The Killing of a Chinese Bookie
โดย : ภาสกร ศรีศุข
นอกจากนวนิยายออนไลน์สนุกๆ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจากนักเขียนมากมายแล้ว อ่านเอายังมีเรื่องหนังมาเล่าให้อ่านในคอลัมน์ “อ่านเอาเล่าหนัง” โดย โอ่ง – ภาสกร ศรีศุข ผู้มีความสนใจในเรื่องภาพยนตร์และมีความรักในการอ่านการเขียน เขาจึงเขียนมาเล่าให้ชาวอ่านเอาได้อ่านออนไลน์
************************
The Killing of a Chinese Bookie
ผู้กำกับ : John Cassavetes
ผู้อำนวยการสร้าง : Al Ruban
ผู้เขียนบท : John Cassavetes
นักแสดง : Ben Gazzara, Timothy Agoglia Carey, Seymour Cassel, Azizi Johari
ดนตรีประกอบ : Bo Harwood
ผู้กำกับภาพ : Mitchell Breit, Al Ruban, Caleb Deschanel
ผู้ตัดต่อ : Tom Cornwell
เจ้าของไนต์คลับแห่งหนึ่ง ขณะชีวิตกำลังรุ่งโรจน์ชัชวาล ดันไปเล่นการพนันติดหนี้ก้อนโตมหาศาล ได้รับข้อเสนอปลดแอก แลกกับการฆาตกรรมชายชาวจีนคนหนึ่ง
ใครเคยรับชมผลงานของผู้กำกับ John Cassavetes คงรู้ซึ้งถึงความสนใจของชายคนนี้ เนื้อเรื่องราวหาใช่สาระสลักสำคัญใดๆ มีเพียงแค่การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์เท่านั้นที่ใคร่นำเสนอ
กล่าวคือ The Killing of a Chinese Bookie ไม่ใช่เรื่องราวของการก่ออาชญากรรม การค้นหาแรงผลักดันจูงใจ หรือการตั้งคำถามดี-ชั่ว ถูก-ผิด แต่คือภาพยนตร์นำเสนอพฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึก การแสดงออกของตัวละคร/เจ้าของไนต์คลับ สาเหตุที่มาจากความเย่อหยิ่งทะนงตน อวดดี โลภละโมบ เห็นแก่ตัว ยึดมั่นถือมั่นในเกียรติและศักดิ์ศรี กล้าเรื่องโง่ๆ และที่สุดคือการหลอกตัวเอง
ทำไมต้องเป็นชายชาวจีนที่กำลังจะถูกเข่นฆ่า นั่นคือโลกทัศนคติของชาวอเมริกันที่ถูกปลูกฝังอคติที่ว่าด้วยเรื่องของการจงเกลียดจงชังจากอดีตช้านาน พวกคนจีนเป็นตัวอันตราย ไชน่าทาวน์จึงเรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมความชั่วร้าย! ซึ่งบริบทของหนังมีลักษณะเชิงเปรียบเทียบกับ ‘ด้านมืดในจิตใจมนุษย์’ เพื่อให้สามารถเผชิญหน้า ก้าวข้ามผ่าน และสมควรถูกกำจัดทำลายให้ตายคามือ
ด้วยความตามมีตามเกิดของหนัง มีงบเมื่อไหร่ค่อยเรียกทีมงาน/นักแสดงมาถ่ายทำ ตากล้องเลยมักเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามคิวว่าง แต่มีการได้รับเครดิตสองคนคือ Mitchell Breit และ Al Ruban
วิธีการง่ายสุดของหนังอินดี้ทุนสร้างต่ำคือรับอิทธิพลจาก French New Wave โลกทั้งใบคือฉาก ทีมงานปริมาณน้อยนิด ถ่ายทำแบบ Guerrilla Unit ไม่ต้องตระเตรียมการอะไรมากมาย ส่วนใหญ่ใช้แสงธรรมชาติ เลือกกล้องขนาดเล็กน้ำหนักเบา สามารถยกขยับเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนโดยง่าย ตัวประกอบก็คนธรรมดาสามัญทั่วไป รวดเร็วฉับไว ช้าไม่ได้เดี๋ยวเงินหมด
ทิศทางการกำกับและการถ่ายภาพกล้องเน้นระยะโคลสอัพ จับจ้องใบหน้าตัวละคร ถือเป็นเอกลักษณ์ลายเซ็นของผู้กำกับ Cassavetes เพื่อให้ผู้ชมสามารถสังเกตการขยับเคลื่อนไหว ท่วงท่า สีหน้า แววตา จับมองเข้ามาถึงจิตวิญญาณตัวละคร นี่เรียกว่าเทคนิคการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์
ไนต์คลับ/บาร์เปลือย ว่าไปคล้ายๆ หนังเรื่อง Cabaret เป็นสัญลักษณ์ของโลกทั้งใบ การดำเนินไปของชีวิต ไม่ว่าเหตุการณ์เบื้องหลังอะไรจะบังเกิดขึ้น ทุกวันต้องมีการแสดงโชว์ต่อหน้าผู้ชม เรียกเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม สุข-ทุกข์ ดีใจ-เศร้าโศก
สาเหตุที่ต้องเต้นระบำโป๊เปลือย เปิดโชว์วับๆ แวมๆ ยั่วเย้ายวนแขกเหรื่อให้เกิดลีลาอารมณ์ นั่นเป็นการสะท้อนกับสื่อภาพยนตร์ที่มักนำเสนอเรื่องราวเบื้องลึก เปิดเผยบางสิ่งที่หลบซ่อนเร้นภายใน (จิตใจ) และเพื่อให้ผู้ชมเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบสนองออกมา
เมื่อพูดถึงหนังแนวอาชญากรรมต้องนึกถึงหนังนัวร์ ซึ่งเรื่องนี้จัดเต็มด้วยแสง สี เงามืด อาบปกคลุม บางครั้งบดบังเรือนร่าง/การกระทำวับๆแวมๆ (เหมือนระบำเปลื้องผ้า) สะท้อนสภาพจิตวิทยาตัวละครออกมา
อย่างช็อตที่หลังการปลดหนี้ เดินทางไปดื่มฉลองความสำเร็จ แต่ทั้ง Sequence กลับปกคลุมด้วยความมืดมิดครอบงำตัวละคร สาเหตุเพราะชีวิตของเขาต่อจากนี้ถือว่าไร้ซึ่งเป้าหมายปลายทางอีกต่อไป อิสรภาพมันช่างว่างเปล่า ไร้สีสัน มองไม่เห็นอะไร
สังเกตว่าหลายๆ ทิศทางการกำกับของหนัง ก็รับอิทธิพลจาก Cabaret ด้วยเช่นกัน อาทิ มุมกล้องด้านหน้า-ด้านหลังเวที การจัดแสงสี โดยเฉพาะซาวนด์เอฟเฟ็กต์ ผู้ชมส่งเสียง-โห่-ปรบมือ ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างการแสดง ฯ
ตัวละคร Mr. Sophistication เปรียบเสมือนอีกด้านหนึ่ง อวตาร ตัวตนแท้จริงของ Cosmo Vittelli ที่มิอาจเปิดเผยออกมาให้ใครเห็น เลยมอบหมายให้ชายคนนี้กลายเป็นนักแสดงบนเวที ผู้ชมต่างขบขันทั้งๆ ที่ไม่ได้มีความน่าหัวร่อแม้แต่น้อย
ห้ากุ๊ยมาเฟียถือเป็นสัญลักษณ์ความชั่วร้ายด้านมืดภายในจิตใจที่พยายามกีดกั้นขวาง สร้างอิทธิพลครอบงำเพื่อไม่ให้ Cosmo Vittelli ได้รับอิสรภาพ ชัยชนะ หรือพบเจอแสงสว่างแห่งชีวิต
ซึ่งหลังจากปฏิบัติภารกิจมอบหมายสำเร็จ การถูกหักตลบหลัง สะท้อนถึงการดิ้นรนของความชั่วร้าย ด้านมืดภายในจิตใจ กิเลสมารผู้ไม่ยินยอมพ่ายแพ้ หลุดจากพันธนาการฝังลึกในจิตใจคนโดยง่าย
สำหรับชายชาวจีน อย่างที่บอกไปคือสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย เพราะหนังไม่อธิบายเบื้องหลังตัวละครจนกระทั่งถูกฆาตกรรมสำเร็จ แสดงถึงการเหมารวมทางเชื้อชาติ ความรังเกียจเหยียดเชื้อชาติของชาวอเมริกันที่มีต่อคนผิวเหลือง
สถานที่ตายของชายชาวจีนคือห้องอาบน้ำ สัญลักษณ์ของการชะล้างสิ่งโสโครก สกปรกโสมม หรือด้านมืดภายในจิตใจมนุษย์ เมื่อสามารถทำการเข่นฆ่าทำลายล้าง ก็ย่อมบริสุทธิ์ใสสะอาด ราวกับทารกแรกเกิดใหม่
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ‘A Show Must Go On’ ขนาดว่าต้องเดินทางไปเข่นฆ่าชายชาวจีน ยังโทรศัพท์มาติดตามการแสดงที่ไนต์คลับ หรือตอนถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ยังดิ้นรนมาทำงานเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น!
ช่วงท้ายมีการนำเสนอชุดการแสดงใหม่ ถือว่าสะท้อนปิดฉากเรื่องราวเดิม ชีวิตก้าวข้ามผ่านอุปสรรคปัญหา เอาชนะด้านมืดของตนเอง (หนึ่งในนักแสดงสาวผิวสี/ตัวแทนด้านมืดของตนเองได้เลิกราออกจากคณะ) นับแต่นี้จึงเหมือนการเริ่มต้นนับหนึ่งก้าวสู่อนาคตที่สดใส… หรือเปล่านะ
เท่าที่ผู้เขียนสังเกตเห็น หนังจะไม่มี Establishing Shot มาถึงก็เริ่มต้นเลยไม่มีอารัมภบท ค่อยๆ เปิดเผยเรื่องราวทีละเล็กละน้อย ผู้ชมต้องปะติดปะต่อจิ๊กซอว์ เศษขนมปัง ที่เรียงรายเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด ไล่ลำดับจากนอกร้าน ยืนประกาศหลังเวที ตอนเช้ามีการออดิชัน จากนั้นถึงค่อยพบเห็นบรรยากาศในร้านยามค่ำคืน การแสดงระบำโป๊เปลือย พูดคุยกับทีมงาน และนักดนตรีโผล่มาท้ายสุดเลย (สำหรับการแสดงชุดใหม่)
The Killing of a Chinese Bookie คือเรื่องราวของคนที่มีความเพ้อใฝ่ฝัน สามารถเติมเต็มสำเร็จลุล่วง แต่แล้วดันหลงระเริงปล่อยตัวปล่อยใจ เป็นเหตุให้หวนย้อนสู่จุดเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ตะเกียกตะกาย ดิ้นรนแหวกว่าย ต้องการไต่เต้ากลับยังสรวงสวรรค์อีกครั้ง
หลายๆ คนคงรับรู้ได้ Cosmo Vittelli คือตัวแทนผู้กำกับ John Cassavetes ความเพ้อใฝ่ฝันของเขาคือการสร้างภาพยนตร์ในรสนิยมของตนเอง แต่กลับถูกกีดขวางโดยมาเฟีย ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเทียบแทนด้วยระบบสตูดิโอฮอลลีวูด หลังจากเป็นมือปืนรับจ้าง (ได้รับมอบหมายสร้างภาพยนตร์) ถูกทรยศหักหลัง (โดนโปรดิวเซอร์ฉกแย่งชิงโปรเจกต์ไปตัดต่อและโพสต์โปรดักชันโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของตนเอง) สร้างร่องรอยบาดแผลกระสุนฝังใน (สัญลักษณ์ของการจดจำฝังใจไม่รู้ลืม) แต่ชีวิต/ไนต์คลับ จำต้องดำเนินเดินต่อไป (The Show Must Go On!)
