The Arrival of a Train at La Ciotat

The Arrival of a Train at La Ciotat

โดย : ภาสกร ศรีศุข

Loading

นอกจากนวนิยายออนไลน์สนุกๆ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจากนักเขียนมากมายแล้ว อ่านเอายังมีเรื่องหนังมาเล่าให้อ่านในคอลัมน์  “อ่านเอาเล่าหนัง” โดย โอ่ง – ภาสกร ศรีศุข ผู้มีความสนใจในเรื่องภาพยนตร์และมีความรักในการอ่านการเขียน เขาจึงเขียนมาเล่าให้ชาวอ่านเอาได้อ่านออนไลน์

************************

ผู้กำกับ : Auguste Lumière, Louis Lumière

ผู้อำนวยการสร้าง : Auguste Lumière, Louis Lumière

ผู้กำกับภาพ : Louis Lumière

ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่สร้างโดยพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumière) ชาวฝรั่งเศส นำออกฉายครั้งแรกที่ปารีสในปี ค.ศ.1895 ใช้เวลาในการฉายเพียงแค่ 50 วินาทีเท่านั้น

‘The Arrival of a Train at La Ciotat’ เนื้อเรื่องอาจจะไม่มีอะไรมากเพราะเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นในสมัยนั้น แต่ก็คงทำให้ผู้คนฮือฮาน่าดู คิดแล้วตื่นเต้นจังเลยถ้าได้อยู่ในอารมณ์ของสมัยนั้น

ภาพยนตร์เงียบๆ 50 วินาทีนี้แสดงรายการรถไฟลากจูงโดยรถจักรไอน้ำเข้าสู่ชานชาลา La Ciotat สถานีรถไฟของเมืองชายฝั่งทะเล La Ciotat ของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับภาพยนตร์ Lumière ต้นๆ The Arrival of a Train at La Ciotat ประกอบไปด้วยภาพเดียวที่ไม่มีการตัดต่อซึ่งแสดงให้เห็นแง่มุมของชีวิตประจำวัน ไม่มีการเคลื่อนที่ของกล้องอย่างเห็นได้ชัดและภาพยนตร์ประกอบด้วยการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเรียลไทม์

สำหรับความเป็นมาของภาพยนตร์นั้น ผู้ที่คิดประดิษฐ์ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี ดิกสัน (William Kennedy Dickson) เมื่อ ค.ศ. 1889 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า ‘คิเนโตสโคป’ (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า ‘ถ้ำมอง’ มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ทีละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kinetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที

ต่อมาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า ‘ซีเนมาโตกราฟ’ (Cinematograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1896 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า ‘ซีเนมา’ (Cinema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน

ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี ค.ศ. 1895 โดยความร่วมมือระหว่าง โทมัส อาร์แมต (Thomas Armat) ซี ฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่าไบโอกราฟ (Biograph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่งทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปะการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา

Don`t copy text!