เอโดงาวะ รันโป
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
นามปากกาเอโดงาวะ รันโป ของทาโร ฮิราอิ ได้มาจากเอ็ดการ์ อัลแลน โป (Edgar Allen Poe) นักเขียนนวนิยายลึกลับชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง ฮิราอิชอบงานของโปมาก เลยเอาชื่อของนักเขียนคนโปรดมาตั้งเป็นนามปากกาของตัวเองเสียเลย
เอโดงาวะ รันโป ก็คือเอ็ดการ์ อันแลน โป ในแบบฉบับที่ออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง และแน่นอน ในเมื่อชอบงานเขียนแนวนี้ เขาเลยสร้างผลงานในแนวนี้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างต่อเนื่อง มีผลงานในแนวลึกลับ สืบสวน มากกว่าหนึ่งร้อยเล่ม เอโดงาวะ รันโป เป็นนักเขียนคนสำคัญของญี่ปุ่น เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนรุ่นหลังมากมาย ใครที่ชื่นชอบการ์ตูน นักสืบจิ๋วโคนัน คงจะจำกันได้ว่าชื่อเต็มของโคนันก็คือ ‘เอโดงาวะ โคนัน’ ซึ่งมีที่มาจากเอโดงาวะ รันโป นี่เอง
รันโปเริ่มเขียนงานตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2466 หรือราวรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงเวลานั้นเทรนด์การอ่านของโลกใบนี้ ผู้คนนิยมชมชอบวรรณกรรมแนวนักสืบกันเป็นอย่างมาก วรรณกรรมชิ้นสำคัญของโลกก็คือ เชอร์ล็อค โฮล์ม ซึ่งส่งอิทธิพลไปมากมาย แม้แต่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกก็ยังนำมาเขียนงานพระราชนิพนธ์นักสืบชุด ‘นิทานทองอิน’
งานเขียนเรื่องแรกของรันโปชื่อ ‘เหรียญทองแดงสองเซ็น’ ซึ่งเป็นเรื่องสืบสวนสอบสวน ไขปริศนาด้วยเหรียญอันหนึ่ง หลังจากตีพิมพ์ในนิตยสาร ชื่อของรันโปก็กลายมาเป็นที่น่าจับตาทันที เพราะงานของเขามีความสดใหม่ แปลกไปจากนวนิยายและเรื่องสั้นอื่นๆ ในช่วงเวลานั้น และอาเคจิ โคโกะโร นักสืบจากเรื่องเหรียญทองแดงสองเซ็นนี้ ก็เป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านอย่างมาก จนรันโปต้องเขียนให้เขาออกวาดลวดลายสืบคดีอื่นๆ ต่อเนื่องตามมาอีกหลายคดี สำหรับ เหรียญทองแดงสองเซ็น นี้ ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดยสำนักพิมพ์ JLIT สามารถหาซื้อมาลองอ่านกันดูได้
หลังจากงานเขียนเรื่องแรกประสบความสำเร็จ รันโปก็มุ่งมั่นเขียนงานในแนวลึกลับนีกสืบออกมาอีกหลายสิบเรื่อง กลายเป็นหมุดหมายสำคัญของวงการนวนิยายลึกลับของญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รันโปก็ยังมุ่งมั่นเขียนงานออกมาอีกไม่น้อย แต่เปลี่ยนเป้าหมายจากผู้อ่านวัยทำงานมาเป็นเยาวชน เขาหยิบเอาโคโกโร่ อาเคจิ มาตีความใหม่ เขียนให้เป็นนักสืบในช่วงวัยรุ่น สืบคดีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น ชุดนักสืบแก๊งค์จิ๋วเจาะคดี, ชุดเจ้าหนูนักสืบไขคดีพิศวง หลายเล่มได้รับการแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้วเช่นกัน
ความสนใจของรันโปยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เขาอ่านนวนิยายภาษาอังกฤษมามาก เลยเกิดความคิดว่าทำไมไม่แปลนวนิยายญี่ปุ่นออกเป็นภาษาอังกฤษให้ฝรั่งอ่านกันบ้าง ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2493-2502 รันโปทำงานกับล่าม คัดเลือกงานเขียนของเขาบางเรื่องมาแปลเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Japanese Tales of Mystery and Imagination (ซึ่งต่อมาได้แปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อ ‘สยองขวัญ’ โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ) ทำให้นักอ่านฝรั่งได้รู้จักกับความสยองขวัญแบบเอเชีย
อย่างไรก็ตาม รันโปเล่าว่าการทำงานชิ้นนี้ไม่ง่ายเลย เพราะล่ามที่มาช่วยแปลภาษาสามารถพูดญี่ปุ่นได้ก็จริงแต่อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก ส่วนรันโปพูดอังกฤษได้แต่เขียนไม่ได้ การแปลจึงเกิดขึ้นด้วยการที่รันโปต้องพูดออกมาทีละประโยคให้ล่ามค่อยๆ แปล จากนั้นก็ต้องมีการตรวจสอบภาษาอังกฤษที่แปลว่าถูกต้องหรือไม่จากการที่ล่ามอ่านให้ฟังทีละประโยค หนังสือเล่มนี้จึงใช้เวลาทำงานร่วมกันนานถึงห้าปี
Writing the Love of Boys: Origins of Bish nen Culture in Modernist Japanese Literature
รันโปสนใจศึกษาเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมญี่ปุ่นโบราณ
ความสนใจของรันโปนั้นยังพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ในช่วงท้ายของชีวิต รันโปกับเพื่อนสนิทของเขาชื่อจุนอิจิ อิวาตะ ซึ่งเป็นนักมานุษยวิทยาให้ความสนใจเรื่องความหลากหลายทางเพศในสังคมญี่ปุ่นมาก ทั้งสองช่วยกันรวบรวมหนังสือและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรักของคนเพศเดียวกันเอาไว้ได้อย่างมากมาย อิวาตะเสียชีวิตไปก่อน รันโปทำงานชิ้นนี้ต่อมา เขารวบรวมข้อมูลทั้งหมดและเขียนเป็นหนังสือออกมาชื่อ Writing the Love of Boys: Origins of Bish nen Culture in Modernist Japanese Literature ถือเป็นหมุดหมายสำคัญอีกหนึ่งเล่มสำหรับผู้ที่สนใจในเรื่อง Queer study ในญี่ปุ่น
เอโดงาวะ รันโป มีอาการของโรคพาร์กินสัน และเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดในสมองแตกเมื่อปี พ.ศ. 2509 อายุได้ 70 ปี สุสานของเขาอยู่ที่เมืองฟุชู โตเกียว
เรื่องราวของเขาถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมะเรื่อง Edogawa Ranpo และทุกวันนี้สมาคมนักเขียนเรื่องลึกลับของญี่ปุ่น ได้จัดตั้งรางวัลเอโดงาวะ รันโปมอบให้กับนักเขียนนวนิยายแนวลึกลับของญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี มาจนถึงปัจจุบัน
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค