ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์

ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์

โดย : พงศกร

Loading

อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน  เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม

*************************

ถ้าจะกล่าวถึงวรรณกรรมเยาวชนที่เด็กทั่วโลกรู้จัก หนึ่งในนั้นจะต้องมี ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย หรือ Little Lord Fauntleroy รวมอยู่ด้วยเป็นแน่

ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนทท์

เรื่องราวของเด็กชายชาวอเมริกันคนหนึ่ง ผู้อาศัยอยู่กับมารดาที่อบรมสั่งสอนให้เขาเป็นเด็กดี มีน้ำใจกับผู้อื่น แม้ฐานะทางบ้านของตัวเองจะเต็มไปด้วยความยากลำบากก็ตาม แล้วในวันหนึ่งก็มีทนายความมาตามหาตัวของเขา เพื่อให้เดินทางไปพบกับคุณปู่ที่ไม่เคยรู้จักไกลถึงประเทศอังกฤษ เมื่อไปถึงที่นั่น เด็กชายก็ได้พบว่าตัวเองคือทายาทของท่านเอิร์ลผู้มั่งคั่ง ส่วนตัวของเขาก็มีศักดิ์เป็นถึงท่านลอร์ด

เธอเป็นสตรีในยุคปลายวิคตอเรียนที่คนอังกฤษเริ่มอพยพไปตั้งรกรากที่อเมริกา

แน่นอน ไม่ใช่ว่าทั้งสองจะเข้ากันได้ง่ายๆ เพราะเติบโตมาด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ด้วยวัยที่แตกต่างกัน จึงทำให้ปู่ของเขาตั้งข้อรังเกียจ หากสุดท้ายความเป็นเด็กน่ารัก ร่าเริงแจ่มใส ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยจึงเอาชนะใจคุณปู่ผู้ถือยศถือศักดิ์ของเขาได้ในท้ายที่สุด

ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปีพ.ศ. 2429

ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์ เขียน ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย เมื่อปี พ.ศ. 2429 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และหนังสือประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

เธอเกิดที่อังกฤษ แต่อพยพไปอยู่อเมริกาตอนอายุ 3 ปี อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ เธอจึงเข้าใจถึงความแตกต่างของสองวัฒนธรรมเป็นอย่างดี และนำมาบอกเล่าผ่านการเดินทางของหนูน้อยเซดริก ผู้มีฐานันดรเป็นถึงท่านลอร์ด

เด็กชายชาวอเมริกันในเวลานั้นนิยมแต่งตัวแบบภาพวาดในหนังสือลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยเป็นอย่างมาก

ฟรานเซสเป็นนักเขียนอาชีพ หลังจากจบการศึกษาแล้วฟรานเซสก็เริ่มเขียนงานส่งให้กับนิตยสารต่างๆ ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย เป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่องแรกของเธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสาร เซนต์นิโคลาส ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2428 จนถึงเดือนตุลาคม 2429 เมื่อจบบริบูรณ์ในนิตยสารแล้วก็ได้รับการพิมพ์รวมเล่ม ภายในมีภาพประกอบสวยงาม

Reginald B. Birch ผู้วาดภาพประกอบลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย

ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย สร้างปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ตอนที่ลงในนิตยสาร ผู้อ่านจำนวนมากเฝ้ารอคอยตอนใหม่ๆ อย่างใจจดจ่อ เมื่อพิมพ์รวมเล่ม ภาพประกอบในหนังสือซึ่งวาดโดย Reginald B. Birch โดยเฉพาะภาพของลอร์ดน้อยที่มีผมเป็นลอน มีเสื้อผ้าสวยงาม ตรงตามที่ฟรานเซสบรรยายเอาไว้ว่า “สิ่งที่เอิร์ลเห็นก็คือรูปร่างสง่างามของเด็กชาย ที่สวมสูทกำมะหยี่ดำมีคอปักลูกไม้ โดยมีลอนผมไหวไปรอบๆ ใบหน้าน้อยๆ ที่รูปหล่อ ไร้เดียงสา” ภาพประกอบดังกล่าวได้กลายมาเป็นแฟชั่นยอดฮิตของเด็กๆ อเมริกันในเวลานั้น บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองนิยมพาลูกๆ ไปตัดเสื้อผ้าแบบลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยกันเป็นแถว

ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยสำนวน แปลโดย เนื่องน้อย ศรัทธา

นอกจากเรื่องแฟชั่นของเด็กผู้ชายในเวลานั้นแล้ว ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยยังสร้างปรากฏการณ์อีกหลายอย่าง ที่น่าสนใจคือเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอย่างจริงจัง จากกรณีที่ มิสเตอร์ซีบอห์ม ซึ่งเป็นนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ นำเอา ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ไปดัดแปลงและสร้างเป็นบทละครเวทีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทประพันธ์

ภาพประกอบฝีมือของ Reginald B. Birch
The Secret Garden ฉบับพิมพ์ครั้งแรก

ฟรานเซสได้เจรจากับซีบอห์มหลายครั้ง เขายอมรับในที่สุดว่าได้นำเอาบทประพันธ์ของฟรานเซสมาดัดแปลงจริงๆ เขาจะแก้ไขด้วยการใส่เครดิตชื่อของฟรานเซสลงในสูจิบัตรละครเวทีด้วย แต่ฟรานเซสไม่ตกลง เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติกัน และสิ่งที่เขาทำคือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเธอ ถ้าเธอไม่บังเอิญรู้เรื่องนี้ ซีบอห์มก็คงจะเดินหน้าสร้างละครเวทีต่อไปหน้าตาเฉย

Little Princess ฉบับพิมพ์ครั้งแรก

สุดท้าย ฟรานเซสตัดสินใจฟ้องร้องซีบอห์ม และศาลตัดสินใจฟรานเซสชนะคดี นับเป็นหมุดหมายที่สำคัญในเรื่องของลิขสิทธิ์บทประพันธ์

ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ได้รับการแปลออกไปมากมายหลายภาษา

ป้ายหน้าบ้านของฟรานเซส

ฉบับภาษาไทยแปลโดย เนื่องน้อย ศรัทธา ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร สตรีสารรายสัปดาห์ หลังจากนั้นก็มีคนได้นำมาแปลอีกหลายสำนวน

บ้านของฟรานเซสที่รัฐเทนเนสสี

นอกจาก ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ฟรานเซสยังเขียนวรรณกรรมเยาวชนเอาไว้อีกหลายเล่ม เช่น สวนเที่ยงคืน, เจ้าหญิงน้อย เป็นต้น ซึ่งทุกเรื่องก็ล้วนแต่ประสบความสำเร็จมากมายไม่แพ้กัน

บ้านของฟรานเซสที่รัฐเทนเนสสี

ฟรานเซสย้ายมาอยู่อเมริกาในปี พ.ศ. 2396 ตอนนั้นเธออายุ 3 ปี แต่เพิ่งได้สัญชาติอเมริกันเมื่อปีพ.ศ. 2448 ตอนที่เธออายุ 59 ปี

ฟรานเซสเสียชีวิตในวัย 74 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2468 ด้วยโรคชรา

อนุสาวรีย์ที่ระลึกของฟรานเซสในเซ็นทรัลปาร์ค

‘โรบิน’ คือนวนิยายเรื่องสุดท้ายของเธอ ซึ่งตีพิมพ์ก่อนหน้าฟรานเซสจะเสียชีวิตเพียงสองปี มีอนุสาวรีย์ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยอยู่ที่เซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก สำหรับทุกคนที่ไปเยือนจะได้รำลึกถึงวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่อีกหนึ่งเรื่องของอเมริกา

Don`t copy text!