โดโรธี ดานีลส์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
เมื่อเล่าถึง โดโรธี อีเดน นักเขียนนวนิยายแนวโกธิกชื่อดังไปแล้ว คงไม่ยุติธรรมนักถ้าจะไม่เล่าถึง โดโรธี ดานีลส์ เพราะเธอคือเจ้าแม่นวนิยายโกธิกอีกคนที่มีผลงานเป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของผู้อ่านมากมายไม่แพ้กัน
เอาเข้าจริงแล้วในเมืองไทย นักอ่านรู้จัก โดโรธี อีเดน มากกว่า เพราะงานของ โดโรธี ดานีลส์ นั้นได้รับการแปลออกมาน้อยมาก เท่าที่พอจะเคยเห็นผ่านตาก็คือเรื่อง เคหาสน์ภูต ของ ว.วินิจฉัยกุล ที่แปลมาจาก The Lonely Place เท่านั้น หากท่านผู้อ่านมีข้อมูลเพิ่มเติมถึงเรื่องอื่นๆ ของ โดโรธี ดานีลส์ ที่ได้รับการแปลเผยแพร่เป็นภาษาไทย ก็สามารถแจ้งมาให้ทราบจะเป็นพระคุณ
โดโรธี ดานีลส์ เป็นสาวอเมริกัน เกิดที่รัฐคอนเนตทิคัตเมื่อปี พ.ศ. 2450 หรือราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เธอเริ่มต้นงานเขียนหลังจากแต่งงานกับ นอร์แมน ดานีลส์ ซึ่งเป็นนักเขียนชื่อดังในแนวสายลับ สืบสวนสอบสวน
นอร์แมนเห็นภรรยาของเขาเป็นนักอ่านตัวยง เลยสนับสนุนให้ลองเขียนงานดูบ้าง ในช่วงแรกโดโรธีถนัดจะเขียนงานในแนวโรแมนติก เน้นเรื่องรักๆ ระหว่างหมอและพยาบาล ในแนวที่เรียกว่า Doctor-Nurse novels ซึ่งเป็นที่นิยมของบรรดาแม่บ้านอเมริกันในเวลานั้น
ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แนวการอ่านของนักอ่านเปลี่ยนไป ความนิยมในนวนิยายแนวหมอพยาบาลเริ่มน้อยลง บรรณาธิการของเธอเลยแนะนำให้โดโรธีลองหันมาเขียนงานแนวลึกลับโกธิกดูบ้าง โดโรธีเลยลองเขียนตามคำแนะนำ
นวนิยายโกธิกเรื่องแรกของเธอคือ Shadow Glen เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 เรื่องราวของเด็กสาวผู้มีนามว่า เจน แรนเดลล์ ที่มีอันจะต้องเดินทางไปสู่คฤหาสน์หลังใหญ่นามว่า Shadow Glen หลังจากการตายของมารดา เพื่อไปรับมรดก และแน่นอน ที่นั่นมีบรรดาญาติๆ ที่เจนไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้าค่าตามาก่อนอยู่กันมากมายหลายคน จากนั้นก็เริ่มเกิดเหตุร้ายต่างๆ นานาขึ้นกับเธอจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด
Shadow Glen ประสบความสำเร็จทันทีที่ได้รับการตีพิมพ์ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับการติดต่อซื้อไปทำภาพยนตร์ เช่นเดียวกับ ‘เคหาสน์ภูต’ ฉบับแปลภาษาไทย ก็ถูกสร้างเป็นละครทางสถานีโทรทัศน์ช่องสามเมื่อหลายปีก่อน
