัญให้กับนักเขียนในยุคหลัง
![](http://anowl.co/wp-content/uploads/2021/10/Esan011.jpg)
เมื่อหมดห่วงเรื่องงานเขียนถูกละเมิด หลังจากนั้นไม่นาน คำพูน บุญทวี ก็จากไปอย่างสงบในวัย ๗๔ ปี ทิ้งให้บักคูนโลดแล่นอยู่ในนวนิยาย เป็นตัวแทนของผู้เขียนไปอีกนานแสนนาน…
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค