In the Mood for Love
โดย : ภาสกร ศรีศุข
นอกจากนวนิยายออนไลน์สนุกๆ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจากนักเขียนมากมายแล้ว อ่านเอายังมีเรื่องหนังมาเล่าให้อ่านในคอลัมน์ “อ่านเอาเล่าหนัง” โดย โอ่ง – ภาสกร ศรีศุข ผู้มีความสนใจในเรื่องภาพยนตร์และมีความรักในการอ่านการเขียน เขาจึงเขียนมาเล่าให้ชาวอ่านเอาได้อ่านออนไลน์
ผลงานสุดเหงาเรื่องที่ 7 ของผู้กำกับ หว่องกาไว กับการเล่าเรื่องความรักของชายหญิง ภายใต้ฉากหลังของฮ่องกงในปี 1962 ที่ต้องติดกับอยู่ความผิดต่อจารีตประเพณีโจวหมู่หวัน รับบทโดย เหลียงเฉาเหว่ย ย้ายมายังฮ่องกงพร้อมภรรยาของเขา พร้อมกับๆ ครอบครัวของ ซูวไหล่เจิน รับบทโดย จางหมั่นอวี้ ที่เดินทางมาฮ่องกงพร้อมกับสามีของเธอ ทั้ง 2 ครอบครัวนี้ย้ายเข้ามาอยู่ในห้องพักข้างๆ ติดกัน และย้ายของมาในวันเดียวกัน เราจะทราบแต่เริ่มเรื่องเลยว่า ตัวละครทั้งสองอยู่ในฐานะของคนที่มีคู่สมรสแล้ว ฝ่ายหญิงมีบริษัทตั๋วส่งสินค้าเดินทาง ส่วนฝ่ายชายเป็นนักข่าว หว่องกาไว เล่นตลกกับคนดู โดยการแสดงตัวตนของคู่รักของทั้งสองผ่านเพียงแสงเงาและเสียงพูด ไม่ได้เจาะจงให้เห็นตัวตนแต่อย่างใด
สามีของซูวนั้นมีธุระเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้ง ทำให้เธอใช้เวลาว่างอยู่ในห้อง และทำอะไรคนเดียวเป็นประจำ ส่วนทางด้านภรรยาของโจวหมู่หวันนั้นก็มักจะทำงานกะดึก ตำแหน่งพนักงานต้อนรับแขกในโรงแรมแห่งหนึ่งแทบไม่มีเวลาให้สามี
จนกระทั่งเรื่องดำเนินไปจุดหนึ่ง โจวหมู่หวันและซูวไหล่เจินเริ่มเห็นตรงกันว่าสามีและภรรยาของทั้งคู่มีความลับบางอย่างในเชิงชู้สาว เป็นพิรุธ ทั้งคู่เริ่มค้นหาความจริงเกี่ยวกับการนอกใจในคู่ของตัวเอง โจวหมู่หวันตั้งใจไปหาภรรยาในตอนเย็นเพื่อนัดทานข้าว และพิสูจน์บางสิ่ง ภรรยาของเขานั้นกลับเลิกงานไปนานแล้ว และสามีของซูวนั้นก็มีความลับซุกซ่อน ทั้งเหตุหลายๆ สิ่งที่ทำให้เธอระแคะระคาย จนคนทั้งสองพอจะคาดเดาความจริงได้เกี่ยวกับคู่ของตน
เมื่อคนที่กำลังเจ็บปวด 2 คนต้องเห็นใจกัน ความรักก็มักจะเกิดขึ้น แต่ผิดเวลาไปหน่อย เมื่อจารีตประเพณีสมัยนั้นไม่อำนวยนักกับการที่จะเลิกลา แล้วแต่งงานใหม่ได้อย่างสบายใจเหมือนทุกวันนี้ ประกอบกับจังหวะหลายสิ่งภายในตึกอันคับแคบที่หลากพ่อพันแม่ ที่ยังยืนกรานในจารีตประเพณีเดิม สามารถจะซ้ำเติมความสัมพันธ์ของคนที่รักันที่เจ็บเหมือนกันที่น่าเห็นใจ 2 คนนี้ได้ตลอด การแสดงตัวว่ากำลังพูดคุย หรือเห็นใจกันในบ้านกลับเป็นสิ่งที่ยากยิ่งในสายตา และจารีตแบบนี้ นั่นคือเหตุผลที่ภรรยาและสามีของทั้งคู่ต้องออกไปคบกันข้างนอก
สำหรับผู้เขียน In the Mood for Love คืออีกหนึ่งชิ้นงานที่เป็นตัวอย่างความสำคัญของบทภาพยนตร์ ความสำคัญของภาพ เสียง สิ่งทั้งหลายที่การอ่านนิยายไม่สามารถมอบให้คุณได้ พลอตหนังและเนื้อเรื่องแทบไม่มีอะไรเลย สามีภรรยาสองคู่ย้ายมาอยู่ห้องติดกัน ทั้งสองคนสงสัยว่าคู่รักตัวเองแอบนอกใจไปคบชู้กัน ก็เลยเกิดพื้นที่ว่างที่ทั้งสองคนต้องอยู่คนเดียว แค่นี้จริงๆ แต่ด้วยพลังของบทภาพยนตร์ การแสดงและดนตรีประกอบ ทำให้หนังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของหนังออกมาได้เหงา ซับซ้อนและสับสนได้อย่างยอดเยี่ยม
หลายฉากในหนังเลือกจะใช้การฉายภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรีอย่างเดียว โดยไม่มีเสียงตัวละครหรือบทสนทนาแทรกเข้ามาแต่อย่างใด เป็นอีกจุดที่คิดว่าทำให้เห็นพลังของบทภาพยนตร์ฉายภาพความรู้สึกตัวละครได้อย่างยอดเยี่ยม
สิ่งสำคัญของ In the Mood for Love อีกอย่างที่น่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ได้ติดทำเนียบ Criterion ก็คือความเป็นหนังย้อนยุค สภาพสังคมฮ่องกงในยุค 1960s เฉพาะชุดกี่เพ้า Mrs. Chan นี่ก็เป็นร้อยแล้ว เปลี่ยนทุกวัน แล้วก็เรื่องอาหารการกินในฮ่องกง สภาพความเป็นอยู่สมัยนั้น หนังทำฉากพื้นหลังตรงนี้ออกมาได้ดีเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของตัวละคร
การตัดต่อและจังหวะของหนังเรียกว่าแทบจะโดดออกจากกันเลย จุดสังเกตของคนดูว่าเหตุการณ์เปลี่ยนวันแล้วคือ กี่เพ้าของ Mrs. Chan เปลี่ยนทุกวัน กี่เพ้าสวยๆ ทั้งนั้นเลย ดูหนังแล้วอยากเห็นคนใส่กี่เพ้ากันเยอะๆ ชอบกี่เพ้าในเรื่องมาก สรรหาแต่ละตัวสวยๆ ทั้งนั้น ประทับใจสุดๆ
ที่ชอบมากๆ อีกอย่างคือดนตรีประกอบมันสร้างอารมณ์ร่วมกับหนังและเป็นตัวผลักดันให้ภาพในหนังสื่อความหมายที่ต้องการได้ชัดเจนมากขึ้น จังหวะการเล่นเสียงไวโอลินในหนัง ให้อารมณ์เหงาๆ มากเลย
สุดท้ายจุดเด่นของหนังที่อยากจะพูดถึงก็คือความไม่ชัดเจนของหนังที่เปิดกว้างให้คนดูได้ใช้ประสบการณ์ตัวเองตีความสัมพันธ์ของตัวละคร แม้กระทั่งตอนจบหนังก็ไม่ได้เฉลยว่าเรื่องราวในส่วนที่หนังไม่ได้บอกนั้นเป็นอย่างไร ความลับก็ยังคงอยู่ในใจตัวละคร
ส่วนนักแสดงนำทั้งสองไม่พูดถึงสักนิดคงไม่ได้ Maggie Cheung คงเสน่ห์ในชุดกี่เพ้าได้อย่างน่าจดจำในทุกฉากที่เธอปรากฎตัว เช่นกันกับ เหลียงเฉาเหว่ย ในเรื่องนี้นอกจากการแสดงที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม บุคลิกของตัวละครยังส่งให้หนังน่าติดตามอีกด้วย เป็นการจับคู่กันที่เยี่ยมมาก
In the Mood for Love งานสะท้อนภาพสังคมฮ่องกงยุค 1960s ในบรรยากาศโรแมนติกเหงาๆ ท่ามกลางความสับสนของตัวละคร ผลงานคุณภาพจาก หว่องกาไว ยกนิ้วให้เลย
- READ Gangubai Kathiawadi
- READ In the Mood for Love
- READ Pain and Glory
- READ Singin’ in the Rain
- READ Sonic the Hedgehog
- READ The Invisible Man
- READ The Meg
- READ Unhinged
- READ Exit
- READ Encanto
- READ Sky of Love
- READ Still Human
- READ The Curse of the Weeping Woman
- READ The Nun
- READ Yesterday
- READ Rocketman
- READ Ocean’s 8
- READ Greenland
- READ Bird Box
- READ Hula Girls
- READ The Outpost
- READ It Happened One Night
- READ Joker
- READ Soylent Green
- READ My Fair Lady
- READ The Babadook
- READ The Bride Wore Black
- READ There will be Blood
- READ Waterloo Bridge
- READ The Arrival of a Train at La Ciotat
- READ The Philadelphia Story
- READ Brief Encounter
- READ Incident in a Ghostland
- READ Dolemite Is My Name
- READ I Kill Giants
- READ As Good as It Gets
- READ Belle de Jour
- READ Andrei Rublev
- READ Monster Hunter
- READ The Climb
- READ The Conjuring : The Devil Made Me Do It
- READ Cruella
- READ A Woman Under the Influence
- READ Ivan’s Childhood
- READ Loki
- READ Repulsion
- READ The Tenant
- READ Chinatown
- READ Promising Young Woman
- READ Rosemary’s Baby
- READ The Man Who Fell to Earth
- READ Tom and Jerry
- READ Walkabout
- READ Harold and Maude
- READ Comrades: Almost a Love Story
- READ The Killing of a Chinese Bookie
- READ Being There
- READ Burning
- READ Better Days
- READ The Poseidon Adventure
- READ Don’t Look Now
- READ The Manchurian Candidate
- READ Midnight Cowboy
- READ The Firm
- READ Ammonite
- READ Charlie Wilson’s War
- READ Soul
- READ Tootsie
- READ Close Encounters of the Third Kind
- READ Dog Day Afternoon
- READ Crazy Rich Asians
- READ 1917
- READ Closer
- READ The Shining (1980)
- READ We Are X
- READ Last Christmas
- READ Breakfast at Tiffany’s
- READ Call Me by Your Name
- READ The Impossible
- READ Gravity
- READ The Last Five Years
- READ The Eight Hundred
- READ A Beautiful Day in the Neighborhood