ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
ถ้าจะกล่าวถึงวรรณกรรมเยาวชนที่เด็กทั่วโลกรู้จัก หนึ่งในนั้นจะต้องมี ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย หรือ Little Lord Fauntleroy รวมอยู่ด้วยเป็นแน่
เรื่องราวของเด็กชายชาวอเมริกันคนหนึ่ง ผู้อาศัยอยู่กับมารดาที่อบรมสั่งสอนให้เขาเป็นเด็กดี มีน้ำใจกับผู้อื่น แม้ฐานะทางบ้านของตัวเองจะเต็มไปด้วยความยากลำบากก็ตาม แล้วในวันหนึ่งก็มีทนายความมาตามหาตัวของเขา เพื่อให้เดินทางไปพบกับคุณปู่ที่ไม่เคยรู้จักไกลถึงประเทศอังกฤษ เมื่อไปถึงที่นั่น เด็กชายก็ได้พบว่าตัวเองคือทายาทของท่านเอิร์ลผู้มั่งคั่ง ส่วนตัวของเขาก็มีศักดิ์เป็นถึงท่านลอร์ด
แน่นอน ไม่ใช่ว่าทั้งสองจะเข้ากันได้ง่ายๆ เพราะเติบโตมาด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ด้วยวัยที่แตกต่างกัน จึงทำให้ปู่ของเขาตั้งข้อรังเกียจ หากสุดท้ายความเป็นเด็กน่ารัก ร่าเริงแจ่มใส ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยจึงเอาชนะใจคุณปู่ผู้ถือยศถือศักดิ์ของเขาได้ในท้ายที่สุด
ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์ เขียน ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย เมื่อปี พ.ศ. 2429 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และหนังสือประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
เธอเกิดที่อังกฤษ แต่อพยพไปอยู่อเมริกาตอนอายุ 3 ปี อาจจะเป็นเพราะเหตุนี้ เธอจึงเข้าใจถึงความแตกต่างของสองวัฒนธรรมเป็นอย่างดี และนำมาบอกเล่าผ่านการเดินทางของหนูน้อยเซดริก ผู้มีฐานันดรเป็นถึงท่านลอร์ด
ฟรานเซสเป็นนักเขียนอาชีพ หลังจากจบการศึกษาแล้วฟรานเซสก็เริ่มเขียนงานส่งให้กับนิตยสารต่างๆ ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย เป็นวรรณกรรมเยาวชนเรื่องแรกของเธอ ลงตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสาร เซนต์นิโคลาส ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2428 จนถึงเดือนตุลาคม 2429 เมื่อจบบริบูรณ์ในนิตยสารแล้วก็ได้รับการพิมพ์รวมเล่ม ภายในมีภาพประกอบสวยงาม
ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย สร้างปรากฏการณ์ต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ตอนที่ลงในนิตยสาร ผู้อ่านจำนวนมากเฝ้ารอคอยตอนใหม่ๆ อย่างใจจดจ่อ เมื่อพิมพ์รวมเล่ม ภาพประกอบในหนังสือซึ่งวาดโดย Reginald B. Birch โดยเฉพาะภาพของลอร์ดน้อยที่มีผมเป็นลอน มีเสื้อผ้าสวยงาม ตรงตามที่ฟรานเซสบรรยายเอาไว้ว่า “สิ่งที่เอิร์ลเห็นก็คือรูปร่างสง่างามของเด็กชาย ที่สวมสูทกำมะหยี่ดำมีคอปักลูกไม้ โดยมีลอนผมไหวไปรอบๆ ใบหน้าน้อยๆ ที่รูปหล่อ ไร้เดียงสา” ภาพประกอบดังกล่าวได้กลายมาเป็นแฟชั่นยอดฮิตของเด็กๆ อเมริกันในเวลานั้น บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองนิยมพาลูกๆ ไปตัดเสื้อผ้าแบบลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยกันเป็นแถว
นอกจากเรื่องแฟชั่นของเด็กผู้ชายในเวลานั้นแล้ว ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยยังสร้างปรากฏการณ์อีกหลายอย่าง ที่น่าสนใจคือเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอย่างจริงจัง จากกรณีที่ มิสเตอร์ซีบอห์ม ซึ่งเป็นนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ นำเอา ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ไปดัดแปลงและสร้างเป็นบทละครเวทีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทประพันธ์
ฟรานเซสได้เจรจากับซีบอห์มหลายครั้ง เขายอมรับในที่สุดว่าได้นำเอาบทประพันธ์ของฟรานเซสมาดัดแปลงจริงๆ เขาจะแก้ไขด้วยการใส่เครดิตชื่อของฟรานเซสลงในสูจิบัตรละครเวทีด้วย แต่ฟรานเซสไม่ตกลง เพราะถือว่าไม่ให้เกียรติกัน และสิ่งที่เขาทำคือการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเธอ ถ้าเธอไม่บังเอิญรู้เรื่องนี้ ซีบอห์มก็คงจะเดินหน้าสร้างละครเวทีต่อไปหน้าตาเฉย
สุดท้าย ฟรานเซสตัดสินใจฟ้องร้องซีบอห์ม และศาลตัดสินใจฟรานเซสชนะคดี นับเป็นหมุดหมายที่สำคัญในเรื่องของลิขสิทธิ์บทประพันธ์
ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ได้รับการแปลออกไปมากมายหลายภาษา
ฉบับภาษาไทยแปลโดย เนื่องน้อย ศรัทธา ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร สตรีสารรายสัปดาห์ หลังจากนั้นก็มีคนได้นำมาแปลอีกหลายสำนวน
นอกจาก ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย ฟรานเซสยังเขียนวรรณกรรมเยาวชนเอาไว้อีกหลายเล่ม เช่น สวนเที่ยงคืน, เจ้าหญิงน้อย เป็นต้น ซึ่งทุกเรื่องก็ล้วนแต่ประสบความสำเร็จมากมายไม่แพ้กัน
ฟรานเซสย้ายมาอยู่อเมริกาในปี พ.ศ. 2396 ตอนนั้นเธออายุ 3 ปี แต่เพิ่งได้สัญชาติอเมริกันเมื่อปีพ.ศ. 2448 ตอนที่เธออายุ 59 ปี
ฟรานเซสเสียชีวิตในวัย 74 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2468 ด้วยโรคชรา
‘โรบิน’ คือนวนิยายเรื่องสุดท้ายของเธอ ซึ่งตีพิมพ์ก่อนหน้าฟรานเซสจะเสียชีวิตเพียงสองปี มีอนุสาวรีย์ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอยอยู่ที่เซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก สำหรับทุกคนที่ไปเยือนจะได้รำลึกถึงวรรณกรรมเรื่องยิ่งใหญ่อีกหนึ่งเรื่องของอเมริกา
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค