ลิวอิส แครอล
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
เอ่ยชื่อ ลิวอิส แครอล หลายคนคงส่ายหน้าและบ่นว่าอิหยังวะ คนผู้นี้คือใคร
แต่ถ้าเอ่ยชื่อ อลิซในแดนมหัศจรรย์ เชื่อว่าหลายคนคงร้องอ๋อ
แน่ละครับ ก็วรรณกรรมเรื่องนี้ดังจะตาย เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก แต่เชื่อไหมว่าหลายคนไม่รู้ว่าคนเขียนอลิสในแดนมหัศจรรย์ชื่อ ลิวอิส แครอล !
ลิวอิส แครอล คือนามปากกาของ Charles Lutwidge Dodgson
ดอดจ์สันเป็นชาวอังกฤษ เกิดในครอบครัวเคร่งศาสนา เขาเรียนหนังสือแบบโฮมสกูลอยู่ที่บ้านจนเทียบได้กับชั้นมัธยม เพราะอย่างนี้เขาเลยได้อ่านหนังสือดีๆ มากมาย ว่ากันว่าดอดจ์สันอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลจบเล่มตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
พอย่างเข้าวัยรุ่น ครอบครัวส่งดอดจ์สันเข้าโรงเรียนรักบี้ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนกีฬาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก นักกีฬารักบี้ในเวลานั้นทำรายได้ดีและมีการงานที่มั่นคง อีกหนึ่งเหตุผลคือดอดจ์สันเป็นเด็กไม่ค่อยแข็งแรง พ่อและแม่มองว่าการเข้าเรียนในโรงเรียนกีฬาจะทำให้เขามีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่หลังจากเข้าเรียนได้ไม่กี่ปีดอดจ์สันก็พบว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เขาชอบ และลาออกมาเรียนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
ที่นั่นดอดจ์สันได้พบกับสิ่งที่ตัวเองชอบ และฉายแววความเป็นอัจริยะทางด้านคณิตศาสตร์ออกมาให้เห็น ดอดจ์สันเข้าแข่งขันโครงการทางด้านคณิตศาสตร์หลายรายการและแน่นอน เขาได้รับรางวัลชนะเลิศแทบทุกสถาบัน ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ศาสตร์รุ่นเยาว์ที่น่าจับตามองที่สุดของอังกฤษในเวลานั้น ความสามารถด้านคณิตศาสตร์นี้เองที่ดอดจ์สันนำมาออกแบบฉากและตัวละครใน ‘อลิซในแดนมหัศจรรย์’ ในเวลาต่อมา
ก่อนหน้าเขียน อลิซฯ ดอดจ์สันชอบงานประพันธ์มาก เขาเขียนโคลงกลอนขำขันและเรื่องสั้นออกมามากมาย หากในตอนนั้นยังไม่มีคนรู้จักมากนัก นอกจากความสามารถด้านการประพันธ์แล้ว ดอดจ์สันยังเป็นช่างภาพอีกด้วย
เรื่องการถ่ายภาพในเวลานั้นถือเป็นเรื่องใหม่มาก เพราะเพิ่งมีการสร้างกล้องถ่ายภาพได้เพียงไม่กี่ปี คนจะมีกล้องได้ต้องมีฐานะดีมาก Skeffington Lutwidge คุณลุงของเขาสอนให้ดอดจ์สันรู้จักกล้องและการถ่ายภาพ ซึ่งดอดจ์สันสนุกกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เขาถ่ายภาพต่างๆ เอาไว้หลายร้อยภาพ ส่วนมากเป็นภาพของเด็กๆ ในอิริยาบถต่างๆ
ดอดจ์สันเริ่มเขียน อลิซในแดนมหัศจรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 2408 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
นักวิชาการทางวรรณกรรมหลายคนเชื่อว่าต้นแบบของอลิซมาจาก เด็กหญิงอลิซ ลิดด์เดล ซึ่งเป็นบุตรสาวของ เฮนี่ ริดด์เดล เพื่อนสนิทของครอบครัวดอดจ์สัน
เฮนรี่และภรรยา รวมถึงลูกๆ สามคนย้ายเข้ามาอยู่ในละแวกบ้านเดียวกับดอดจ์สันและมาทำกิจกรรมทาศาสนาที่โบสถ์ซึ่งคุณพ่อของดอดจ์สันเป็นอธิการอยู่ ดอดจ์สันใช้เวลาว่างเล่านิทานให้เด็กๆ ทั้งสามฟัง รวมถึงสอนคณิตศาสตร์ เล่นสนุกกันอยู่เป็นประจำ แม้ว่าดอดจ์สันจะปฏิเสธมาดดยตลอดว่าไม่ได้เอาแรงบันดาลใจมากจากสหายวัยเยาว์ของเขา หากทว่าคนที่รู้จักทั้งสองครอบครัวนี้ต่างกล่าวตรงกันว่า บุคลิกหลายๆ อย่างของอลิซในนิทาน ก็มาจากบุคลิกจริงๆ ของ เด็กหญิงอลิซ ลิดด์เดล นั่นเอง
หลังจาก อลิซในแดนมหัศจรรย์ ตีพิมพ์ วรรณกรรมเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ดอดจ์สันโด่งดังภายในชั่วข้ามคืน แม้แต่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ทรงโปรดปราน อลิซในแดนมหัศจรรย์ เป็นอย่างมาก ถึงกับมีพระราชหัตถเลขาถึงดอดจ์สันเพื่อชื่นชม และขอให้เขาเขียนเรื่องทำนองนี้ออกมาอีก
หกปีต่อมา ดอดจ์สันลงมือเขียนภาคต่อของอลิซในแดนมหัศจรรย์ ใช้ชื่อว่า ‘Through the Looking Glass’ หรือ อลิซในเมืองกระจก เล่าเรื่องราวของอลิซวัย 7 ขวบครึ่ง ที่อยากเข้าไปในโลกกระจก และต้องเข้าไปอยู่ตรงกลางระหว่างการแข่งหมากรุกของราชินีแดงและราชินีขาว ที่มีตัวละครอย่างฮัมพ์ตี้ดัมพ์ตี้ และแฝดพี่น้องทวีดเดิ้ล รวมถึงแมดแฮทเทอร์กลับมาเป็นคู่ต่อสู้
ในภาคสองนี้ ธีมของเรื่องหม่นเศร้ากว่าเล่มแรกอย่างเห็นได้ชัด ว่ากันว่าเป็นเพราะในเวลานั้นดอดจ์สันกำลังตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า เนื่องจากบิดาของเขาเสียชีวิตลง
แม้จะประสบความสำเร็จมากมาย หากดอดจ์สันยังคงใช้ชีวิตเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีงานอดิเรกคือถ่ายภาพและเขียนหนังสือ
ดอดจ์สันไม่มีครอบครัว เขาอยู่ตัวคนเดียว ตอนอายุ 65 ปี เขาเริ่มล้มป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ และเสียชีวิตด้วยปอดติดเชื้อในปีพ.ศ. 2451 ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่กิลด์ฟอร์ด ก่อนจะได้รับการบรรจุที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ในอีกเกือบหนึ่งร้อยปีต่อมา
งานเขียนของดอดจ์สันหรือ ลิวอิส แครอล ยังเป็นที่นิยมอ่านกันทั่วโลก รวมถึงได้รับการดัดแปลงไปเป็นแอนิเมชัน ละครเวที ภาพยนตร์ในรูปแบบต่างๆ มาจนถึงทุกวันนี้
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค