น.ม.ส
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
เวตาลคืออสุรกายหน้าตาน่ากลัว รูปร่างกึ่งมนุษย์กึ่งค้างคาว มีปีกบินได้ ปกติแล้วเวตาลจะเกาะอยู่บนต้นอโศกใหญ่ วันหนึ่งโยคีชื่อศานติศีลกำลังจะทำพิธีสำคัญที่ริมฝั่งแม่น้ำโคทาวารี และต้องการตัวเวตาลมาทำพิธีบูชายัญ จึงใช้ให้พระเจ้าวิกรมาทิตย์ไปจับตัวมาให้ โดยมีข้อแม้ว่าระหว่างทางที่พาเวตาลมาส่งนั้น พระองค์จะต้องไม่ปริปากพูดอะไรออกมาเลยแม้แต่คำเดียว แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าเวตาลนั้นฉลาดเฉลียวยิ่งนัก ระหว่างที่เกาะหลังพระเจ้าวิกรมาทิตย์มา เวตาลก็จะเล่านิทานต่างๆ ให้ฟัง และสุดท้ายพระเจ้าวิกรมาทิตย์ก็จะเผลอออกความเห็น และเวตาลก็จะได้ทีเหาะกลับไปที่ต้นอโศกให้พระเจ้าวิกรมาทิตย์ไปจับตัวมาใหม่เสมอ
หน้าตาของเวตาลนั้น ถ้าเทียบกับฝรั่ง เห็นจะเหมือนกับตัวการ์กอยลส์ ไม่รู้ว่าใครได้แบบไปจากใครกันแน่ หรือที่จริงเวตาลหรือการ์กอยลส์อาจจะเคยมีอยู่จริงในทุกภูมิภาคก็เป็นได้
นิทานเวตาล เป็นนิทานซ้อนนิทาน แบบที่วรรณกรรมสันสกฤตในยุคหนึ่งชอบเขียนกันมาก เรารู้จัก นิทานเวตาล กันเพราะ น.ม.ส. หรือพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และฉบับของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง ทำให้ นิทานเวตาล ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มี 10 เรื่อง
ที่จริง นิทานเวตาล นั้นเป็นวรณณคดีสันสกฤต ชื่อ เวตาลปัญจวิงศติ มีทั้งสิ้น 25 เรื่อง ฝรั่งเลือกแปลบางเรื่อง และเมื่อ น.ม.ส. แปลมาจากภาษาอังกฤษอีกที จึงแปลมาไม่ครบ ต่อมาภายหลัง ดร. ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้ถอดความจากภาษาสันสกฤตจนครบทั้ง 25 เรื่อง และสำนักพิมพ์แม่คำผางได้จัดพิมพ์เผยแพร่เป็นที่เรียบร้อย
น.ม.ส. เป็นนามปากกาของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มาจากอักษรสุดท้ายของพระนามเดิมพระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อกลับมาเมืองไทยทรงรับราชการหลายตำแหน่งในหลายกระทรวง เมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี
น.ม.ส. เริ่มงานพระนิพนธ์เหมือนกับนักเขียนคนอื่นๆ คือ เริ่มจากชอบอ่านหนังสือก่อนจากนั้นก็อยากแต่งหนังสือบ้าง ทรงนิพนธ์บทความสั้นๆ และส่งไปยังหนังสือ วชิรญาณรายเดือน ซึ่งได้ลงตีพิมพ์ในทันที พระองค์รับสั่งกับคนใกล้ชิดว่า “ปลื้มใจราวกับอะไรดี” อย่างไรก็ตามบรรณาธิการ วชิรญาณ ในเวลานั้น ไม่เชื่อว่าพระองค์เป็นผู้นิพนธ์บทความนี้ แต่เป็นผู้ใหญ่เขียนและสั่งให้พระองค์คัดส่งมาให้ น.ม.ส ต้องใช้เวลาพิสูจน์ตนเองอยู่นาน กว่าที่บรรณาธิการจะยอมรับในฝีไม้ลายมือ
กล่าวถึงงานพระนิพนธ์ น.ม.ส. ถือเป็นปราชญ์คนสำคัญของรัตนโกสินทร์ นอกจาก นิทานเวตาล ที่เรารู้จักกันดีแล้ว ยังมีงานพระนิพนธ์ชิ้นสำคัญอีกหลายเรื่อง เป็นต้นว่า จดหมายจางวางหร่ำ, สืบราชสมบัติ, พระนลคำฉันท์, กนกนคร
หลังลาออกจากราชการช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง น.ม.ส. ตั้งโรงพิมพ์ชื่อประมวลมารค ออกนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อเดี่ยวกับโรงพิมพ์ ต่อมาเมื่อได้รับความนิยมมากขึ้นก็ทรงออกนิตยสารรายสัปดาห์อีกหนึ่งฉบับชื่อ ประมวญสาร และหนังสือพิมพ์รายวันชื่อ ประมวญวัน หนังสือทั้งสามฉบับได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่แล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินทิ้งระเบิดลงมาที่วังของพระองค์ ทำให้ไฟไหม้โรงพิมพ์ ต้นฉบับเสียหายไปในกองเพลิงจำนวนมาก สุดท้ายพระองค์ก็ตัดสินพระทัยเลิกกิจการหนังสือไปอย่างน่าเสียดาย
พระนิพนธ์เรื่องสุดท้ายคือ สามกรุง พระองค์เล่าถึงการเปลี่ยนผ่านของบ้านเมืองในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มาถึงธนบุรีและรัตนโกสินทร์โดยลำดับ ตอนเริ่มงานพระนิพนธ์ชิ้นนี้ ทรงมีปัญหาด้านสายตา พระเนตรเป็นต้อกระจกทำให้มองหนังสือไม่เห็น สามกรุง จึงสำเร็จเสร็จบริบูรณ์ลงด้วยการที่พระองค์ทรงให้หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รัชนี ซึ่งเป็นพระธิดา จดตามคำของพระองค์
หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รัชนี องค์นี้เองที่ในเวลาต่อมาได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต และเป็นนักเขียนชื่อดัง นามปากกา ว. ณ ประมวลมารค เจ้าของนวนิยายเรื่อง ปริศนา, เจ้าสาวของอานนท์ และ รัตนาวดี กับอีกหลายเรื่องที่นิยมอ่านกันมาจนถึงปัจจุบัน
น.ม.ส. ทรงพระนิพนธ์ สามกรุง เอาไว้ในช่วงปลายของพระชนม์ชีพ พระพลานามัยไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว แต่ด้วยความที่ทรงเห็นเรื่องราวต่างๆ มามาก เคยรับราชการผ่านมาแล้วหลายแผ่นดิน จึงมีองค์ความรู้ที่น่าสนใจ ผู้คนรอบข้างพยายามเชียร์ให้พระองค์เขียนเล่าเรื่องราวของบ้านเมืองว่ากว่าจะเป็นปึกแผ่นมาได้นั้น ต้องผ่านอะไรมาบ้าง พระองค์ทรงปรารภถึงที่มาที่ไปของการเขียน สามกรุง เอาไว้ว่า
‘พรพิมลพรรณผู้ ภริยา
หญิงใหญ่กรมพระนรา ธิปไท้
ใจจุยุอาตมา ให้มุ
กรองกวีวัจนไว้ อีกชิ้นศิลปี ฯ’
น.ม.ส. สิ้นพระชนม์ด้วยโรคเส้นพระโลหิตในสมองอุดตัน พระชันษาได้ 68 ปี และผลงานพระนิพนธ์ของพระองค์ท่านยังคงอ่านสืบเนื่องกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค