Give me an inhalant please!
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– Give me an inhalant please!-
ตั้งแต่เจ้าไวรัสตัวแสบ โควิด-19 เริ่มอาละวาด ฉันก็ได้เห็นบรรดากองทัพ Uber Eat และ Foodpanda ขี่รถส่งกันฉวัดเฉวียนให้เวียนหัวบนท้องถนนไทเปมากยิ่งขึ้นกว่าสองสามปีที่ผ่านมา ดูข่าวแต่ละวันก็จะต้องมีข่าวของกองทัพมดพวกนี้ปะปนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุรถชนบ้าง การแอบขโมยกินของที่จะส่งให้ลูกค้าบ้าง ฯลฯ มีแทบทุกรูปแบบเลย นึกๆ ดูชีวิตคนสมัยนี้มันก็เปลี่ยนไปมาก โลกหมุนเร็วเกินจนป้าอย่างฉันแอบเวียนหัวงงๆ ก่งก๊งบ้างในบางครา😅 แต่ก็ต้องนั่งดูหรืออ่านข่าวไปพลาง ดมยาดมไปพลาง จะได้เป็นป้าไอจีกะเค้าด้วย ฮิฮิ
เมื่อประมาณสี่ห้าวันก่อนได้มั้ง เห็นข่าว Cloud Kitchen (雲端廚房 – อวิ๋นตวนฉูฝัง) ในไทเปแล้วก็ต้องตาโตหูผึ่ง เฮ้ย! มีแบบนี้ด้วยเรอะ แต่ข่าวทีวีมันก็ไม่ได้บอกรายละเอียดอะไรมากนัก มีภาพคนให้สัมภาษณ์ว่ามันก็สะดวกดี แค่เช่าพื้นที่ทำครัวก็สามารถเปิดร้านอาหารได้แล้ว ไม่ต้องหาเช่าพื้นที่ทำร้านอาหารเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ต้องจ้างบริกร ไม่ต้องจ่ายค่าตกแต่งร้านอีก ประหยัดต้นทุนไปได้ตั้งเยอะ ทำให้มีเวลาเหลือพอมาคิดสร้างสรรเมนูใหม่ๆ ร่วมกับเชฟคนอื่นๆ ได้อีกด้วย เอ ฟังๆ ดู นี่มันแนวคิดแบบ co-working space นี่หว่า จะว่าไปมันก็เหมาะดีกับคนที่อยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเองแต่ไม่มีทุนมากพอเหมือนกันแฮะ อย่างที่เคยเล่าให้ฟังไปบ้างว่า เกาะนี้ที่ทางมันแพง ของกินทั้งหลายที่มันขายกันแพงๆ เนี่ย ส่วนใหญ่ก็เพราะค่าเช่าที่นี่ล่ะค่ะเป็นตัวต้นทุนที่หนักสุด แล้วฉันก็เลยสงสัยว่า ธุรกิจอวิ๋นตวนฉูฝังนี้เกิดขึ้นเพราะสาเหตุอะไรกันแน่ เพราะค่าเช่าที่และค่าแรงแสนแพง? หรือเพราะภัตตาคาร ร้านอาหารทั้งหลายต้องปรับตัวสู้กับสถานการณ์โควิด-19? ถ้าสาเหตุหลักมาจากเจ้าไวรัสตัวแสบนี่ ธุรกิจนี้มันก็ไม่น่าจะมีอนาคตสดใสสักเท่าไหร่นะ จริงไหมคะ ดูง่ายๆ อย่างตอนนี้ไต้หวันก็กลับเข้าสู่ภาวะเกือบจะปกติแล้ว คนก็ออกกินข้าวนอกบ้านกันครึกครื้นแทบจะเหมือนเดิม อย่างภัตตาคารอาหารไทยเจ้าประจำของฉันก็คนแน่นร้านเหมือนเดิมแล้ว
พอพูดถึงร้านอาหารไทยเจ้าโปรด แหม น้ำลายจะไหลเอา😋 ฟู้ดดี้ตัวแม่อย่างฉันเนี่ย เจอร้านอาหารไทยเมื่อไหร่ต้องขอลองซะหน่อย ลองจนมาเจอร้าน Siam More (饗泰多 – เสี่ยงไท่ตัว) เจอกับเชฟกบ-ธนศักดิ์ อุทวนิช เลยยึดเป็นร้านประจำไปเลย
