คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
ได้เห็นข่าวในทีวีเรื่องคนไต้หวันบ่นว่า เที่ยวในประเทศแพงกว่าเที่ยวต่างประเทศ ดูข่าวแล้วก็ขำ เพิ่งมาบ่นกันตอนนี้เองเรอะ อิฉันเนี่ยพูดประเด็นนี้ตั้งแต่มาถึงเกาะนี้ตั้งแต่ยี่สิบปีที่แล้วละจ้า😆
จริงๆแล้วฉันก็ค่อนข้างแปลกใจอยู่นะว่า ทำไมคนไทยถึงชอบมาเที่ยวกัน เดี๋ยวนะคะ ทัวร์อย่าเพิ่งลง เราคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันสนุกๆก่อนเน้อ😅 คือสงสัยจริงๆ มิได้มีจุดประสงค์ก่อชนวนดราม่าใดๆทั้งสิ้น สำหรับฉันแล้ว ไต้หวันเป็นประเทศที่คุณภาพชีวิตของชนชั้นกลางดีกว่าเมืองไทย การคมนาคมในไทเปและนิวไทเปสะดวกสบาย รถไม่ติดทั้งวันแบบกรุงเทพฯ ถ้ามองในแง่การท่องเที่ยว ก็ได้เปรียบกรุงเทพฯในเรื่องการเดินทางนี่ล่ะ แต่ถ้าพูดแง่ความงามของธรรมชาติก็ไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (มีก็อาลีซันที่เดินชมป่าสนไซเปรสแบบหอมกลิ่นสนที่ฉันชอบ กับเรื่องออนเซ็น😁)
ที่สำคัญค่าโรงแรมที่นี่แพงกว่าเมืองไทยพอสมควรเลยนะ (ค่าที่พักนี่เป็นรายจ่ายหลักรายการหนึ่งของการไปเที่ยวแน่ๆ จริงไหมคะ) ฉันเพิ่งเอ่ยปากชักชวนเพื่อนฝูงให้มาเยี่ยมเยือนก็เมื่อไม่ต้องขอวีซ่าเมื่อเจ็ดแปดปีที่ผ่านมานี้เอง ก่อนหน้านั้นไม่กล้าชวนเลยค่ะ เพราะเคยไปยื่นเรื่องขอวีซ่าแทนที่บ้าน เสียเวลาไปสองวันกว่าจะได้วีซ่า จึงไม่อยากให้เพื่อนฝูงต้องเสียวันลาไปเปล่าๆ แต่เมื่อไม่ต้องขอวีซ่าก็สบายขึ้นแยะเลย😉 จบความเห็นของคุณนายฮวงเรื่องคนไทยมาเที่ยวที่นี่แค่นี้ละกันนะ
มาพูดถึงความคิดเห็นของชาวไต้หวันที่มีต่อการท่องเที่ยวในประเทศตามที่ฉันดูข่าวกันดีกว่า ตามข่าวรายงานว่า ช่วงที่ผ่านมาประชาชนของเกาะนี้ต่างก็โอดครวญบ่นกันพึมพำสนั่นโซเชียล เรื่องค่าห้องพักสถานที่ท่องเที่ยวในไต้หวันมีราคาแพงเกินไป คุณภาพไม่สมราคา ซึ่งฉันเห็นข่าวทีวีอยู่บ่อยๆเหมือนกัน เป็นพวกหมินซู่ (民宿 หรือ Homestay) บ้าง หรือบางทีก็มีโรงแรมแถวซีเหมินติงบ้าง ซึ่งนักวิแคะทั้งหลายก็ให้ความเห็นว่า มันสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤติการณ์ด้านการท่องเที่ยวของไต้หวัน เพราะไม่เพียงส่งผลต่ออุปสงค์ (demand) ในการมาเที่ยวไต้หวันของนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ยังส่งผลให้ชาวไต้หวันหลายคนรู้สึกว่าเที่ยวต่างประเทศคุ้มกว่า อันนี้สำหรับเราสองคนก็จริงค่ะ เราสองคนถึงไปเที่ยวต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพิ่งมาช่วงที่คุณชายเปลี่ยนอาชีพมาสอนหนังสือนี่ล่ะ เพราะมีวันหยุดมากขึ้นกว่าตอนทำงานบริษัท เราถึงได้เริ่มเที่ยวในประเทศกันบ้าง แล้วก็เจอค่าโรงแรมที่แบบเล่นเอาอึ้งไป เช่นโรงแรมห้าดาวที่อี๋หลานคืนนึงตกประมาณหมื่นเศษ😱
ผู้ประกอบการทั้งหลายในอุตสาหกรรมได้กล่าวถึงสี่ปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไต้หวันดังนี้ค่ะ อย่างแรกสุดคือ การคมนาคมไม่สะดวก โดยกล่าวว่า มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในไต้หวันที่ต้องขับรถไปเองถึงจะสะดวก โดยยกตัวอย่างเทศกาลบอลลูนนานาชาติที่ทางไถตงจัดขึ้นทุกปี มักจะเกิดปัญหา shuttle bus ไม่เพียงพอกับปริมาณนักท่องเที่ยวเสมอๆ อันนี้ฉันเห็นด้วยค่ะ เพราะทุกวันนี้คนนิยมเที่ยวด้วยตัวเองกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วระบบขนส่งสาธารณะก็มีแค่ละแวกไทเปกับนิวไทเปที่สะดวกหน่อย อย่างทางตงเป่ยเจี่ยว (東北角) ที่เป็นชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะนี้ แล้วจริงๆก็ไม่ได้ไกลจากไทเปสักเท่าไรนัก มีจุดชมวิวสวยๆหลายจุด เช่นฉิงเหรินหูที่ฉันเคยเขียนถึงไปแล้ว หรือจูหมิงมิวเซียมนั่นก็ใช่ ถ้าไม่ได้ขับรถไปเองเนี่ย นั่งรอรถประจำทางกันเงกเลยนะกว่าจะมาคันนึง 😴
ประการที่สอง สถานที่ท่องเที่ยวขาดเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ข้อนี้ฉันก็เห็นด้วยอีกแหละ บรรดาเหล่าเจีย (老街 ที่แปลตรงตัวเป๊ะๆได้ว่าถนนโบราณ) หลายแห่งแทบไม่แตกต่างกัน ที่ฮิตๆอย่างจิ่วเฟิ่นหรือตั้นสุ่ยเหล่าเจีย มันก็คล้ายๆกันว่ามั้ยคะ (เราไม่พูดถึงวิวกันนะ เอาแค่ตัวถนนคนเดินก่อน) นี่ยังไม่พูดถึงเหล่าเจียที่เขตอื่นๆเช่น เซินเคิง อูไหล ฯลฯ นะ หรือพวกตลาดกลางคืนก็เช่นกัน-คล้ายๆกันไปหมด ตามข่าวว่าประเด็นนี้ถูกประชาชนหยิบมาวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยๆ (ไม่ใช่แค่อิฉันเห็นอยู่คนเดียวน้า😆)
ผู้เชี่ยวชาญเขาว่า ภาคการท่องเที่ยวของไต้หวันขาดการคิดวางแผนแบบทุกแง่ทุกมุม และขาดการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวในด้านอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของจุดท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น มักจะชอบทำตามๆกันไป โดยยกตัวอย่างโบสถ์รองเท้าส้นสูงที่ฉันเพิ่งเขียนถึงไปในบท Road trip 2 ตามข่าวบอกว่า ภายในระยะเวลาสามปี มีโบสถ์กระจกผุดขึ้นมาถึง 4 แห่ง แล้วอย่างโบสถ์รองเท้าส้นสูงที่เจียอี้นั่น นอกจากตัวโบสถ์นั่นแล้ว บริเวณรอบๆก็ไม่มีอะไรให้ดูให้ชมอีกเลย มันก็เลยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวร้างๆอย่างที่ฉันเห็นนั่นแหละ นอกจากโบสถ์กระจกสี่แห่งแล้ว ไต้หวันก็มีหมู่บ้านสายรุ้งแห่งใหม่เพิ่มขึ้นถึง 80 แห่ง สะพานลอยฟ้าอีก 13 แห่งภายในช่วงเวลาสามปี (พ.ศ.2558-2561) 😲
ข้อที่สาม ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวขาดวิสัยทัศน์ เห็นเพียงผลกำไรระยะสั้น อันนี้นี่ก็จริงอีกน่ะ เท่าที่ฉันสังเกตมาตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่ คนไต้หวันเนี่ยบางที่ก็แปล๊กแปลกค่ะ เห็นคนอื่นเขาทำอะไรแล้วดี ทำเงินถล่มทลาย ก็จะทำตามมั่ง นี่ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวนะคะ อย่างภาคการเกษตรก็ใช่ ปีไหนผลไม้อะไรขายดี ก็จะแห่กันปลูก ผลก็คือ supply เลยมากกว่า demand ตานี้ราคามันก็ตกสิ หรืออย่างตอนฉันมาถึงใหม่ๆ เดินไปไหนก็เจอแต่ร้านสปา ลดราคาแย่งชิงลูกค้ากันอุตลุด ฉันยังไปลองนวดที่ร้านแถวบ้านตรงบ้านแรกที่อยู่ปั่นเฉียวเลย เพราะเห็นราคาทดลองถูกมาก ทั้งๆที่พูดจีนยังไม่เป็นเลยนะน่ะ😆
ส่วนตอนนี้ก็เห็นแต่ร้านตู้สีเหลืองอ๋อยที่ให้หยอดเหรียญเล่นคีบของเต็มไปหมด ผู้เชี่ยวชาญสรุปว่า ธุรกิจไต้หวันมักให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่าการวางแผนระยะยาว เอเมน🥴
ประการสุดท้าย ภาคการท่องเที่ยวขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ยุคหลังโควิดที่ดูเหมือนว่าการท่องเที่ยวกำลังฟื้นตัว แต่ธุรกิจการท่องเที่ยวกลับเผชิญกับภาวะขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ข้อนี้เท่าที่ฉันคุยๆกับเพื่อนที่เมืองไทย ดูเหมือนเมืองไทยก็เผชิญปัญหานี้ด้วย ฉันเองเมื่อครั้งล่าสุดที่กลับมาเยี่ยมบ้านก็สังเกตเห็นเช่นกันค่ะ สองสัปดาห์ที่พักอยู่โรงแรม ต้องมีการโทรหาฝ่าย House keeping ทุกวัน บางวันก็ลืมเติมน้ำขวดให้ บางวันก็ลืมผ้าเช็ดเท้าในห้องน้ำ ฯลฯ แล้วคนเอามาให้ก็เป็นเด็กสาวตัวนิดเดียว ฉันเดาว่าคงเป็นพวกเด็กนักเรียนนักศึกษาที่มาทำงานหารายได้พิเศษมั้ง หรือเด็กที่ทำงานคอยเก็บจานในห้องอาหารตอนเช้าก็เหมือนกันค่ะ
ฉันเห็นแล้วก็สงสารน่ะ ดูแล้วอายุไม่เท่าไรเลย น่าจะเด็กกว่าพวกหลานๆของฉันด้วยซ้ำ ก็เลยส่งทิปให้ ซึ่งน้องเขาก็งงๆนะ เลยทั้งกล่าวขอโทษและยกมือไหว้ขอบคุณในเวลาเดียวกัน สำหรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไต้หวัน ผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมแห่งหนึ่งวิเคราะห์ว่า คนรุ่นใหม่ชอบที่จะทำงานส่งอาหารดิลิเวอร์รี่ หรือไม่ก็เป็นเน็ตไอดอลแทนการมาทำงานในโรงแรม เพราะได้เงินมากกว่า (แล้วก็ไม่มีคนคอยจิกด้วย ข้อนี้คุณนายฮวงกล่าวเองค่ะ แหะๆ) ล่าสุดธุรกิจโรงแรมที่พักได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 30,000 เหรียญไต้หวัน อีกทั้งยังมีเงินโบนัสให้พนักงานทำความสะอาดห้องพัก แต่ก็ยังหาคนมาทำงานได้ยาก เรื่องนี้คุณชายก็เคยเล่าให้ฉันฟังค่ะว่า ลูกศิษย์ไปขี่รถส่งอาหารของฟู้ดแพนด้า แล้วก็หลับเพลิน ตื่นมาเรียนไม่ทันกันบ่อยๆ ซึ่งคุณชายก็ได้แต่เตือนด้วยความหวังดีว่า ควรจะจัดลำดับความสำคัญแต่ละเรื่องให้ดีๆ
เอาล่ะค่ะ ขอจบรายงานข่าวที่เห็นมาแต่เพียงเท่านี้ อย่าลืมนะคะว่าเราคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันสนุกๆ ทัวร์อย่าลงน้า เค้ากลัว😅
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1