อ.สนิทวงศ์
โดย : พงศกร
อ่านคลาสสิก โดย พงศกร อีกหนึ่งคอลัมน์ที่อ่านเอาภูมิใจนำเสนอกับการถ่ายทอดเรื่องราวของนักเขียนรุ่นเก่า ซึ่งมีผลงานเป็นตำนานและหาอ่านได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านที่รักทุกเพศวัยจะได้สัมผัสกับความลึกซึ้งของงานเขียนและได้รับรู้เรื่องราวดีๆ มากมายในแวดวงวรรณกรรมไทย
*************************
เชื่อว่าหนูเล็กเด็กๆทั้งหลายในยุคก่อน ส่วนมากจะต้องโตมากับนิทานของ อ.สนิทวงศ์ ไม่ว่าจะเป็น นิทานอินเดียนแดง, เก้าอี้สารพัดนึก, ไฮดี้, นิทานนานาชาติ, เทพนิยายสายรุ้ง, นิทานคุณหนู, ชีวิตกวางไพร, ม้าแสนรู้, พ่อมดแห่งเมืองมรกต, เจ้าหญิงออซมา, ดรุณนิมิตร และอีกมากมาย อ่านได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทุกเรื่องล้วนมีคติสอนใจ บอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตในสังคมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านตัวละครในนิทาน
อ.สนิทวงศ์ แปลนิทานสำหรับเด็กเอาไว้เยอะมาก ลองเดินเข้าไปในห้องสมุด หลับตาสุ่มๆหยิบหนังสือจากชั้นวรรณกรรมเด็กสักเรื่อง แน่นอนว่าจะต้องมีหนังสือของ อ.สนิทวงศ์ ติดมือมาด้วยเสมอ
นิทานส่วนมากของ อ.สนิทวงศ์ แปลมาจากนิทานเด็กของ เอนิด ไบลตัน เรียกว่าเป็นนักแปลคู่บุญก็ว่าได้ เอนิด ไบลตัน เป็นนักเขียนสตรีชาวอังกฤษ งานเขียนของเธอมีมากมายหลายร้อยเรื่อง ทั้งหมดเป็นวรรณกรรมเยาวชน เล่าถึงนางฟ้า คนแคระ ยักษ์ สัตว์พูดได้ เก้าอี้บินได้ ตัวโนม ก็อบลิน สร้างจินตนการบรรเจิดให้กับนักอ่านรุ่นเยาว์เป็นอย่างมาก เจ. เค. โรว์ลิง ยังเคยให้สัมภาษณ์ในนิตยสารฉบับหนึ่งว่า เธอชอบอ่านนิทานของ เอนิด ไบลตัน อ่านมาตั้งแต่ตอนยังเป็นเด็ก แน่นอน ด็อบบี้ – ก็อบลินผู้น่าสงสารใน แฮรี่ พอตเตอร์ ก็มีเงาของก็อบลินในนิทานของ เอนิด ไบลตัน ปนมาด้วยไม่มากก็น้อย
อ.สนิทวงศ์ เป็นนามปากกาของ อุไร สนิทวงศ์
เส้นทางนักแปลของเธอ เริ่มต้นจากการอ่าน อ.สนิทวงศ์ ชอบอ่านหนังสือภาษาอังกฤษมาก เพราะคุณพ่อ พันเอกหม่อมหลวงอังกาบ สนิทวงศ์ เป็นนักอ่านตัวยง มีหนังสือทั้งภาษาไทยและอังกฤษสะสมไว้ที่บ้านมากมาย สร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูกสาวคนนี้ จนต่อมา อ.สนิทวงศ์ จึงลุกขึ้นมาแปลนิทาน เพื่อให้เด็กคนอื่นๆ มีโอกาสได้อ่านงานดีๆ อย่างที่เธอได้อ่านกันบ้าง
อ.สนิทวงศ์ เริ่มต้นทำงานเป็นนักแปลอาชีพตั้งแต่ พ.ศ. 2478 ประจำอยู่ที่สำนักงานเซเว่นเดย์ แอ๊ดเว็นติสมิชชั่น นอกจากวรรณกรรมเยาวชนแล้ว อ.สนิทวงศ์ ยังแปลวรรณกรรมคลาสสิกเอาไว้หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เงาบาป (Picture of Dorian Gray ของ ออสการ์ ไวลด์), แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม (Anna and The King ของ Margaret Landon), โอลิเวอร์ ทวิสต์ (Oliver Twist ของ Charles Dickens), สี่ดรุณี (Little Women ของ Louisa May Alcott) เป็นต้น
ถ้าติดตามอ่านผลงานของ อ.สนิทวงศ์ จะเห็นว่าเธอมีผลงานแปลหลากหลายมาก เธอเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ในนิตยสาร โลกหนังสือ ว่า หลักการเลือกเรื่องมาแปลของเธอคือต้องอ่านแล้วรู้สึกสนุกเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยภาษาสวย และเหตุผลสุดท้ายที่สำคัญมากคือ อ่านเรื่องนี้จบแล้วให้อะไรกับคนอ่าน
