อี. บี. ไวต์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
“ทำไมเธอทำเพื่อฉันขนาดนี้ ฉันไม่ควรได้รับสิ่งเหล่านี้ ฉันไม่เคยทำอะไรตอบแทนเธอเลย…”
“เธอทำแล้ว… ก็เธอเป็นเพื่อนฉันไง… ฉันชักใยให้เธอ เพราะฉันชอบเธอ”
นั่นคือถ้อยสนทนาระหว่างหมูน้อยตัวหนึ่งและแมงมุมสาว
เชื่อว่านักอ่านหลายคนต้องจำประโยคสุดแสนประทับใจนี้ได้แม่นยำ เรื่องราวของเจ้าหมูน้อยและแมงมุม มิตรภาพต่างสายพันธุ์ที่งดงามใน Charlotte’s Web ผลงานประพันธ์ของ อี. บี. ไวต์
Charlotte’s Web เป็นวรรณกรรมเยาวชน ที่เป็นมากกว่าวรรณกรรมเยาวชน เพราะเรื่องราวที่บรรดาเพื่อนสัตว์ในฟาร์มของหนูเฟิร์นร่วมมือกันเพื่อช่วยชีวิตเจ้าหมูน้อยวิลเบอร์ ให้พ้นจากการถูกส่งไปยังโรงฆ่าสัตว์นั้น นอกจากเด็กๆ จะอ่านสนุกแล้ว ยังให้ข้อคิดกับผู้ใหญ่ได้มากมาย
Charlotte’s Web เป็นบทประพันธ์ของ อี. บี. ไวต์ ซึ่งเป็นนามปากกาของ Elwyn Brooks White นักเขียนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะในด้านของวรรณกรรมเยาวชน ทั้งที่เขาเขียนงานสำหรับเด็กเอาไว้ไม่มาก
ไวต์เกิดที่ Mount Vernon เมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยป่าไม้และสรรพสัตว์ ในมลรัฐนิวยอร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2442 ซึ่งตรงกับช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้าของเรา ครอบครัวของไวต์เป็นครอบครัวศิลปิน คุณพ่อของเขาเป็นนักเปียโนที่มีชื่อเสียง คุณปู่เป็นศิลปินนักวาดภาพคนสำคัญของสกอตแลนด์ พี่ชายคนโตของเขาชื่อ สแตนลีย์ ฮาร์ต ไวต์ ก็เป็นสถาปนิกชื่อดังและเป็นผู้คิดค้นเทคนิคจัดสวนในแนวตั้งเป็นคนแรกของโลก พี่ชายคนนี้เองที่เป็นคนสอนให้ไวต์อ่านหนังสือ และแนะนำวรรณกรรมดีๆให้กับน้องชายได้รู้จัก
ไวต์เรียนจบศิลปศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล มหาวิทยาลัยที่ดังที่สุดหนึ่งในสามแห่งของอเมริกา ระหว่างที่เรียนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัย ไวต์เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ The Cornell Daily Sun ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ประจำมหาวิทยาลัย
หลังจบการศึกษา ไวต์ทำงานกับหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ เขาเขียนบทความและเรื่องสั้นต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ผลงานที่โดดเด่นที่สุดของเขาคือ The Elements of Style หนังสือเกี่ยวกับหลักภาษาและสไตล์การเขียนแบบต่างๆ หนังสือเล่มนี้ไวต์ทำงานร่วมกับอาจารย์ที่สอนเขาในมหาวิทยาลัย เป็นเสมือนหนึ่งตำราที่นักเขียนเกือบทุกคนต้องมีไว้ติดบ้าน และผลงานทั้งหมดของเขานี่เอง ทำให้ไวต์ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์เกียรติยศ เมื่อปี พ.ศ. 2521
ตลอดชีวิตการทำงาน ไวต์เขียนหนังสือมากมาย แต่เขียนวรรณกรรมเยาวชนเอาไว้เพียงสามเรื่องเท่านั้น คือ Stuart Little ในปี พ.ศ. 2488, Charlotte’s Web ในปี พ.ศ. 2495, และ The Trumpet of the Swan ในปี พ.ศ. 2513
แน่นอนว่าวรรณกรรมทั้งสามเรื่องได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก ประสบผลสำเร็จทั้งแง่ของรายได้และรางวัลต่างๆ ได้รับการแปลไปมากกว่า 20 ภาษา ถ่ายทอดไปเป็นภาพยนตร์ และแอนิเมชันหลายครั้ง ว่ากันว่าวรรณกรรมทั้งสามจะเป็นหนังสือที่ผู้คนทั้งโลกอ่านกันตลอดกาล
ไวต์เริ่มเขียนวรรณกรรมเยาวชน วัตถุประสงค์เพื่อให้หลานสาวอ่าน สำหรับ Charlotte’s Web นั้น ไวต์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทความเรื่อง The Death of the Pig ที่เขาเขียนขึ้นสำหรับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเนื้อหมูในสหรัฐอเมริกา ไวต์รู้สึกสงสารหมูเหล่านั้น จึงคิดเขียน Charlotte’s Web ขึ้นมา บอกเล่าเรื่องราวของเพื่อนสัตว์ในฟาร์ม ที่พยายามจะรักษาชีวิตของวิลเบอร์เอาไว้
อย่างไรก็ตาม Charlotte’s Web ยังมีสารที่ไวต์ต้องการจะสื่อกับนักอ่านอีกเรื่องคือ เรื่อง ‘ความตาย’ เพราะในที่สุดแล้วหลังจากรักษาชีวิตของวิลเบอร์เอาไว้ได้ ในตอนท้ายของเรื่องชาร์ล็อตต์ เพื่อนที่ดีที่สุดต้องวิลเบอร์ก็ต้องจากทุกคนในฟาร์มไปตามวัฏจักรของชีวิต
Charlotte’s Web ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยหลายครั้ง ครั้งแรกสุดในชื่อ ใยชาร์ล็อต ซึ่งแปลโดย ‘จิตตี’ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นนามปากกาของผู้ใด และหนังสือไม่มีรายละเอียดบรรณานุกรม จึงไม่ทราบว่าพิมพ์ขึ้นตั้งแต่เมื่อไร สำหรับเล่มที่ผู้เขียนมีนั้นมีลายเซ็นของเจ้าของเดิมลงวันที่ปี พ.ศ. 2502 แสดงว่าวิลเบอร์มาปรากฏตัวให้คนไทยได้รู้จักตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2502 หรือก่อนหน้านั้นสักพักแล้ว พิมพ์ครั้งแรกเป็นครั้งที่คนแทบไม่รู้จัก เพราะพิมพ์น้อยมาก
ส่วนมากแล้วเด็กไทยจะรู้จักเวอร์ชันที่แปลโดย ‘มัลลิกา’ ใช้ชื่อว่า ‘แมงมุมเพื่อนรัก’ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ซึ่งได้รับเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของกระทรวงศึกษาธิการ
อี. บี. ไวต์ เสียชีวิตที่บรูคลิน เมื่อปี พ.ศ. 2528 อายุ 86 ปี
วรรณกรรมเยาวชนทั้งสามเล่มของเขาจะเป็นอมตะในใจของคนไปอีกนานชั่วนาน
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค