เกี๊ยว
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
บทนี้ท่าทางจะเป็นบทที่มีชื่อบทสั้นที่สุดเท่าที่เขียนมานะเนี่ย ฮิฮิ คืออย่างนี้ค่ะ พอดีเห็นโพสต์ของเพื่อนในเฟซบุ๊ก เป็นวิธีทำเกี๊ยวจีนคลีนคลีน ฉันก็ดูภาพที่อธิบายขั้นตอนวิธีการทำไปทีละภาพ โดยที่ในภาพแรกมีคำว่า ‘餃子 – เจี่ยวจึ’ ตัวเบ้อเริ่มปรากฎอยู่ ดูจนจบมันก็เป็นวิธีการทำ ‘水餃 – สุยเจี่ยว’ ปกตินี่ (ทำไมถึงเรียกว่า เกี๊ยวจีนคลีนคลีน) ด้วยความสงสัยก็เลยถามเพื่อนว่า แล้วมันต่างจากเกี๊ยวไทยตรงไหนเหรอ เพื่อนก็ตอบว่า “ตรงตัวเกี๊ยวแผ่นกลมกับพับจีบมั้ง 555 แต่ทุกทีไส้ทำจะใช้แต่หมูสับ อย่างมากก็เพิ่มผักชีหน่อยนึง ไม่เคยคิดเอาผักเยอะ ๆ ผสมเลย” พออ่านคำตอบของเพื่อนเสร็จ ฉันก็เลยร้อง “eureka😁”
ด้วยความเคยชินมานานพอสมควร จนออกจะลืมๆ ไปว่าที่เมืองไทยจะเรียกว่า ‘เกี๊ยว’ หมดทุกชนิด อาจจะมี เกี๊ยวกุ้ง เกี๊ยวปลา เกี๊ยวทอด เกี๊ยวน้ำ ฯลฯ แต่ที่นี่มันจะมีศัพท์เฉพาะ ที่จะเรียกชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเภท งั้นฉันขออธิบายโดยเริ่มจากคำว่า 餃 ที่ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ‘เจี่ยว’ แล้วภาษาแต้จิ๋วออกเสียงว่า ‘เกี้ยว’ แต่พูดกันไปๆ มาๆ คงเสียงเพี้ยนไปเป็น ‘เกี๊ยว’ ซึ่งความหมายกว้างๆ มันก็ประมาณว่า เป็นแป้งห่อไส้นั่นเอง คนจีนจะเรียกกันทั่วไปว่า ‘餃子 – เจี่ยวจึ’
ตานี้มาถึงเรื่องของความแตกต่างที่ฉันสังเกตเห็นนะคะ คือถ้าเป็น ‘餛飩 – หุนตุ้น’ (คนเกาะนี้นิยมเรียกแบบนี้) หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า wonton นั่นก็คือ เกี๊ยว ที่คนไทยเรารู้จักคุ้นเคยกันนั่นล่ะค่ะ จะเป็นบะหมี่เกี๊ยวน้ำหรือแห้ง ก็แล้วแต่รสนิยมของแต่ละคนนะ ฉันว่าหุนตุ้นแป้งมันจะนิ่มๆ กินแล้วลื่นคอดี แล้วโดยมากจะเป็นแป้งห่อไส้หมูสับปรุงรสอย่างเดียว ส่วน 水餃 – สุยเจี่ยว หรือ 餃子 – เจี่ยวจึ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า dumpling มันคือแป้งห่อไส้หมูสับผสมกับผักสับละเอียด แต่เพราะแป้งมันหนากว่าเลยแข็งไม่ลื่นคอ นี่คือเห็นจากร้านที่ขายในตลาดสดนะคะ เวลาฉันอยากกินสุยเจี่ยวหรือหุนตุ้นขึ้นมา ก็จะไปซื้อที่อาเจ๊ในตลาดเขามาห่อขายสดๆ ตรงนั้นมาต้มกินเอง บางทีไปถึงแผง มันหมดพอดี ก็ต้องยืนรออาเจ๊ห่อให้ใหม่ เลยมีโอกาสได้เห็นข้อแตกต่าง
หุนตุ้นนั้นแป้งจะบางมาก เกือบเหมือนกระดาษเลยทีเดียว แล้วก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ไส้ก็เป็นหมูสับล้วนๆ แล้วอาเจ๊จะห่อเป็นรูปออกกลมๆ แบนๆ หน่อย พับจีบแป้งส่วนที่ไม่มีไส้เป็นด้านบนแบนๆ เช่นกัน ส่วนสุยเจี่ยวนั้น แป้งจะหนากว่ามาก เป็นรูปวงกลม ไส้เป็นหมูสับผสมผักกะหล่ำปลี หรือไม่ก็ผักกุยช่าย (ที่ขายตามตลาดสด หรือตามร้านอาหาร ส่วนใหญ่จะใช้ผักสองชนิดนี้) แต่อาเจ๊ที่ฉันซื้อกันเป็นขาประจำนั้นจะมีไส้หมูสับผสมกะหล่ำปลี+กุยช่ายไว้ด้วยกันเลย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ฉันก็จะซื้อไส้ผสมรวมทุกครั้ง จนอาเจ๊เห็นหน้าปุ๊บก็จะหยิบกล่องไส้ผสมให้เลยโดยไม่ต้องถาม แล้วอาเจ๊ห่อสุยเจี่ยวเป็นรูปทรงออกแนวยาวหน่อย พับๆ จีบๆ ปิดออกแนวตั้ง เวลากินก็แค่เอามาต้มในน้ำเดือด พอมันลอยเท้งเต้งขึ้นมา คุณชายก็จะเติมน้ำดิบลงไปอีกแก้วนึง พอเดือดพลั่กๆ อีกรอบก็ปิดเตาแก๊ส ช้อนสุยเจี่ยวขึ้นมาใส่จาน โรยน้ำมันงากันติด และเพื่อความหอมยั่วน้ำย่อยกันด้วย ฮิฮิ แต่เราสองคนกินกับกระเทียมสดแค่นั้นเองค่ะ ไม่จิ้มซอสอะไรอีก เพราะรู้สึกว่าอาเจ๊ปรุงรสไส้มาเค็มพอแล้ว ส่วนหุนตุ้นนั้นฉันจะลวกให้สุกก่อน แล้วค่อยเอามาใส่ในน้ำซุปกระดูกหมูหรือไก่อีกที ลวกบะหมี่ใส่ด้วย แล้วก็โรยกระเทียมเจียวที่อาเจ๊แถมมาให้ แค่นี้ก็อิ่มอร่อย😋
ส่วนที่คนไทยเรียกเกี๊ยวซ่านั้น ที่นี่เรียกว่า 鍋貼 – กัวเทีย ตอนอยู่อเมริกา เห็นร้านอาหารจีนบางร้านเรียกว่า pot-stick dumpling แต่ตอนกินที่อเมริกาฉันว่าไม่อร่อย มาถึงเกาะนี้กินแล้วชอบมาก เพราะแป้งบาง แล้วก็ตรงฐานกรอบนิดๆ แต่ด้านบนนุ่ม จิ้มซอสที่ร้านตั้งเครื่องปรุงไว้ให้ลูกค้าผสมเองตามใจชอบอีก โอ้โฮ ชอบจริงๆ จบรายการเกี๊ยวหลักๆ ที่มีขายทั่วไปบนเกาะนี้ ตานี้ก็มาขยายความเรื่องราวกันต่ออีกนิด ตามประสาคุณนายฮวงช่างเมาท์เรื่อยเปื่อย😊 ไม่ว่าจะเป็นสุยเจี่ยว หุนตุ้น หรือกัวเทียของเกาะนี้ ไส้มันก็จะมีความหลากหลายกันไปต่างๆนาๆ แล้วแต่แต่ละร้านจะคิดสร้างสรรค์เพื่อดึงดูดลูกค้า
ที่นี่ยังมี 蝦餃 – เซียเจี่ยว แปลว่าเกี๊ยวกุ้ง 魚餃 – อวี๋เจี่ยว แปลว่าเกี๊ยวปลา 蛋餃 – ตั้นเจี่ยว แปลว่าเกี๊ยวไข่ ที่ตัวแป้งจะผสมไข่เป็นสัดส่วนเยอะกว่าแป้ง แต่พวกนี้คนไต้หวันใช้เป็นเครื่องเคราของสุกี้ค่ะ ในซูเปอร์มาร์เกตก็หาซื้อได้ ไปมองหาในตู้อาหารแช่แข็งได้เลย แล้วก็ยังมี 燕餃 – เอี้ยนเจี่ยว อีกด้วย แต่เอี้ยนเจี่ยวของแท้ตามตำรับดั้งเดิมนั้น ว่ากันว่าเป็นอาหารชื่อดังของฝูโจว ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีเชฟชื่อดังคนหนึ่งเอาเนื้อหมูมาบดจนเนื้อเนียน (คล้ายๆ กับเนื้อปลากรายที่เราเอามาทำทอดมันน่ะค่ะ) แล้วผสมแป้งมันเทศลงไปเล็กน้อย เอามานวดทำเป็นแป้งเกี๊ยวห่อไส้หมูสับ แล้วก็เลยกลายเป็นอาหารยอดนิยมไป
