ถามหาไต้ฝุ่น
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
จำได้ว่าตอนที่ คุณนฤทธิ์ พันธุเมธา (‘ดีเจเด่น เดนเวอร์’ แห่งคลื่น 93.5 เมกะเฮิร์ตซ์) แวะมาเยือนเมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน ฉันพาไปกินร้านเป่ยโถวโหยวอวี๋ (รู้สึกจะเคยเขียนถึง ในบทคุณนายฮวงชวนชิมมั้ง) แล้วคุณนฤทธิ์ก็ถามๆ สภาพความเป็นอยู่ของเกาะนี้ มีคำถามนึงที่ฉันจำแม่นคือ เกาะนี้เอาน้ำจากที่ไหนใช้ ฉันตอบว่าไต้ฝุ่นค่ะ แล้วก็ต้องขยายความต่อให้ฟัง เพราะรู้ว่าคุณนฤทธิ์คงจะมีภาพของไต้ฝุ่นเป็นผู้ร้ายอยู่ในหัว ก็ไม่ว่าจะเป็นข่าว หรือแม้แต่ฉันเองก็ยังเอ่ยถึงไต้ฝุ่นในฐานะของภัยธรรมชาติประจำเกาะ (ที่เคียงคู่กันมากับเรื่องแผ่นดินไหว) คือไต้ฝุ่นสำหรับไต้หวันแล้ว ต้องบอกว่าเป็นทั้งวายร้ายและซูเปอร์ฮีโร่ประจำเกาะค่ะ ในภาคของวายร้าย ก็ประมาณตามที่ฉันเล่าไว้ในบท ‘ภัยธรรมชาติประจำเกาะ’ นั่นล่ะ แต่สำหรับตอนนี้ ถ้าไต้ฝุ่นเข้า ก็จะกลายเป็นซูเปอร์ฮีโร่ไปทันที
คุณๆ น่าจะเห็นข่าวแล้งจัดทางภาคกลางและภาคใต้ของไต้หวันกันบ้างแล้วนะคะ เนื่องจากปีที่แล้วไม่มีไต้ฝุ่นเข้าเลยสักลูกเดียว เห็นว่าเป็นภัยแล้งที่ร้ายแรงในรอบ 56 ปีที่ผ่านมาเลยนะที่ไม่มีไต้ฝุ่นเข้าเนี่ย ทั้ง CNN เอย BBC เอยออกข่าวนี้กัน แล้วก็โชว์ภาพข่าวเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่แห้งเหือด ให้ชาวโลกลุ้นระทึกไปกับไต้หวันด้วย ทำไมชาวโลกถึงลุ้นระทึกกับชาวไต้หวันด้วยน่ะหรือ คำตอบคือ 90% ของไมโครชิปที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (ชิปขนาด 5 นาโนเมตร) ในการผลิต อันเป็นส่วนประกอบอยู่ในสารพัดเครื่องอิเล็กทรอนิกส์บนโลกเรานี้ผลิตในไต้หวันค่ะ หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อบริษัท TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) หรือที่ชาวไต้หวันเรียกกันว่า ‘ไถจีเตี้ยน – 台積電’ ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก มีรายได้ในปี 2019 ประมาณ 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นหน้าตาของไต้หวันมากๆ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซินจู่ (หรือนิกเนมคือ ซิลิคอนแวลลีย์ของไต้หวัน) ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่างของเกาะไต้หวัน ที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักในตอนนี้
และเนื่องจากในกระบวนการผลิตของไถจีเตี้ยนต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมากในการทำความสะอาดชิป ดังนั้น ถ้าขาดแคลนน้ำจริงๆ การผลิตก็จะสะดุดหยุดลง ตานี้บริษัททั่วโลกที่ต้องพึ่งพาชิปจากไถจีเตี้ยน ก็จะต้องมีปัญหาการผลิตตามไปด้วย รัฐบาลไต้หวันจึงให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมตรงนี้มาก ถึงขนาดว่าเมื่อปีที่แล้วได้หยุดการชลประทานน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 740 ตารางกิโลเมตร ทำให้ชาวนาชาวสวนออกมาตัดพ้อต่อว่า ที่ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีเงินช่วยเหลือให้เกษตรกร แต่เกษตรกรบางรายเช่าที่ดินเพื่อเพาะปลูก เงินช่วยเหลือก็ตกไปอยู่กับเจ้าของที่ดินแทน เกษตรกรก็ไม่กล้าโวยวายเพราะกลัวว่าเดี๋ยวจะอดเช่าที่ดิน แต่ที่ฉันคิดว่าน่าสงสารอีกพวกก็คือพวกร้านค้าเล็กๆ เช่น ร้านทำผม ร้านรับจ้างล้างรถ เพราะพวกนี้ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล แต่เวลามาตรการประหยัดน้ำออกมา พวกเขาก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่าใคร จะถูกตัดการใช้น้ำไป 20% เมื่อวาน (22 เมษายน 2021) เห็นข่าวร้านทำผมที่เมืองไถจง (เมืองใหญ่อันดับสามของไต้หวันที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบน) ซึ่งตอนนี้ใช้มาตรการหมุนเวียนหยุดจ่ายน้ำสองวันในหนึ่งสัปดาห์ในแต่ละเขต เจ้าของร้านบอกว่า หยุดทำการวันหนึ่ง รายได้หายไปประมาณหนึ่งหมื่นหยวนเลยทีเดียว
พูดถึงมาตรการประหยัดน้ำแล้ว ขอขยายความเพิ่มเติมสักนิดนะ ทางการประปาใช้สีมาเป็นตัวชี้สถานการณ์ของระดับน้ำที่จะต้องเริ่มใช้มาตรการอะไรบ้าง เริ่มจากสีเขียวที่หมายถึงสถานการณ์ยังค่อนข้างปกติ สีเหลืองคือ มีการลดความดันน้ำในช่วงกลางคืนที่ไม่ได้มีการใช้น้ำกันเยอะๆ และหยุดจ่ายน้ำในพื้นที่สาธารณะบางแห่ง เช่น น้ำพุ (ที่ตรงข้างๆ ตึกไทเป 101 จะมีน้ำพุพุ่งขึ้นจากพื้นให้เด็กๆ เล่นกันได้ในหน้าร้อน) พวกงานฉีดทำความสะอาดถนน กำแพงหรือท่อน้ำ สีส้มคือ หยุดจ่ายน้ำให้กับการซ้อมหรือการทดสอบหัวก๊อกดับเพลิง และลดปริมาณการจ่ายน้ำให้กับพวกกิจการที่ใช้น้ำเยอะๆ ประเภทที่ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม เช่น สระว่ายน้ำ ร้านล้างรถ ซาวน่า สปา ร้านทำผม ฯลฯ พวกนี้จะถูกลดปริมาณน้ำไป 20% แต่ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรมจะถูกลด 5-20% ยกเว้นพวกอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแพทย์หรือกิจการอื่นที่จำเป็น ส่วนระดับสุดท้ายคือสีแดง จะมีการแบ่งเขตหมุนเวียนกันหยุดจ่ายน้ำเป็นเวลา (ซึ่งคือสถานการณ์ที่ทางไถจงกำลังเผชิญอยู่) มาตรการขั้นถัดไปคือตั้งจุดที่รถจ่ายน้ำมาจอด โดยมีการจัดลำดับการจ่ายน้ำให้ดังนี้ อันดับแรกคือย่านที่พักอาศัยของประชาชน ถัดมาคือพวกเกี่ยวกับการแพทย์ อันดับสามคือพวกกรมทหาร อันดับสี่คือพวกธุรกิจ และอันดับสุดท้ายคืออื่นๆ (ซึ่งฉันก็ไม่รู้ว่าคืออะไร)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาวะโลกร้อนบางคน ได้ออกมาเตือนถึงปัญหาภัยแล้งที่ไต้หวันจะต้องเผชิญมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งมีสัญญาณมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 นู่นแน่ะ แต่ละปีที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนได้ลดลงเรื่อยๆ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังเท่าไร นักวิชาการบางคนบอกว่า ปัญหาใหญ่คือเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ราคาน้ำประปาที่ถูกมากทำให้คนใช้น้ำกันอย่างฟุ่มเฟือย ค่าน้ำประปาของไต้หวันมีราคาถูกเป็นอันดับสองในโลกนี้ ด้วยราคาแค่ 11 หยวนต่อลูกบาศก์เมตร ถูกกว่าเกาหลีใต้ครึ่งหนึ่ง ถูกกว่าอเมริกาถึงสี่เท่า แต่ละรัฐบาลก็ไม่กล้าขึ้นราคา เพราะกลัวเสียคะแนน เวลาเกิดปัญหาน้ำขาดแคลนก็ใช้วิธีแก้ปัญหากันแบบเฉพาะหน้า เช่น ตอนนี้ก็มีการเจาะน้ำบาดาลมาใช้กัน บางแห่งก็ไม่รอขอใบอนุญาตเจาะ หาเครื่องเจาะได้ก็เจาะกันเลยก็มี ฉันดูข่าวรู้ว่ามีบริษัทเอกชนที่ทำการรีไซเคิลน้ำ แต่น้ำรีไซเคิลคุณภาพความสะอาดยังไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม อย่างข่าวที่เห็นคือทางไถจีเตี้ยนที่ต้องใช้น้ำสะอาดมากๆ ก็ขอแลกน้ำรีไซเคิลกับทางฉีเหม่ยกรุ๊ป
ตอนนี้ข่าวในทีวีก็มีการให้ข้อมูลระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 16 แห่งทั่วเกาะอยู่ตลอดเวลา หรือสามารถเช็กจากเว็บไซต์ของการประปาก็ได้ ใส่ใจกันสักนิด จะได้เตรียมรับมือกับปัญหาได้ถูก แต่ฉันว่าดีที่สุดคือป้องกันค่ะ ไม่ใช่คอยแก้ปัญหา รัฐบาลควรสอนให้คนรู้ถึงปัญหาโลกร้อนที่กำลังก่อปัญหาด้านอื่นๆ ตามมาอย่างจริงจัง และให้ตระหนักถึงคุณค่าของน้ำ คุณชายนี่เจออิฉันจี้ตลอดตั้งแต่รู้จักกันมา เดี๋ยวนี้ไม่มีเรื่องเปิดก๊อกทิ้งไว้ตอนโกนหนวดแล้ว ในห้องน้ำฉันก็มีถังรองน้ำตอนเปิดก๊อกน้ำร้อนใหม่ๆ แล้วน้ำยังไม่ร้อนได้ที่ เก็บมาเทลงโถส้วมแทนการกดชักโครกได้ หรือน้ำที่ได้จากเครื่องดูดความชื้นก็เหมือนกัน เทใส่ถังเก็บไว้ราดโถส้วมได้ อยู่ที่เราจะบริหารจัดการค่ะ ช่วยๆ กันคนละไม้ละมือ ทำเท่าที่เราจะทำได้ อย่างน้อยช่วยบรรเทาความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาโลกร้อนได้บ้าง ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำอะไรเลยนะคะ😉
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1