คนอื่นๆ แต่สิ่งที่ทำให้งานเขียนของโดโรธีโดดเด่น ก็คือวิธีการบรรยายที่มีรายละเอียดของวัฒนธรรม ความเชื่อและเรื่องของบุคลิกนิสัยของตัวละครที่อ่านแล้วเหมือนกับคนจริงๆ รวมถึงการเล่าเรื่องโดยใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งคือ ‘ฉัน’ ยิ่งทำให้คนอ่านรู้สึกร่วมไปกับตัวละครเอกของเธอ งานเขียนของโดโรธีทุกเรื่องจบลงอย่างมีความสุข เธอจะเน้นในเรื่องคุณธรรมเป็นสำคัญ ไม่ว่าตัวเอกจะต้องพบเจอกับเรื่องราวร้ายกาจใดๆ พวกเธอก็จะดำรงตนอยู่ในความดีเสมอ นั่นทำให้นักอ่านทุกคนชื่นชอบและมีกำลังใจ
เมื่อเขียน Shadow Glen จบลง โดโรธีค้นพบว่า นี่ละ คือแนวของงานเขียนที่เธอชอบมาก
หลังจากนั้น โดโรธีก็เขียนงานโกธิกอย่างจริงจังออกมาอีกมากมายเกือบหนึ่งร้อยเรื่อง ทุกเรื่องมียอดพิมพ์สูงมาก และได้รับการแปลออกไปอีกหลายภาษา
เรื่องชุดที่โด่งดังที่สุดของ โดโรธี ดานีลส์ คือ The Strange Paradise เรื่องราวของนางเอกที่เดินทางไปติดตามหาน้องสาวในเกาะประหลาดแห่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยความลึกลับและความตาย ซึ่งได้รับการนำไปทำเป็นภาพยนตร์ชุดฉายทางโทรทัศน์ ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย
เมื่อประสบความสำเร็จสูง ก็มีเรื่องปวดหัวตามมา เมื่อมีนักวิจารณ์หลายคนคิดว่าโดโรธีไม่ได้เขียนงานเหล่านั้นด้วยตัวเอง แต่เป็นผลงานของสามี
นอร์แมนออกมายืนยันว่างานเขียนทุกเล่มของภรรยา เป็นผลงานของโดโรธีจริงๆ เขายอมรับว่างานเขียนของเธอมีสีสันมากและเปี่ยมไปด้วยจินตนาการชนิดที่ตัวของเขาเองก็ทำไม่ได้อย่างนั้น แต่เขาก็บอกว่ามีบ้างเหมือนกันที่บางครั้งโดโรธีคิดเรื่องไม่ออก เลยมาขอคำปรึกษาและนอร์แมนเองก็ช่วยภรรยาคิดพล็อตให้น่าสนใจมากขึ้น ในช่วงบั้นปลายที่สุขภาพของนอร์แมนไม่ค่อยดี โดโรธีไม่เพียงแต่เขียนงานของตัวเองเท่านั้น เธอยังช่วยเขาพิมพ์ต้นฉบับตามคำพูด ตรวจทานแก้ไขและส่งสำนักพิมพ์ให้เขาอีกด้วย
แม้ว่าเรื่องราวของเจน จะคล้ายๆ กับตัวเอกในนวนิยายโกธิกเรื่องอื่นๆ ของนักเขียน
นอกจากงานเขียนในแนวโกธิกแล้ว โดโรธียังเขียนงานในแนวโรแมนติกออกมาอีกภายใต้หลายนามปากกา เท่าที่เปิดเผยได้แก่ Angela Gray, Danielle Dorsett, Cynthia Kavanaugh, Helaine Ross, Suzanne Somers, Geraldine Thaye แต่ไม่มีนามปากกาใดโด่งดังเท่า โดโรธี ดานีลส์ อันเป็นนามปากกาที่มาจากชื่อจริงนามสกุลจริงของเธอ
นอร์แมน ดานีลส์ เสียชีวิตก่อนภรรยา เขาเสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในวัย 80 ปี
ส่วนโดโรธีนั้นเสียชีวิตด้วยโรคชราในปี พ.ศ. 2544
ทั้งสองเป็นสามีภรรยานักเขียนที่สร้างผลงานสนุกๆ ให้นักอ่านทั่วโลกไว้มากมาย ที่ทุกคนยังคงอ่านงานของพวกเขามาจนถึงบัดนี้
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค