水燈節 – สุ่ยเติงเจี๋ย
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– 水燈節 – สุ่ยเติงเจี๋ย –
วันนี้ (22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020) ไทเปอากาศดี ฝนไม่ตก แดดก็ออก ฉันเลยได้ฤกษ์ไปงานเทศกาลลอยกระทงที่เทศบาลนครไทเปจัดขึ้นที่ Chengmei Riverside Park (成美左岸河濱公園 – เฉิงเหม่ยจั่วอั้นเหอปิงกงหยวน) ตรงช่วงบริเวณ Rainbow Bridge (彩虹橋 – ไฉ่หงเฉียว) อันว่างานเทศกาลลอยกระทงที่ในภาษาจีนกลางเรียกว่า ‘水燈節 – สุ่ยเติงเจี๋ย’ นี้ จัดได้ว่าเป็นงานประจำปีที่ทางเทศบาลนครไทเปเป็นโต้โผจัดขึ้นเป็นปีที่สี่แล้ว
เอ ไม่แน่ใจว่าฉันเคยเล่าให้ฟังบ้างไหม มีชาวไต้หวันเป็นจำนวนไม่น้อยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ ซึ่งบรรดาคู่สมรสชาวต่างชาตินี้มีคำศัพท์เฉพาะเรียกว่า ‘新住民 – ซินจู้หมิน’ ถ้าแปลกันตรงตัวเป๊ะก็คือ ผู้อยู่อาศัยใหม่ ฉันเองก็จัดเป็นซินจู้หมินกะเค้าเหมือนกันนะ แต่อาจจะเก่า (หรือแก่😅) ไปหน่อยเพราะอยู่มานานพอสมควร ฮ่าๆ😄 โดยมากแล้วซินจู้หมินหลักๆ ก็มาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถวๆ บ้านเรานี่ล่ะ รองลงมาก็น่าจะเป็นชาวเกาหลีและญี่ปุ่น ชาวตะวันตกก็มีบ้างประปราย และเมื่อแต่งงาน มีลูก (ซึ่งเรียกกันว่า ‘新住民第二代 – ซินจู้หมินตี้เอ้อไต้’ = ผู้อยู่อาศัยใหม่รุ่นที่สอง) กันเป็นจำนวนเยอะพอสมควร ทางรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลกลางหรือเทศบาลนครทั้งหลาย จึงต้องให้ความสนใจกันหน่อย มีการบริหารจัดการต่างๆ เช่น บรรจุภาษาของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นวิชาเลือกในโรงเรียนประถมของรัฐทั่วเกาะ มีการจัดตั้งสมาคมซินจู้หมิน หรือแม้กระทั่งจัดงานประเพณีของชาติซินจู้หมินต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ลูกครึ่งเหล่านี้ และชาวไต้หวันที่สนใจในวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ
เนื่องจากเทศกาลลอยกระทงเป็นวัฒนธรรมของชาติไทยเรา ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ดังนั้น งานเทศกาลลอยกระทงวันนี้จึงมีประเทศไทยของเราเป็นนางเอก แต่จะจัดงานแล้วมีซุ้มของชาติเดียว มันก็ออกจะหงอยๆ ไปหน่อยนะ ว่าแล้วก็เชิญประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรามาร่วมสนุกกันด้วยดีกว่า
วันนี้ฉันเลยได้เห็นชาวประชาเพื่อนบ้านทั้งหลาย ใส่ชุดประจำชาติเดินกันขวักไขว่พอสมควร มีทั้งชุดอ่าวหญ่าย (Ao dai) ของเวียดนาม ชุดเกบาย่า (Kebaya) ของอินโดนีเซีย ส่วนหนุ่มๆ ในซุ้มของฟิลิปปินส์ก็ใส่ชุดบาร็อง ตากาล็อก (Barong Tagalog) ที่ฉันดูแล้วออกแนวประยุกต์เล็กน้อย เพราะดูเหมือนจะไม่ได้ตัดด้วยผ้าใยสับปะรด ส่วนซุ้มไทยเราก็ไม่แพ้ชาติใดค่ะ จัดเต็มกันพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นของแจกในงานสำหรับคนที่แวะเยี่ยมเก็บแสตมป์ครบทุกซุ้ม หรือขนมไทยๆ ให้ลองชิมกัน
แล้วก็แน่นอนค่ะ… แฟชั่นชุดไทยของเรา ที่ฉันชอบที่สุดคือเสื้อของน้องคนหนึ่งในซุ้มไทยเรา น้องเขาทำหน้าที่สอนทำพวงกุญแจกระทง DIY ให้คนที่มาชมงานอยู่น่ะค่ะ เห็นด้านหลังของเสื้อน้องที่ดูแล้วคล้ายเสื้อม่อฮ่อม มีเขียนคำว่า ‘ลูกหลานไทย’ ตัวเบ้อเริ่ม😍 แต่พอเดินอ้อมไปดูด้านหน้า ตัวกระดุมเป็นกระดุมขัดแบบสไตล์จีนค่ะ เก๋จริงๆ ช้อบชอบ อิฉันชักอยากได้มั่ง😜 คนเข้ามาทำกันเยอะมาก คิวยาวเหยียด น้องเขาวุ่นหัวหมุนทีเดียว ฉันเลยได้แต่แอบถ่ายรูปด้านหลังของเสื้อมา ไม่อยากรบกวนน้องเขา
นอกจากซุ้มโชว์อาหารการกินและสินค้างานหัตถกรรมเหล่านี้แล้ว ก็ยังมีการแสดงฟ้อนรำของแต่ละชาติบนเวที มีมุมเกมส์ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็คือทดสอบความรู้เกี่ยวกับชาติต่างๆ แบบง่ายๆ เช่น จับคู่แลนด์มาร์กของประเทศทั้งหลาย หรือจับคู่อาหารจานเด็ด ฯลฯ แต่ที่ฉันดูแล้วสนุกสุดๆ ก็คือ สอนเตะตะกร้อ คนดูอาจจะคิดว่าไม่ยาก ฉันเคยลองเตะสมัยอยู่ปีหนึ่งที่ธรรมศาสตร์ จะเตะให้ไปในทิศทางที่ต้องการนี่ยากนะคะ😁
แต่ที่สะดุดตาฉันอย่างจังคือตรงบริเวณซุ้มของไทยเรา มีโต๊ะนึงแขวนป้ายไว้ว่า Thai Culture Association of Taipei อ่านป้ายครั้งแรกก็งงๆ ว่า นี่มันสมาคมอะไรหว่า ไม่เคยได้ยินเลยแฮะ แล้วเสื้อทีมก็น่ารักจัง เป็นเสื้อยืดสีขาวสกรีนน้องช้างหน้าตาน่าเอ็นดู ใช้งวงโบกธงไทยกับไต้หวัน แถมมีคำว่าไทยพร้อมหัวใจน้อยๆ อยู่เคียงข้างอีกตะหาก
คุณนายฮวงเลยสวมวิญญาณนักข่าวหัวเห็ด😆 ถามอาหมวยสองคนที่ยืนอยู่ด้านข้างว่าเป็นสมาคมอะไรกันเหรอจ๊ะ แล้วของบนโต๊ะนี่คืออะไร ให้เล่นเกมส์เหรอ หมวยทั้งสองคงจะงงเล็กๆ กะอิป้าเหมือนกัน ก็หน้าตาดูออกจะเป็นคนท้องถิ่น แล้วอ่านหนังสือไม่ออกรึยังไง เลยถามป้ากลับว่า ถามทำไม อิฉันเลยต้องแนะนำตัวว่า เป็นคอลัมนิสต์ของนิตยสารออนไลน์ที่เมืองไทยจ้ะ อยากได้ข้อมูลไปเขียนคอลัมน์น่ะ หมวยยื่นโทรศัพท์มือถือมาให้เลยค่ะบอกว่า เปิดให้ดูหน่อยนิตยสารอะไร เฮ้ย หมวยมีคีย์บอร์ดภาษาไทยในมือถือด้วยอะ หรือนางจะเป็นซินจู้หมินตี้เอ้อไต้ล่ะเนี่ย ฉันเลยถามเป็นภาษาไทยว่า เป็นคนไทยเหรอคะ นางตอบกลับเป็นภาษาไทยสำเนียงแปร่งๆ นิดๆ ว่า ไม่ใช่ ฉันเปิดเฟซบุ๊กเพจอ่านเอาให้นางดู เปิดหน้าคอลัมน์ของอิฉันในเว็บให้ดู ตานี้หมวยเลยหันไปสะกิดอาเจ็กที่ยืนอยู่ด้านหลังโต๊ะนั้นเรียกให้ออกมาบอกว่า มีนักข่าวจะมาสัมภาษณ์
ที่แท้อาเจ็กคือหัวหน้าชมรมคนรักวัฒนธรรมไทย (泰國文化體驗社 – ไท่กั๋วเหวินฮว้าถี่เอี้ยนหุ้ย จากชื่อภาษาจีน ขอแปลประมาณนี้ละกันนะคะ) อาเจ็กอธิบายให้ฉันฟังอย่างกระตือรือร้นว่า ชมรมนี้เป็นชมรมหนึ่งของวิทยาลัยชุมชนซงซัน (Songshan Community College) สมาชิกมีทุกช่วงอายุ ตั้งแต่วัยรุ่นน้อยๆ ไปจนวัยรุ่นใหญ่หน่อยเช่นอาเจ็กนี่ล่ะ แล้วก็จากหลายวิทยาลัยชุมชนด้วยกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่จากเขตซงซันเท่านั้นนะ สมาชิกทั้งหมดคือชาวไต้หวันที่ชื่นชอบประเทศไทย ทางชมรมมีจัดคอร์สสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย (โดยอาหมวยทั้งสองที่ฉันถามครั้งแรกนั่นก็คือ ครูสอนให้ชมรมนั่นล่ะ โห หมวยไต้หวันสอนภาษาไทย😮👍) ซึ่งไม่ใช่แค่สอนในชั้นเรียนแค่นั้นนะ มีพาไปศึกษานอกสถานที่ด้วย เช่น พาไปกินอาหารไทย พาไปชมที่ฝึกสอนมวยไทยแถวเมืองจงลี่ ใครสนใจอยากลองเรียนดูก็ได้ แถมปีที่แล้ว อาเจ็กนำทีมมาเที่ยวเมืองไทยกันแบบชิลๆ อีกตะหาก แล้วเสื้อทีมน้องช้างโบกธงคู่นี้ อาเจ็กก็บอกว่าสั่งทำจากเชียงใหม่ โอ้ แม่เจ้า เชื่อแล้วค่ะว่า ชมรมนี้รักเมืองไทยจริงๆ😉😊
คุยๆ กันอยู่ นายกเทศมนตรีไทเปก็มาถึงเพื่อทำพิธีเปิดงาน คุณนายฮวงเลยต้องสวมวิญญาณนักข่าวจริงๆ ละ😆 วิ่งตามขบวนนักข่าวไต้หวัน พยายามชูมือถือสูงๆ เข้าไว้ ถ่ายรูปแชะๆๆๆ ไปเรื่อยไว้ก่อน ชัดไม่ชัดไม่สนอะ ฮ่าๆ หลังจากที่นายกเทศมนตรีกล่าวเปิดงานจบ ก็มาถึงคิวของฝ่ายไทยเรากล่าวตอบ ท่านรองผู้อำนวยการสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) ได้กล่าวขอบคุณทางเทศบาลนครไทเปที่จัดงานนี้ และได้เล่าถึงความเป็นมาของประเพณีลอยกระทงให้ฟังกันพอสังเขป จากนั้นก็เป็นรายการให้นายกเทศมนตรีได้ลอยกระทงที่ริมฝั่งแม่น้ำ แต่เพราะเขามีราวกั้นเป็นแนวที่ตรงท่านั้น เลยใช้กระจาดเล็กๆ ที่มีด้ามยาวมากมาช่วย โดยวางกระทงลงไปบนกระจาด แล้วค่อยหย่อนลงน้ำลอยออกไป
อ้ะๆ อย่าเพิ่งคิดว่าจะก่อให้เกิดขยะในแม่น้ำจีหลงนะคะ แหม เมืองไทเปซะอย่าง ฉันเห็นเรือแพยางสองลำลอยอยู่กลางแม่น้ำ ท่าทางเตรียมพร้อมที่จะเก็บกระทงที่คนมาร่วมงานวันนี้จะลอยกัน เก็บซะก่อนที่บรรดากระทงจะลอยตามแม่น้ำไปออกมหาสมุทรแปซิฟิก เคยบอกแล้วไงคะว่า ‘ไต้หวันรักษ์โลก’ 😊
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1