Charlie Wilson’s War
โดย : ภาสกร ศรีศุข
นอกจากนวนิยายออนไลน์สนุกๆ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจากนักเขียนมากมายแล้ว อ่านเอายังมีเรื่องหนังมาเล่าให้อ่านในคอลัมน์ “อ่านเอาเล่าหนัง” โดย โอ่ง – ภาสกร ศรีศุข ผู้มีความสนใจในเรื่องภาพยนตร์และมีความรักในการอ่านการเขียน เขาจึงเขียนมาเล่าให้ชาวอ่านเอาได้อ่านออนไลน์
*************************
Charlie Wilson’s War
ผู้กำกับ : Mike Nichols
ผู้อำนวยการสร้าง : Tom Hanks, Gary Goetzman
ผู้เขียนบท : Aaron Sorkin
อ้างอิงจากนวนิยายเรื่อง Charlie Wilson’s War โดย George Crile
นักแสดง : Tom Hanks, Julia Roberts, Philip Seymour Hoffman, Amy Adams, Ned Beatty
ดนตรีประกอบ : James Newton Howard
ผู้กำกับภาพ : Stephen Goldblatt
ผู้ตัดต่อ : John Bloom, Antonia Van Drimmelen
“ชาร์ลี วิลสัน” ตายแล้ว…
แม้การตายของเขาจะไม่ได้ทำให้โลกสะท้านสะเทือนอะไรมากนัก แต่ก็มีความหมายสลักสำคัญมิใช่น้อย เพราะบทบาทของวิลสันในสมัยที่เขายังหนุ่มแน่นและดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภารัฐเทกซัสของสหรัฐอเมริกาเป็นประเด็นให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ถกเถียงกันไม่สิ้นสุดว่าควรจะจดจำเขาไว้ในฐานะอะไร…
บ้างก็ว่า ชาร์ลี วิลสัน คือ ‘นักการเมืองเจ้าสำราญ’ เจ้าของฉายา Good Time Charlie ผู้มีชีวิตโลดโผนเต็มไปด้วยสีสัน หรือเป็น ‘วีรบุรุษชาวอเมริกัน’ ผู้ช่วยให้นักรบมูจาฮิดีนขับไล่กองทัพสหภาพโซเวียตอันโหดร้ายป่าเถื่อนไปจากอัฟกานิสถาน ขณะที่บางคนมองเขาเป็นผู้จุดชนวนสงครามในต่างแดน และเป็นผู้ปลดปล่อย ‘ปีศาจร้าย’ ให้หลุดออกสู่โลกยุคหลังสงครามเย็น…
แต่ที่แน่ๆ … ช่วงชีวิตหนึ่งของ ชาร์ลี วิลสัน ถูกถ่ายถอดออกมาเป็นหนังฮอลลีวูดเรื่อง Charlie Wilson’s War ซึ่งออกฉายเมื่อปี 2550 และเป็นผลงานของผู้กำกับ ไมค์ นิโคลส์ พูดถึงปฏิบัติการลับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์แก่นักรบชาวอัฟกานิสถานที่ต่อต้านการบุกเข้ายึดครองของกองทัพสหภาพโซเวียดระหว่างปี 2522-2533
หนังเข้าฉายในบ้านเราอย่างเงียบๆ ไม่ได้มีกระแสอะไรหนุนส่งให้โด่งดังตามสื่อต่างๆ มากนัก แต่หนังก็ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบนเวทีออสการ์ปี 2551 หลายสาขาด้วยกัน แถมยังได้นักแสดงนำที่มีภาพลักษณ์ดีอย่าง ‘ทอม แฮงก์ส’ มารับบท ‘ชาร์ลี วิลสัน’ ตามด้วย ‘จูเลีย โรเบิร์ตส์’ รับบท ‘โจแอนน์ แฮร์ริ่ง’ สาวสังคมอนุรักษ์นิยมซึ่งมีตัวตนจริงอีกเช่นกัน และเป็นคนสำคัญอีกคนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการลับในสงครามอัฟกานิสถานครั้งที่ 1
เมื่อชาร์ลี วิลสัน ‘ตัวจริง’ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2553 ก็เป็นโอกาสให้ใครหลายคนได้ทบทวนประวัติศาสตร์กันอีกรอบผ่านการอ่านคำอุทิศและข่าวคราวการเสียชีวิตของวิลสันตามสื่อต่างๆ ทางฝั่งอเมริกาและยุโรป และหนัง Charlie Wilson’s War ก็ถูกหยิบยกมาวิพากษ์ใหม่ด้วย
เนื้อหนังบอกเล่าเรื่องราวการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง และการต่อสู้ของอุดมการณ์ต่างขั้วระหว่างเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมในดินแดนเสรีประชาธิปไตยนามว่า ‘สหรัฐอเมริกา’ และแนวทางการพลีชีพปกป้องมาตุภูมิของบรรดานักรบมูจาฮีดินที่ต่อสู้เพื่อดินแดนอัฟกานิสถาน แต่ที่ถูกขุดคุ้ยลึกลงไปกว่านั้นคือการชี้เป้าว่าบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปแทรกแซงการเมืองภายในประเทศต่างๆ นั้นส่งผลอย่างไร
ในความทรงจำเลือนลางยุคสงครามเย็น ‘สหภาพโซเวียต’ เคยเป็นเสาหลักในโลกคอมมิวนิสต์ คอยคัดง้างกับมหาอำนาจในโลกทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งหวาดผวาว่ากองทัพแดงของบรรดาสหายทั้งหลายจะยึดกุมพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกจนคุกคามเสถียรภาพของทุนนิยมและประชาธิปไตยให้สั่นคลอน ผู้นำรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในยุคนั้นจึงพยายาม ‘เตะตัดขา’ ปิดกั้นหนทางแพร่ระบาดของลัทธิคอมมิวนิสต์ในทุกวิถีทาง
ไม่ว่าจะเป็นยุคอดีตประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ หรือยุคของ โรนัลด์ เรแกน รัฐบาลของผู้นำทั้งสองล้วนให้ความสนใจกับการรุกคืบของโซเวียดเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียใต้ จึงได้มีการออกคำสั่งอย่างลับๆ ภายในรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้หน่วยข่าวกรองและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจับตาดูความเคลื่อนไหวในอัฟกานิสถานให้ดี
เมื่อโซเวียตเคลื่อนกองทัพเข้าสู่อัฟกานิสถานเพื่อบุกเข้ายึดครองเบ็ดเสร็จ และจัดตั้ง ‘รัฐบาลหุ่นเชิด’ ของประธานาธิบดี บาบรุค คาร์มาล ขึ้นครองประเทศในปี 2523 ทำให้ ชาร์ลี วิลสัน ซึ่งมีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมค่ายผู้อพยพลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานบริเวณชายแดนปากีสถานเกิดความตั้งใจแรงกล้าที่จะช่วยชาวอัฟกานิสถาน ‘ขับไล่’ กองทัพโซเวียตออกไป
วิลสันกลายเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการต่อรอง จัดสรร และใช้วิธีตุกติกต่างๆ โน้มน้าวให้รัฐบาลยอมอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือประชาชนในอัฟกานิสถาน และได้ความสนับสนุนจากสาวสังคมคนดังในฮุสตันอย่าง ‘โจแอนน์ แฮร์ริง’ เป็นตัวกลางแนะนำให้รู้จักกับคนดังในแวดวงต่างๆ เพื่อช่วยต่อยอดภารกิจช่วยเหลือชาวอัฟกานิสถานให้สำเร็จเสร็จสิ้น
แต่ผู้วางแผนปฏิบัติการที่สำคัญอีกคนหนึ่งคือ ‘กัสต์ อะฟราโคโทส’ เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองที่ได้รับฉายา Mr. Dirty ในฐานะผู้ผลักดันให้ ‘ปฏิบัติการไซโคลน’ เป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งในหนังได้ ‘ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน’ มารับบทบาทนี้
ปฏิบัติการไซโคลนถูกอ้างถึงในรายงานด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นปฏิบัติการลับครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐอเมริกา และใช้เงินไปกว่าหมื่นล้านดอลลาร์ฯ เพื่อสนับสนุนด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองกำลังนักรบมูจาฮีดินซึ่งต่อต้านโซเวียต และทำสงครามในนามของพระเจ้าเพื่อนำอัฟกานิสถานไปสู่หนทางการเป็นรัฐอิสลามเต็มรูปแบบ
อาจเป็นไปได้ว่าในยุคที่สหรัฐอเมริกากำลังต่อสู้กับโซเวียตซึ่งไม่เชื่อมั่นศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า การให้ความสนับสนุนแก่กลุ่มนักรบซึ่งประกาศตัวว่ายอมอุทิศตนเพื่อศาสนาคงเป็นเรื่องซึ่งยอมรับได้ง่ายกว่าสำหรับคนในประเทศที่พิมพ์ข้อความลงไปในธนบัตรว่า ‘In God We Trust’
เรื่องราวในหนังทำให้เรามองเห็นการสู้รบแบบกองโจรของกลุ่มมูจาฮีดิน สลับกับวิธีเจรจาต่อรองหลอกล่อแบบนอกกรอบของวิลสัน ไม่ว่าจะเป็นการพานักเต้นระบำหน้าท้องไปร่วมวงคุยกับผู้นำการเมืองเพราะหวังเบี่ยงเบนความสนใจ หรือการโน้มน้าวให้พ่อค้าอาวุธชาวยิวยอมขายของให้กับชาวมุสลิมที่เป็นปฏิปักษ์กันมานาน และการยื่นหมูยื่นแมวกับเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาให้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนอนุมัติงบช่วยเหลือชาวอัฟกานิสถานเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่วิลสันจะลงคะแนนคัดค้านการตรวจสอบพฤติกรรมทุจริตของอีกฝ่ายแทน
เราจึงได้เห็นการหลับตาข้างเดียว ทำเป็นลืมๆ เรื่องการตรวจสอบ การถ่วงดุล และการคานอำนาจ เพื่อให้เกิดการสมดุลของประโยชน์ทางการเมือง และเอ่ยอ้างว่าจำเป็นต้องยอมเบนหลักการเพื่อมุ่งสู่ผลลัพธ์อันยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งในหนังเป็นการเอ่ยถึง ‘อิสรภาพ’ ของชาวอัฟกานิสถาน แม้ว่ามันจะนำไปสู่การต่อสู้ถึงเลือดถึงเนื้อยืดเยื้อยาวนานตั้งแต่ปี 2526-2533 และทำให้ชาวอัฟกานิสถานหลายแสนคนต้องอพยพบ้านแตกไปทั่วโลก
ขณะที่ช่วงท้ายๆ ของหนัง (และความเป็นจริงช่วงท้ายๆ ของเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต) ได้ตีแผ่ความจอมปลอมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่สั่งตัดงบประมาณช่วยเหลือเยียวยาชาวอัฟกานิสถานทิ้งทันทีที่โซเวียดยอมถอนทหารออกไปจากดินแดนอัฟกานิสถาน ไม่เว้นแม้แต่งบประมาณสร้างโรงเรียนหรือฟื้นฟูระบบการศึกษาทั้งที่วิลสันและอะฟราโคโทสพยายามต่อรองโน้มน้าวคนในรัฐบาลทุกวิถีทางแล้วเช่นกัน
ชาร์ลี วิลสัน จึงรำพึงรำพันในตอนท้ายของหนังว่า ‘เราทำทุกอย่างพังในตอนจบ’ เพราะแทนที่จะสานต่อภารกิจให้ลุล่วงด้วยการเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างกลุ่มกองกำลังต่างๆ เพื่อหาข้อตกลงแนวทางสันติภาพที่จะนำไปสู่การก่อตั้งรัฐบาลหรือการวางรูปแบบการปกครองที่ประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รัฐบาลสหรัฐอเมริกากลับตีจากและไม่สนใจที่จะเข้าไปดูดำดูดีอะไรอีก เพราะเป้าหมายหลักในการกำจัดศัตรูตัวฉกาจอย่างโซเวียตถือว่าสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว
ชะตากรรมของชาวอัฟกานิสถานที่ต้องดิ้นรนกันต่อท่ามกลางเศษซากสงครามทำให้กองกำลังติดอาวุธ (ที่ได้มาจากสหรัฐอเมริกา) ตั้งตัวเป็นกลุ่มอำนาจต่างๆ และแย่งชิงการเป็นผู้นำ ขณะที่กองกำลังตาลีบันและ โอซามา บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอัล เคดา ซึ่งกลายเป็นศัตรูตัวฉกาจของสหรัฐอเมริกายุคหลังสหัสวรรษก็เริ่มก่อร่างสร้างแนวร่วมในช่วงเวลาเดียวกันนี้… ที่ดินแดนอัฟกานิสถาน…