การศึกษาพฤติกรรมตัวละครของหนังแท้จริงแล้วก็คือสภาพจิตใจของ John Cassavetes ที่เอ่อล้นด้วยความภาคภูมิใจในอาชีพการงาน สามารถเป็นมือปืนรับจ้างปฏิบัติภารกิจสำเร็จลุล่วง แต่วิธีจัดการมาเฟียที่ทรยศหักหลังเขานั่นคือจินตนาการทางอารมณ์ มิสามารถแสดงออกและกระทำอะไรได้ในชีวิตจริง (คือจะให้ Cassavetes ไปดักซุ่มทำร้ายโปรดิวเซอร์ที่ฉกแย่งชิงหนังไปจากตนเอง นั่นก็ไม่ใช่เรื่องแล้ว!)
อธิบายมาถึงตรงนี้คงเห็นภาพชัดถึงความเป็น ‘ศิลปิน’ ของผู้กำกับ John Cassavetes สร้างภาพยนตร์เพื่อสนองตัณหา และความต้องการส่วนตนเองเท่านั้น สไตล์ลายเซ็นโดดเด่นชัดเจน ก็อยู่ที่ศักยภาพของผู้ชมเองว่าจะสามารถทำความเข้าใจหนังได้ลึกซึ้งประมาณไหน
ส่วนตัวชื่นชอบหนังเรื่องนี้มากๆ ประทับใจความบ้าๆ บอๆ ของ Mr. Sophistication และอารมณ์อันซับซ้อนของ Cosmo Vittelli บีบขยี้ ขย้ำหัวใจ จะเอาตัวรอดจนจบได้ไหม… ก็ไม่รู้เหมือนกัน
- READ Gangubai Kathiawadi
- READ In the Mood for Love
- READ Pain and Glory
- READ Singin’ in the Rain
- READ Sonic the Hedgehog
- READ The Invisible Man
- READ The Meg
- READ Unhinged
- READ Exit
- READ Encanto
- READ Sky of Love
- READ Still Human
- READ The Curse of the Weeping Woman
- READ The Nun
- READ Yesterday
- READ Rocketman
- READ Ocean’s 8
- READ Greenland
- READ Bird Box
- READ Hula Girls
- READ The Outpost
- READ It Happened One Night
- READ Joker
- READ Soylent Green
- READ My Fair Lady
- READ The Babadook
- READ The Bride Wore Black
- READ There will be Blood
- READ Waterloo Bridge
- READ The Arrival of a Train at La Ciotat
- READ The Philadelphia Story
- READ Brief Encounter
- READ Incident in a Ghostland
- READ Dolemite Is My Name
- READ I Kill Giants
- READ As Good as It Gets
- READ Belle de Jour
- READ Andrei Rublev
- READ Monster Hunter
- READ The Climb
- READ The Conjuring : The Devil Made Me Do It
- READ Cruella
- READ A Woman Under the Influence
- READ Ivan’s Childhood
- READ Loki
- READ Repulsion
- READ The Tenant
- READ Chinatown
- READ Promising Young Woman
- READ Rosemary’s Baby
- READ The Man Who Fell to Earth
- READ Tom and Jerry
- READ Walkabout
- READ Harold and Maude
- READ Comrades: Almost a Love Story
- READ The Killing of a Chinese Bookie
- READ Being There
- READ Burning
- READ Better Days
- READ The Poseidon Adventure
- READ Don’t Look Now
- READ The Manchurian Candidate
- READ Midnight Cowboy
- READ The Firm
- READ Ammonite
- READ Charlie Wilson’s War
- READ Soul
- READ Tootsie
- READ Close Encounters of the Third Kind
- READ Dog Day Afternoon
- READ Crazy Rich Asians
- READ 1917
- READ Closer
- READ The Shining (1980)
- READ We Are X
- READ Last Christmas
- READ Breakfast at Tiffany’s
- READ Call Me by Your Name
- READ The Impossible
- READ Gravity
- READ The Last Five Years
- READ The Eight Hundred
- READ A Beautiful Day in the Neighborhood