เอนหลังนั่งคุยเรื่อง ‘ตรุษจีน’
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– เอนหลังนั่งคุยเรื่อง ‘ตรุษจีน’ –
ตอนแรกวางแผนไว้ว่าจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับตรุษจีนสักประมาณเดือนมกราคม แต่มานึกอีกที เราเล่าแบบชิลๆ ดีกว่าเนอะ เผื่อใครอ่านแล้วอยากปฏิบัติตามธรรมเนียมจีนๆ จะได้มีเวลาเตรียมตัว เพราะตรุษจีนปีหน้ามาถึงค่อนข้างเร็วคือ วันที่ 25 มกราคม 2563 แล้วรู้สึกว่ามีเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับตรุษจีนอยากเล่าให้ฟังกันเยอะพอสมควร
เทศกาลตรุษจีนเป็นหนึ่งในสามเทศกาลใหญ่ๆ ของชาวจีน (อีกสองได้แก่ เทศกาลบะจ่าง – ตวนอู่เจี๋ย กับเทศกาลไหว้พระจันทร์ – จงชิวเจี๋ย) จัดได้ว่าเป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของคนจีนนะ เพราะเป็นเทศกาลฉลองขึ้นปีใหม่ ที่นี่เราเรียก ‘春節 – ชุนเจี๋ย’ บ้าง ‘กั้วเหนียน’ บ้าง (โดยมากเวลาพูดคุยกันจะเรียกว่ากั้วเหนียน) ชาวจีนเริ่มนับปีใหม่กันที่ฤดูใบไม้ผลิ นั่นคือคำตอบว่าทำไมเรียกชุนเจี๋ย ซึ่งแปลว่าฤดูใบไม้ผลิ ตรุษจีนปีแรกที่ฉันมาอยู่ที่นี่ เห็นบางบ้านแปะตัว 春 กลับหัวก็งงสิคะ คุณชายเฉลยให้หายงงว่า เป็นการเล่นคำของคนไต้หวัน คือ “春到了- ชุนเต้าเลอ” แปลว่า ฤดูใบไม้ผลิมาถึงแล้ว แต่มีอีกคำนึงที่ออกเสียงว่าเต้า (倒) เหมือนกัน แต่ ‘倒’ ตัวนี้แปลว่า เท, กลับหัวกลับหาง, ล้ม… ประมาณนี้นะคะ ดังนั้น ‘春倒了- ชุนเต้าเลอ’ ก็คือ ตัว 春 ตีลังกากลับหัวกลับหาง อธิบายแบบนี้ ไม่งงกันนะคะ
ที่ไต้หวัน ในแต่ละปีรัฐบาลจะประกาศวันหยุดช่วงตรุษจีน แต่ละปีจะไม่เท่ากัน มีบางปีเคยหยุดถึงสิบวันแน่ะ ฉันเข้าใจว่าต้องดูว่าวันตรุษจีนของแต่ละปีตกอยู่ช่วงไหนของปฏิทินสากล แต่รัฐบาลประกาศหยุดนี่ บางบริษัทเอกชนอาจจะไม่หยุดตามวันที่รัฐบาลประกาศได้นะ ตรุษจีนปีหน้ามาถึงค่อนข้างเร็วคือ วันที่ 25 มกราคม 2563 (เรียกว่า ‘初一 – ชูอี’ หรือภาษาแต้จิ๋วคือ ‘ชิวอิก’) โดยปกติวันหยุดช่วงตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันสิ้นปี (เรียกว่า ‘除夕 – ฉูซี’ ที่เมืองไทยเราเรียกวันไหว้กันนั่นล่ะค่ะ) ปีหน้าตรงกับวันที่ 24 มกราคม หยุดไปจนถึงวันที่ 29 มกราคม ทั้งหมดหกวันถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ วันที่ 30 มกราคมที่ถือเป็นวันทำงานวันแรกของปีใหม่ (นี่ฉันพูดถึง การนับทางปฏิทินจันทรคติของชาวจีนที่เรียกว่า ‘หนงลี่’ นะคะ) เปิดทำการปุ๊ป พวกบริษัทห้างร้านบางแห่งที่ถือธรรมเนียมเคร่งครัดหน่อยก็จะตั้งโต๊ะไหว้เจ้า มีการจุดประทัดเรียกแขกด้วย (อันนี้ศัพท์คุณนายฮวงตั้งเองค่ะ😉) เรื่องของวันเปิดทำงานตรงนี้ ต่างจากของธุรกิจห้างร้านของคนจีนในเมืองไทยนะ ที่เมืองไทยเปิดร้านกันที่วันที่ 4 ของปีใหม่ (หรือภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า ‘ชิวสี่’ ซึ่งปีหน้าจะตรงกับวันที่ 28 มกราคม) อย่างที่บ้านฉัน ถ้าหากชิวสี่ตรงกับวันอาทิตย์ ก็ต้องมาเปิดร้านเอาฤกษ์พร้อมทั้งไหว้เจ้า (ไหว้ตี่จู๋เอี๊ย) ไหว้เสร็จก็ค่อยปิดร้าน (ก็วันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการที่ไทยนิ) แล้ววันจันทร์ถึงเปิดค้าขายตามปกติ
ตามธรรมเนียม ก่อนถึงตรุษจีนก็ต้องทำความสะอาดบ้านหรือร้านค้ากันชุดใหญ่ ทาสีประตูใหม่ แล้วก็ตกแต่งบ้านต้อนรับสิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในปีใหม่ มีการเปลี่ยนฮู้ (ภาษาแต้จิ๋ว) หรือยันต์ใบใหม่ แต่อันนี้ต้องหลังวันปีใหม่ค่ะ เพราะต้องเอาจากทางวัดที่ไปไหว้ในวันปีใหม่ แต่วัดที่นี่บางทีก็ให้เป็นสิ่งอื่นๆ นะ เช่น วัดหลังบ้านฉัน มีอยู่ปีหนึ่ง ฉันได้มาเป็นที่ห้อยกระเป๋าเป็นด้ายถักร้อยตัวหนังสือมงคลกับเงินเหรียญทำจากพลาสติก ตอนมาถึงเกาะนี้ใหม่ๆ ฉันตื่นตาตื่นใจกับของตกแต่งบ้านรับชุนเจี๋ยจริงๆ มีพวกรูปสัตว์ในสิบสองปีนักษัตร (สมัยเด็กๆ เยาวราชยังไม่มีของแบบนี้ขายนี่คะ มีแต่พวกคำมงคลที่เขียนด้วยพู่กันจีน เป็นหมึกสีทองบนกระดาษสีแดง) ทำได้หน้าตาน่ารักทั้งนั้นเลย อดใจไม่ไหว ต้องซื้อมาติดหน้าประตูบ้านบ้าง (บางปีฉันยังตั้งชื่อให้ซะอีกแน่ะ ฮิฮิ) มีตัวเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง (เรียกว่า ‘ไฉเสิน’) เป็นโคมไฟบ้าง หรือเป็นตุ๊กตาตั้งพื้นตัวใหญ่ยักษ์ก็มี แล้วก็มีซองอั่งเปาลวดลายสวยงามขาย สารพัดสินค้าที่จะคิดกันขึ้นมาขายถ่ายเทเงินจากกระเป๋าผู้บริโภคสู่กระเป๋าผู้ขายกันนั่นล่ะค่ะ😄
พูดถึงการจ่ายตลาดเพื่อเทศกาลตรุษจีนที่นี่กันหน่อย คนไทเปนิยมไปจับจ่ายซื้อของที่จะใช้ในช่วงกั้วเหนียนกันที่ ‘ตี๋ฮว้าเจีย’ เทียบกับกรุงเทพฯ ก็เยาวราชนั่นล่ะ ทุกปีเห็นข่าวแล้วก็อยากไปมั่ง แต่คุณชายไม่เล่นด้วย จนกระทั่งตอนที่อยู่เกาะนี้มาได้สัก 6 ปีมั้ง ปีนั้นมีลูกยุแนวร่วมจากพี่ที่เคยทำงานด้วยกันที่การบินไทย แล้วพี่เขามาประจำที่นี่ ลากคุณชายไปเดินจนได้ โฮ่ย! เข็ดจนตายค่ะ จะไม่ไปตี๋ฮว้าเจียช่วงก่อนตรุษจีนอีกเลยชีวิตนี้ คลื่นมหาชนเดินแบบไหลกันไป แล้วก็แต่ละร้านตะโกนโหวกเหวกเรียกแขกกันสนั่น ดูของไม่ได้สักเท่าไร จะหาร้านกินข้าวกลางวัน ก็ยังลำบากยากเย็น รู้ซึ้งถึงสำนวนที่ว่า ‘Curiosity killed the cat’ วันนั้นจริงๆ😅 แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงนั้นนี่โอเคนะคะ เพราะเป็นเขตเมืองเก่า มีตึกเก่าๆ สวยๆ ให้ดู แล้วเดี๋ยวนี้ทายาทรุ่นสามก็เข้าไปปรับปรุงร้านรวงให้สุดฮิป มีคาเฟ่ ร้านขายของกิ๊บเก๋เยอะอยู่ เดินเพลินเงินอาจหมดได้
ตานี้ขอคุยเรื่องการไหว้ช่วงตรุษจีนของที่นี่กันบ้าง ประเพณีการไหว้บรรพบุรุษนี่แล้วแต่ครอบครัวมั้งคะ อย่างบ้านสามีของฉันไม่ค่อยเคร่งครัดธรรมเนียมมาก เลยไม่มีการไหว้บรรพบุรุษในช่วงนี้ (ไหว้แค่ช่วงเช็งเม้ง) ไม่รู้ว่าเป็นเพราะรูปอากงอาม่าคุณชายไม่ได้อยู่ที่บ้านหรือเปล่า (คือเป็นครอบครัวใหญ่มากน่ะค่ะ รูปอากงอาม่าอยู่ที่บ้านคุณอาเขา) แต่ฟังจากเพื่อนคนไทยบางคน ครอบครัวสามีที่เคร่งมากก็จะมีการจัดของไหว้ ทั้งไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษในช่วงเช้า ช่วงบ่ายจัดโต๊ะเซ่นไหว้ผีไม่มีญาติ อาหารและผลไม้ที่ใช้ในการไหว้ก็ต้องมีข้อบังคับอีก เช่น สาลี่นี่ห้ามใช้ไหว้ผีไม่มีญาติ เพราะในภาษาไถอวี่ออกเสียงพ้องกับคำว่า ‘ไล้ = มา’ เหมือนเป็นการเรียกให้เขามา ซึ่งไม่เป็นมงคล บางครอบครัวไหว้เจ้าต้องใช้อาหารเจเท่านั้น แต่ที่เหมือนกับบ้านฉันที่เมืองไทยคือบนโต๊ะไหว้ต้องมี ‘ซาแซ’ แน่ๆ ที่บ้านฉันซาแซประกอบด้วยหมู+ไก่+ไข่เป็ด บางทีก็ใช้ปลาแทนไก่ (ถ้าใช้ปลา ก็ใช้ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ก็ได้) ไหว้เสร็จก็เราก็กินได้เลย แต่ที่นี่เห็นเพื่อนบางคนเล่าตรงกันว่า บ้านสามีเขาจะเก็บปลาไว้กินวันชิวอิก (วันปีใหม่) เท่านั้น คิดว่าคงให้สมกับคำอวยพรที่ใช้กันในช่วงนี้ที่ว่า ‘年年有餘 – เหนียนเหนียนโหย่วอวี๋ = ทุกปีมีเงินเหลือกินเหลือใช้’ มั้งคะ คือคำว่า อวี๋ – 魚 ตัวนี้แปลว่าปลา เสียงไปพ้องกับ 餘 ตัวนี้ที่มาจากคำว่าเหลือกินเหลือใช้เลยมีเหลือไว้เก็บออม