เหตุผลทั้งสามทำให้ อ.สนิทวงศ์ ต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการถ่ายทอดจากภาษาต้นฉบับมาเป็นภาษาไทย หลายครั้งก็มีความยากลำบากที่จะเทียบเคียงสำนวนให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด แถมยังได้อรรถรสของเนื้อหา เธอเล่าว่าใช้เวลาหลายสิบปีกว่าจะคล่องและทำงานได้ลงตัว สำหรับเล่มที่รู้สึกว่ายากที่สุดในการแปลนั้น เห็นจะไม่มีเล่มไหนเกินกว่า แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม ไปได้ เนื่องจากเนื้อหาเกี่ยวพันกับราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเล่าเรื่องราวต่างๆ ออกมาในมุมมองของผู้เขียนซึ่งเป็นฝรั่ง ทำให้มีหลายฉากหลายตอนที่ผู้อ่านอาจจะรู้สึกขัดใจ ซึ่ง อ.สนิทวงศ์ ได้กล่าวไว้ในคำนำฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 ว่า
“ข้าพเจ้าหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะไม่โกรธ หรือไม่พอใจเมื่อได้อ่านเรื่องนี้ ขอให้ท่านนึกเสียว่า มากาเร็ต แลนดอน ได้เขียนเรื่องนี้ตามความเห็นของฝรั่งที่ไม่มีความรู้สึกลึกซึ้งเกี่ยวกับประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4… ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าหวังว่า ท่านผู้อ่านคงจะได้รับความเพลิดเพลินจากหนังสือเล่มนี้บ้างตามสมควร เรื่องใดที่เป็นความจริงก็ขอให้ท่านจดจำเรื่องนั้นไว้ เพื่อประดับความรู้ และเรื่องใดที่ไม่เป็นความจริง ก็ขอให้ท่านอ่านเล่นสนุกๆ ใช้เวลาของท่าให้เพลิดเพลิน”
แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์และละครเพลงชื่อ The King and I ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมาก เคยเข้ามาฉายในเมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน แต่ต่อมาก็ถูกแบนห้ามฉาย เพราะเนื้อหาออกจะอ่อนไหวกับความรู้สึกของผู้ชม
เล่าถึง อ.สนิทวงศ์ เหตุไฉนจึงเลยมาถึงเรื่อง The King and I ได้ก็ไม่รู้
เอาเป็นว่าถึงแม้หนังสือของ อ.สนิทวงศ์ จะหาอ่านยากแล้ว แต่เป็นโอกาสดีที่ทางทายาทอนุญาตให้นำหลายเรื่องมาทำเป็น eBook เผยแพร่ สามารถติดตามหาอ่านได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อน ลองอ่านดูแล้วจะทราบว่าสำนวนภาษาที่งดงาม เรื่องราวที่แสนสนุกในโลกนิทาน ผ่านปลายปากกาของ อ.สนิทวงศ์ นั้นเป็นเช่นไร
- READ ชินจิ วาดะ
- READ ชาร์ลส ดิกเกนส์
- READ แขไข เทวินทร์
- READ โรอัลด์ ดาห์ล
- READ ร.จันทพิมพะ
- READ กาญจนา นาคนันทน์
- READ เจน ออสเตน
- READ คำพูน บุญทวี
- READ เอ เอ มิลน์
- READ โกวเล้ง
- READ ดวงดาว
- READ สุริยฉัตร ชัยมงคล
- READ อกาธา คริสตี้
- READ บาร์บารา คาร์ทแลนด์
- READ บุษยมาส
- READ สรจักร
- READ เบียทริกซ์ พอตเตอร์
- READ วาณิช จรุงกิจอนันต์
- READ ริชาร์ด อดัมส์
- READ เจ้าฟ้ากุ้ง
- READ น้ำอบ
- READ เจ้าฟ้ากุณฑล – เจ้าฟ้ามงกุฎ
- READ เท็ตสุกะ โอซามุ
- READ ฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนตต์
- READ เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
- READ ท. เลียงพิบูลย์
- READ อี. บี. ไวต์
- READ ลพบุรี
- READ โดโรธี ดานีลส์
- READ คุณพุ่ม
- READ โดโรธี อีเดน
- READ จรัสพร
- READ ริชาร์ด แมทธีสัน
- READ สุภาว์ เทวกุลฯ
- READ วิลเลียม เชคสเปียร์
- READ กิมย้ง
- READ สุวรรณี สุคนธา
- READ เหม เวชกร
- READ ลิวอิส แครอล
- READ เพิร์ล เอส บั๊ค
- READ ศรีฟ้า ลดาวัลย์
- READ รัดยาร์ด คิปลิง
- READ พระนางเธอลักษมีลาวัณ
- READ ซี. เอส. ลิวอิส
- READ พิมล กาฬสีห์
- READ จินตนา ปิ่นเฉลียว
- READ มากาเร็ต มิตเชลล์
- READ สันต์ เทวรักษ์
- READ เอมิลี่ บรองเต้
- READ อ.ไชยวรศิลป์
- READ บรรจบ พันธุเมธา
- READ มารี คอเรลลี
- READ แอล แฟรงค์ โบห์ม
- READ ดอกไม้สด
- READ เอโดงาวะ รันโป
- READ น.ม.ส
- READ วิกตอเรีย โฮลต์
- READ อ็องตวน เดอ แซ็งเต็กซูว์เปรี
- READ อ.สนิทวงศ์
- READ จันตรี ศิริบุญรอด
- READ ลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์
- READ น้อย ชลานุเคราะห์
- READ ไอแซก ไดนีเสน
- READ ศุภร บุนนาค