สงครามของ ชาร์ลี วิลสัน ในหนังของ ไมค์ นิโคลส์ จบลงตรงที่สมาชิกวุฒิสภาชาร์ลีเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้ขึ้นรับเหรียญเกียรติยศจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฐานะที่เป็นผู้ผลักดันให้สงครามอัฟกานิสถานยุติลง แต่เมื่อวิลสันตัวจริงเสียชีวิตลง บทบรรณาธิการของนิตยสาร ไทม์ส ในลอนดอนกลับกล่าวถึงบทบาทของวิลสันในฐานะที่เป็น ‘ผู้ปลดปล่อยปีศาจร้าย’ ซึ่งกำลังหลอกหลอนกองทัพสหรัฐอเมริกาและกองทัพพันธมิตรอย่างหนักจนต้องประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายมาจนถึง ณ ปัจจุบันขณะ
เช่นเดียวกับที่จำนวนทหารอเมริกันและทหารของกองกำลังนาโตถูกส่งไปรบใน ‘สงครามอัฟกานิสถาน’ (รอบใหม่) มีจำนวนมากมากตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
หากวิลสันเป็นผู้ปลดปล่อยปีศาจร้าย… มีใครอีกบ้างที่ควรทบทวนบทบาทในฐานะผู้หลอเลี้ยงให้ปีศาจยังดำรงความเกลียดชังอยู่ได้ด้วยนโยบายการเมืองและการต่างประเทศที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาลเพียงอย่างเดียว
- READ Gangubai Kathiawadi
- READ In the Mood for Love
- READ Pain and Glory
- READ Singin’ in the Rain
- READ Sonic the Hedgehog
- READ The Invisible Man
- READ The Meg
- READ Unhinged
- READ Exit
- READ Encanto
- READ Sky of Love
- READ Still Human
- READ The Curse of the Weeping Woman
- READ The Nun
- READ Yesterday
- READ Rocketman
- READ Ocean’s 8
- READ Greenland
- READ Bird Box
- READ Hula Girls
- READ The Outpost
- READ It Happened One Night
- READ Joker
- READ Soylent Green
- READ My Fair Lady
- READ The Babadook
- READ The Bride Wore Black
- READ There will be Blood
- READ Waterloo Bridge
- READ The Arrival of a Train at La Ciotat
- READ The Philadelphia Story
- READ Brief Encounter
- READ Incident in a Ghostland
- READ Dolemite Is My Name
- READ I Kill Giants
- READ As Good as It Gets
- READ Belle de Jour
- READ Andrei Rublev
- READ Monster Hunter
- READ The Climb
- READ The Conjuring : The Devil Made Me Do It
- READ Cruella
- READ A Woman Under the Influence
- READ Ivan’s Childhood
- READ Loki
- READ Repulsion
- READ The Tenant
- READ Chinatown
- READ Promising Young Woman
- READ Rosemary’s Baby
- READ The Man Who Fell to Earth
- READ Tom and Jerry
- READ Walkabout
- READ Harold and Maude
- READ Comrades: Almost a Love Story
- READ The Killing of a Chinese Bookie
- READ Being There
- READ Burning
- READ Better Days
- READ The Poseidon Adventure
- READ Don’t Look Now
- READ The Manchurian Candidate
- READ Midnight Cowboy
- READ The Firm
- READ Ammonite
- READ Charlie Wilson’s War
- READ Soul
- READ Tootsie
- READ Close Encounters of the Third Kind
- READ Dog Day Afternoon
- READ Crazy Rich Asians
- READ 1917
- READ Closer
- READ The Shining (1980)
- READ We Are X
- READ Last Christmas
- READ Breakfast at Tiffany’s
- READ Call Me by Your Name
- READ The Impossible
- READ Gravity
- READ The Last Five Years
- READ The Eight Hundred
- READ A Beautiful Day in the Neighborhood