พอวันปีใหม่ (ชูอี) ก็เป็นวันรวมญาติทางฝั่งฝ่ายชายล่ะ กินข้าวด้วยกัน ให้หงเปาหรืออั่งเปากัน บางครอบครัวก็จะไปไหว้เจ้ากันที่วัด ซึ่งทุกปีก็มีข่าวให้ดูทางทีวี คนจะไปรอกันแต่เช้า พอประตูวัดเปิด ก็จะกรูกันเข้าไปแย่งปักธูปลงกระถางเป็นคนแรก เพราะเชื่อว่าจะได้มีโชคดีก่อนใคร (ประมาณชิงโชคกันน่ะ😅) บางปีก็มีล้มลุกคลุกคลานกันบ้าง ฉันไม่เข้าใจเล้ยว่าแย่งกันจนหกล้มไปเนี่ย มันจะโชคดีตรงไหน (ความเห็นส่วนตัวค่ะ) วันนี้มื้อเช้าบางบ้านกินเจกัน ซึ่งบ้านฉันก็เป็นค่ะ ตั้งแต่เล็กๆ แล้วจำได้เลย ต้องหลังสิบโมงเช้าถึงจะกินอาหารปกติได้ สมัยเด็กๆ พี่ชายฉันจะตื่นสายบ้าง กะเวลาให้ได้กินข้าวเช้าที่หลังสิบโมง จะได้ไม่ต้องกินเจ😆 ก็กับข้าวเจที่เมืองไทยไม่มีขายนี่นะ แล้ววันตรุษจีนบ้านฉันมีธรรมเนียมว่าไม่ทำงาน ก็ไม่มีการทำกับข้าว เอาง่ายๆ สะดวกๆ ก็มื้อเช้ากินข้าวต้มกับเกี่ยมไฉ่ กานาไฉ่มั่ง (พวกผักดองน่ะค่ะ)
พอวันที่ 2 ของปีใหม่(ชูเอ้อ หรือชิวหยีในภาษาแต้จิ๋ว) ตามธรรมเนียมก็ถึงคิวรวมญาติทางฝั่งฝ่ายหญิง ภาษาจีนกลางเรียกว่า “หุยเหนียงเจีย = กลับบ้านแม่ฝ่ายหญิง” เวลาหุยเหนียงเจีย ที่บ้านฉันจะต้องนำส้มสี่ลูกใส่ห่อไปแลกกับผู้ใหญ่ด้วย เรียกว่า “ไป้เจีย” แต่มาที่นี่ คุณชายบอกไม่มีธรรมเนียมนี้ มีแต่ซื้อของขวัญไปให้ เช่น พวกอาหารบำรุง ฯลฯ ฉันเองถึงวันนี้ก็ไม่เคยได้กลับบ้านตัวเองหรอก เพราะอยู่กันคนละประเทศ ก็อยู่บ้านพ่อแม่สามียาวไปจนเกือบหมดวันหยุดนั่นล่ะ คือพยายามชิงกลับมาไทเปก่อนจะเจอคลื่นมหาชนน่ะค่ะ ถึงตรงนี้ขอเล่านอกเรื่องนิด ตอนตรุษจีนแรกที่ฉันมาอยู่เรายังไม่มีรถ ก็กะว่าใช้บริการรถไฟละกัน(ตอนนั้นยังไม่มีรถไฟความเร็วสูง) ซึ่งจะเปิดให้จองตั๋วได้ทางโทรศัพท์และทางเว็บไซต์ล่วงหน้าแค่หนึ่งอาทิตย์ พอถึงเช้าวันแรกของการเปิดจอง(เริ่มรับจองที่หกโมงเช้า) คุณชายนั่งประจำที่หน้าคอมพ์ ฉันก็นั่งหน้าโทรศัพท์ ประมาณตีห้า ห้าสิบห้านาทีฉันเริ่มหมุนโทรศัพท์กะว่าเดี๋ยวหกโมงจะได้แค่กดปุ่ม redial เพื่อความรวดเร็ว… ตู๊ดๆๆๆๆๆ เฮ้ย! อะไรเนี่ย สายไม่ว่าง! ส่วนฮีก็พยายามจองทางเว็บไซต์ เชื่อไหมคะว่าเราพยายามกันอยู่ 45 นาที ไม่ประสบผลสำเร็จเลยทั้งสองทางค่ะ เลยต้องนั่งรถบัสเอา ถึงวันสิ้นปีคุณชายเลิกงาน ก็ไปเบียดคนที่สถานีรถบัสซื้อตั๋ว มีแต่คน คน และคน พอได้ตั๋วก็เดินไปหาข้าวกิน ฉันโดนคนเดินชนจนเวียนหัวควักยาดมวาเป๊กซ์แทบไม่ทัน
กว่าจะได้ขึ้นรถปาเข้าไปสามทุ่มได้ นั่งรถกว่าจะถึงเกาสง (ที่ปกติรถไม่ติดใช้เวลาประมาณห้าชั่วโมง) ปาเข้าไปตอนเช้ามืด ฉันงี้สะบักสะบอมซะบ่นไม่ออกไปเลยค่ะ พอเห็นภาพช่วง ‘กั้วเหนียน’ กันแล้วนะคะ ไว้จะมาเล่าต่อ โปรดติดตามตอนต่อไป😜
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1