ฉันเองเคยได้กินเอี้ยนเจี่ยวเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อนนู้น เวลาคุณเตี่ยมาไต้หวันทีไร จะซื้อแป้งเกี๊ยวแห้งกลับไปทุกที ซึ่งอาเตี่ยบอกว่าคนไต้หวันก็ไม่ได้รู้จักกันทุกคนหรอกนะ นี่เพื่อนอาเตี่ยรู้จักร้านที่ซื้อ ถึงได้พาไปซื้อได้ คุณหม่ามี้ก็เอาเก็บแช่ตู้เย็นไว้ เวลาบ้านเราจะต้มเกี๊ยวกินกัน ก็เอาออกมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วเอาน้ำทาๆ ให้ทั่ว มันก็จะนิ่มขึ้นแล้วก็ห่อหมูสับได้ จากนั้นก็เอาไปลวกให้สุก ใส่ในน้ำซุปกระดูกหมูคาตั๊งที่เคี่ยวเป็นชั่วโมง ใส่ผักกวางตุ้ง อู๊ย! อร่อยขนาดฉันยังจำรสชาติได้จนบัดนี้ ตัวแป้งมันจะมีความหนึบๆ ดึ๋งๆ ไม่เหมือนแป้งธรรมดาเลยค่ะ
พอแต่งงานมาถึงเกาะนี้ ฉันก็รีบถามคุณชายถึงเจ้าแป้งเกี๊ยวแบบพิเศษนี้ แต่ฮีไม่รู้จักค่ะ จนกระทั่งสักประมาณ 8-9 ปีก่อนนี้ได้มั้ง นั่งดูรายการทีวีหนึ่ง พาไปชมภัตตาคารแห่งหนึ่งในไทเปนี่ล่ะ มีเอี้ยนเจี่ยวอยู่ในเมนูด้วย แล้วโชว์วิธีทำให้เห็น เชฟทุบตีเนื้อหมูจนบางเหมือนแผ่นกระดาษเลยค่ะ แล้วก็เอามาห่อไส้หมูสับที่ปรุงรสเรียบร้อย แต่ภัตตาคารนี้ต้องจองล่วงหน้าอย่างเดียวเลยค่ะ ถึงจะได้กิน ไม่รับขาจร ฉันเคยไปเดินหาแต่หาไม่เจอ เลยอดกิน คือรายการหรือข่าวที่ไปสัมภาษณ์พวกร้านอาหารที่นี่ เขาจะไม่มีการเอ่ยชื่อร้านออกอากาศ เพราะจะถือว่าเป็นการโฆษณา ฉันต้องใช้วิธีค้นหาเอาจากชื่อเจ้าของร้าน หรือชื่อเชฟที่ให้สัมภาษณ์ ถ้ามีข้อมูลในอากู๋ก็โชคดีไป ค่อยไปแกะรอย ตามไปชิมได้ อย่างเมื่อสี่ปีก่อน เราไปเที่ยวเกาะหม่าจู่กัน ก่อนไปคุณชายก็ถามอากู๋ ค้นหาร้านอาหารดังๆ ว่ามีอะไรบ้าง มีร้านดังที่ขายเอี้ยนเจี่ยว เลยไปลองกัน ได้เห็นเขากำลังทำแป้งด้วย มีเนื้อหมูผสมจริง แต่ฉันว่าก็ไม่อร่อยเท่าที่เคยกินตอนเด็กๆ อะค่ะ 😞
แล้วก็เคยอ่านๆ เจอนะคะว่า จริงๆ แล้วหุนตุ้นเนี่ยมีหลายชื่อเรียกต่างๆ กันไป แล้วแต่พื้นที่แหล่งไหนค่ะ เช่น ถ้าแถวเสฉวนนั่นเรียกกันว่า ‘抄手 – เฉาโส่ว’ (มีใครเคยกินหงโหยวเฉาโส่ว บ้างไหมคะ มันคือเกี๊ยวราดซอสเผ็ดๆ แบบเสฉวน) ส่วนแถวเทียนจิน ฮ่องกง+มาเก๊า เรียกว่า ‘雲吞 – อวิ๋นทุน’ ถ้าบริเวณหมิ่นหนันมีชื่อว่า ‘扁食 – เปี่ยนสือ’ ฉันว่าจะเรียกกันว่าอะไรก็ตาม ขอให้รสชาติอร่อยเลิศ คุณนายฮวงก็โอแล้วค่ะ😋😄
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1