ตอนที่มาถึงแรกๆ ร้านอาหารไทยยังไม่มีมากมายเท่าตอนนี้หรอกค่ะ ถึงเจอฉันก็งงกับเมนูว่ามันใช่อาหารไทยแน่เรอะ ร้านอาหารไทยสมัยก่อนนู้นโดยมากจะเป็นอาหารไทยสไตล์ชาวไทยใหญ่ (ทางยูนนาน) น่ะค่ะ ปีแรกๆ ที่อยู่นี่ฉันกินแต่ร้านภัทราของเอสแอนด์พีเท่านั้นเลย ตอนเจอร้านภัทรานี่ อิฉันไชโยโห่ฮิ้วสุดๆ มีทั้งน้ำพริกกะปิเครื่องเคียงเป็นผักชุปแป้งทอดกรอบๆ กระทงทองอีก โอ้! แจ่มมาก แต่อาหารไทยแท้ๆ คงไม่รุ่งมั้ง มีการเปลี่ยนมาเป็น Patio ที่ออกฟิวชั่น ฉันก็เลยเลิกกินไป จนกระทั่งเปิด Spice Market ที่เป็นบุฟเฟต์อาหารทะเลไทย เท่าที่รู้คือทางเอสแอนด์พีร่วมทุนกับโรงแรมรีเจนท์ที่นี่ ฉันก็ต่ามไปลองอีก อู๊ย! เจอน้ำจิ้มซีฟู้ดของจริง แซ่บสุดๆ ช่วงนั้นจัดเป็นเจ้าประจำกันอยู่พักใหญ่ แต่พอรสชาติเริ่มเปลี่ยน ฉันก็เลยไม่ค่อยกินอีก😆
แต่เดี๋ยวนี้อาหารไทยได้รับความนิยมมากๆ ในไต้หวัน มีตัวเลือกเยอะเชียวล่ะค่ะ แม้แต่ Nara ก็ยังมาบุกตลาดที่นี่ แต่ฉันคิดว่าคงมาร่วมทุนกับชาวไต้หวันด้วย ส่วนใหญ่ภัตตาคารอาหารไทยที่นี่ เจ้าของเป็นคนไต้หวันทั้งนั้น หรือไม่ก็อาจเป็นการร่วมทุนกันอย่างที่เล่ามา ร้านเสี่ยงไท่ตัวเจ้าของเป็นคนไต้หวัน มีภัตตาคารในเครือหลายแนวอยู่ หนึ่งในนั้นก็ร้านอาหารไทยเจ้าประจำของฉันนี่ล่ะค่ะ ตอนที่ยังสอนอยู่แถวๆ ตึกไทเป101 ฉันต้องเดินผ่านห้าง Breeze Songkao ประจำ เห็นโฆษณาใหญ่ยักษ์ที่ติดอยู่ด้านนอกห้าง เป็นรูปเนื้อย่างหั่นเป็นชิ้นหนาพอดีคำพร้อมน้ำจิ้มแจ่ว ภาษาจีนที่เขียนอยู่แปลได้ว่า เสือร้องไห้ แหม มีหรือจะรอดปากคุณนายฮวง😋 พักเที่ยงก็ต้องมาลองกันหน่อย
ดูเมนูแล้วก็ตื่นตาตื่นใจ มีทอดมันปลาของโปรดอิฉันซะด้วย เฮ้ย! น้ำพริกพร้อมผักสด+ไส้อั่ว+แค็บหมูอีก แต่มาคนเดียวน่ะ ลองผัดไทยไปก่อนแล้วกัน เอ๊ะ ใช้ได้แฮะ รสชาติไม่ประนีประนอมแบบร้านอื่น จากนั้นก็ลากคุณชายมาลองด้วยกัน สั่งแหลก กินไม่หมดก็ห่อกลับบ้าน ฮ่าๆๆ แฮปปี้ถึงขนาดเอารูปทอดมันไปโพสต์อวด (ว่ามีทอดมันปลากินแล้วจ้า😆) ในเพจ Sapai Taiwan ของฉัน เผอิญว่าคุณกบตามเพจของฉันอยู่ ก็เลยเข้ามาคอมเมนต์บอกว่าเป็นพ่อครัวอยู่ที่ร้านนี้ อิฉันเลยนัดน้องๆ ไปซดต้มแซ่บกระดูกอ่อน เมาท์มอยกันจนร้านปิดพักช่วงกลางวัน แล้วพวกสตาฟฟ์มาตั้งฉากกั้นกินข้าวกันที่โต๊ะข้างๆ ฉันเห็นคุณกบแล้วก็คิดว่าใช่แน่เลย น้องที่ไปด้วยก็ไวทันใจ ถามทันทีใช่คนไทยมั้ยค้า และแล้วประวัติศาสตร์การกินหน้าใหม่ของคุณนายฮวงก็เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้แล😊
ปกติฉันเป็นคนชอบคุยกับคนที่อยู่ในวงการอื่นๆ สนุกดีออกค่ะ ได้รู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้ พอคุยกับคุณกบ ก็ได้เปิดหูเปิดตาฉันมากค่ะเกี่ยวกับกิจการร้านอาหารไทยที่นี่ คุณกบบอกว่าที่ร้านปรุงรสชาติแบบประนีประนอมแค่เรื่องดีกรีความเผ็ดเท่านั้นเอง เพราะเจ้าของยืนยันมากว่า ต้องการทำร้านอาหารไทยที่รสชาติใกล้เคียงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ วัตถุดิบเครื่องปรุงทั้งหลายต้องให้เป๊ะ ยกเว้นว่าสุดวิสัยหาไม่ได้จริงๆ แต่บรรดาพืชผักสวนครัวไทยทั้งหลาย เดี๋ยวนี้มีคนปลูกขายทางภาคกลางและภาคใต้ของเกาะแล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่มาคาร์โก้เครื่องบินสัปดาห์ละครั้ง แถมเจอศุลกากรที่นี่ตรวจไม่ผ่านบ้าง ตรวจเข้มงวดจริงๆ เพราะเขากลัวเรื่องแมลงติดเข้ามากัน โอ้โฮ เดี๋ยวนี้ดีมานด์อาหารไทยเยอะขนาดถึงขั้นชาวไร่ชาวสวนที่นี่ปลูกตะไตร้ใบมะกรูดขายกันแล้วเหรอเนี่ย👍👍
ฉันถามคุณกบว่า เป็นเชฟไทยคนเดียวของร้านนี้ หน้าที่สร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ก็ต้องทำด้วยใช่ไหม คุณกบตอบว่าไม่ใช่ มีการจ้างบริษัทครีเอตฟู้ดทำ คิดราคาเมนูละห้าหมื่นหยวน อะไรนะ!? มีธุรกิจประเภทนี้ด้วยเหรอ คุณกบขยายความต่อว่า ในไต้หวันมีบริษัทที่รับสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ให้กับภัตตาคารทั้งหลาย ในบริษัทนี้ก็จะมีเชฟอาหารชาติต่างๆ ทำหน้าที่คิดเมนูใหม่ๆ ให้กับภัตตาคารอาหารประเภทต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของบริษัท แล้วก็มาฝึกสอนให้กับลูกค้า (ซึ่งก็จะเรียกเชฟใหญ่ของแต่ละสาขามาเรียน) จะมีการเซต SOP = Standard Operation Procedure ไว้เลย ทุกสาขาต้องปรุงอาหารตามนี้เป๊ะๆ เอ เข้าท่าแฮะ อย่างน้อยก็ไม่ต้องปวดหัวว่าจะต้องหาจ้างพ่อครัวคนไทย เพราะการเปิดภัตตาคารต้องมีเชฟใหญ่ที่มีประกาศนียบัตรผ่านการสอบจากกรมอนามัยของไต้หวัน ไม่งั้นเจอค่าปรับอานแน่ (ได้ข่าวว่าเป็นล้านหยวนเชียวนะ) ถ้าทางกรมมาตรวจเจอว่าเชฟไม่มีใบอนุญาตน่ะ แล้วถ้าภาษาจีนไม่เก่งถึงขั้นสอบข้อเขียนทำไงล่ะ คุณกบบอกว่า คุณกบเคยผ่านการอบรมจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของไทย ที่จัดขึ้นทุกปี (เดี๋ยวนี้มาจัดคอร์สให้ถึงที่ไต้หวันนี่เลยนะ มาจัดได้สามปีแล้ว) เมื่อสอบผ่านทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ ก็จะได้ประกาศนียบัตรที่ออกให้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คุณกบก็ใช้ฉบับภาษาอังกฤษนี่ล่ะมาสมัครงานที่ร้านนี้ ถ้าไม่อยากเป็นกุ๊กเมื่อไหร่ ก็เอาใบประกาศนี้ไปสมัครงานบริษัทที่รับครีเอตฟู้ดได้อีกด้วย ฉันเลยถามว่า แล้วร้านอาหารไทยทุกร้านเป็นลูกค้าบริษัทพวกนี้ด้วยไหม คุณกบบอกว่าไม่ แล้วแต่ร้าน บางร้านก็ใช้วิธีจ้างเชฟดังๆ (เช่น เชฟในภัตตาคารอาหารไทยของโรงแรมใหญ่ๆ) เป็นที่ปรึกษา หรือไม่ก็ส่งเชฟใหญ่จากเมืองไทยมาคุมดูแลครัวของร้านที่นี่
น่าสนใจนะคะ ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีบริษัทรับครีเอตฟู้ดด้วย แถมตอนนี้มี Cloud Kitchen เกิดขึ้นมาอีก กำลังเป็นกระแสใหม่ในวงการภัตตาคารในเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกเลยล่ะค่ะ เท่าที่อ่านๆ ดู มาบูมมากๆ ตั้งแต่ช่วงที่เจ้าไวรัสโควิดระบาดไปทั่วโลกนี่ล่ะ เฮ้อ ชีวิตเปลี่ยนกันไปจากที่ฉันรู้จักคุ้นเคยมาแต่เด็กๆ อย่างชนิดพลิกฟ้าดินกันเลย โลกหมุนเร็วจริงๆ ป้าก็ต้องนั่งดมยาดมติดตามข่าวสารใหม่ๆ ต่อไปอะนะป้านะ
The world is spinning too fast… kind of made me dizzy, give me an inhalant please.😔😅
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1