ชาร์ลส ดิกเกนส์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรม
*************************
ทุกๆ วันคริสต์มาส เราทุกคนมักจะหวนรำลึกถึงรอบปีที่ผ่านมาว่าได้ทำสิ่งใดไปบ้าง อะไรดีงาม อะไรผิดพลาด ก่อนจะมองปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง หลายคนนึกย้อนถึงสิ่งต่างๆ ที่เราได้ทำไป ลิ่งที่เราปรารถนาจะทำในปีหน้า และแน่นอนในช่วงเวลาคริสต์มาส เรามักนึกถึงเสียงเพลง ของขวัญ การเฉลิมฉลอง รวมถึงนึกถึงบรรดานิทาน เรื่องเล่าต่างๆ ซานตาคลอส อากาศที่หนาวยะเยือก ความสุข และสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ รวมถึงเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่ตรึงใจคนทั่วโลก ให้นึกถึงแง่มุมงดงามในใจของมนุษย์ นั่นคือ A Christmas Carols ของ ชาร์ลส ดิกเกนส์
A Christmas Carols หรือ กำนัลแห่งคริสต์มาส ในฉบับแปลภาษาไทย เรื่องราวของคุณสครูจ นายธนาคารผู้มั่งคั่ง แต่ลึกๆ เป็นคนเลือดเย็นและละโมบโลภมาก สครูจเกลียดคริสต์มาสเป็นอย่างมาก เพราะเขาเป็นคนโดดเดี่ยว ไม่มีครอบครัว ไม่มีใครรัก แต่ถึงแม้จะไม่มีใครรัก… แล้วไงใครแคร์ เขามีเงินทองมากมายจนใครๆ อิจฉา จนกระทั่งในวันคริสต์มาสปีหนึ่ง สครูจได้พบกับวิญญาณของเพื่อนเก่าและภูตแห่งคริสมาสต์ทั้งสาม ที่ทำชีวิตของมหาเศรษฐีขี้เหนียวต้องแปรเปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน
A Christmas Carols ทำงานกับจิตใจมนุษย์ ความรู้สึกภายใน ความเมตตา ความกรุณาปราณี จึงไม่แปลกใจที่ A Christmas Carols กลายเป็นวรรณกรรมคลาสสิกของโลก ที่เล่าขานกันมาจนถึงทุกวันนี้ และคงจะเล่าต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น ตราบใดที่มนุษยชาติยังมีการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสกันอยู่
ตอนเขียน A Christmas Carols เราไม่รู้ว่า ชาร์ลส ดิกเกนส์ กำลังคิดอะไรอยู่ เขาจะมีญาณหยั่งรู้หรือไม่ว่า วรรณกรรมจากปลายปากกาของเขาจะโด่งดังเป็นที่รู้จักของผู้คนมากมายขนาดนี้
ชาร์ลสเขียนเรื่องนี้ขึ้นในวันเวลาที่อังกฤษกำลังเผชิญกับอากาศที่หนาวเย็น มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของชนชั้น ครอบครัวเศรษฐีได้เฉลิมฉลองคริสต์มาสกันอย่างมีความสุข ได้กินอาหารดีๆ ดื่มไวน์ราคาแพง ขณะที่ยังมีเด็กยากจน ไร้บ้าน ไร้ครอบครัว เร่ร่อนอยู่บนท้องถนนอีกมากมาย และเขาสะท้อนให้เห็นถึงความจริงในใจของมนุษย์ว่า ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีหรือยาจก ไม่ว่าจะยากหรือดี มีหรือจน สุดท้ายแล้วสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาก็คือความรัก…
ความรัก ซึ่งเงินทองก็ซื้อไม่ได้…
ชาร์ลส ดิกเกนส์ เป็นคนอังกฤษโดยกำเนิด เกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง ทีเมืองพอร์ตสมัธ พ่อทำงานเป็นเสมียนทำเงินเดือนของกองทัพเรือ ชีวิตครอบครัวในวัยเด็กเต็มไปด้วยความสุข พ่อของเขาเป็นนักอ่าน ชาร์ลสเลยมีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ เป็นจำนวนมาก เรื่องที่เขาชอบมากที่สุด คือ โรบินสัน ครูโซ และ พันหนึ่งราตรี
ครอบครัวชาร์ลสอยู่ดีมีสุขจนกระทั่งชาร์ลสอายุได้สิบสองปี พ่อของเขาเกิดมีปัญหาเรื่องการงานจนถึงขั้นต้องติดคุก ครอบครัวดิกเกนส์จึงประสบกับภาวะยากลำบาก ชาร์ลสต้องออกจากโรงเรียนเพื่อมาทำงานหาเลี้ยงครอบครัว เขาทำงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ที่นั่นทำให้ชาร์ลสได้เรียนรู้ชีวิต ได้เห็นความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในสังคม ในขณะเดียวกันเขาก็หาเวลาเรียนไปด้วยพร้อมๆ กับทำงานหาเงินส่งตัวเอง รวมทั้งเริ่มเขียนบทความ เรื่องสั้น ไปลงตามหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ทำให้มีรายได้ไม่ลำบากนัก
นวนิยายเรื่องแรกของชาร์ลสชื่อ Pickwick Paper ที่เอาประสบการณ์ของตัวเองช่วงที่พ่อต้องประสบกับปัญหาเรื่องงานจนติดคุกมาเขียน หนังสือประสบความสำเร็จในแทบจะทันทีที่พิมพ์จำหน่าย นวนิยายเรื่องต่อมาของเขาคือ โอลิเวอร์ ทวิสต์ เรื่องราวของเด็กชายที่ใช้ชีวิตอยู่ริมถนน และ โอลิเวอร์ ทวิสต์ ก็ประสบความสำเร็จมากมายหลายเท่า แม้แต่สมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย ก็ทรงโปรดงานของ ชาร์ลส ดิกเกนส์ เป็นอย่างมาก
ชาร์ลสทำงานหนัก เขาเขียนงานออกมาอย่างต่อเนื่อง ผลงานของเขาเป็นที่รู้จักของคนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเล่าของสองนคร (A Tale of Two Cities), เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ (David Copperfield), แรงใจและไฟฝัน (The Great Expectation) เป็นต้น ผลงานนวนิยายแทบทั้งหมดของเขาจะลงพิมพ์ในนิตยสารและหนังสือพิมพ์ก่อนจะรวมเล่มออกจำหน่าย เล่ากันว่ามีผู้คนมากมายถึงกับไปยืนรอที่เรือเทียบท่าที่ท่าเรือในนิวยอร์d เพื่อจะรออ่านนิตยสารฉบับใหม่ที่มีนวนิยายของชาร์ลสส่งมาจำหน่ายกันเลยทีเดียว
วรรรกรรมชองชาร์ลสหยั่งรากลึกในอังกฤษ แต่ไปเติบโตเป็นอย่างมากในอเมริกา เพราะประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องเด็กกำพร้า เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมนั้นโดนใจคนอ่านชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก นวนิยายของเขาเกือบทุกเรื่องได้รับการดัดแปลงไปเป็นละครเวทีตั้งแต่ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ ชาร์ลสและภรรยาได้รับเชิญให้ไปพบกับแฟนหนังสือที่อเมริกาถึงสองครั้ง และตลอดชีวิตของเขาต้องรับเชิญไปขึ้นเวทีเพื่ออ่านหนังสือที่ตัวเองเขียนให้บรรดาแฟนๆ ฟังไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยหน
ชาร์ลสล้มป่วยลงด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตอนอายุ 56 ปี ทำให้เขาเป็นอัมพฤกษ์ เดินเหินลำบาก แต่กระนั้นเขายังพยายามจะเขียนหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอ
นวนิยายเรื่องสุดท้ายของชาร์ลสคือ The Mystery of Edwin Drood ที่เขาตั้งใจจะเขียนทั้งหมด 12 บท แต่ยังไม่ทันทำได้อย่างที่ตั้งใจ ก็มาด่วนเสียชีวิตไปก่อน
ชาร์ลสเขียนบทที่ 6 ของ The Mystery of Edwin Drood ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2413 ตอนนั้นเขามีอายุได้ 58 ปี
ชาร์ลส ดิกเกนส์ เสียชีวิตในวันรุ่งขึ้น ปล่อยให้ The Mystery of Edwin Drood เป็นนวนิยายที่ไม่มีตอนจบมาจนถึงทุกวันนี้…
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค