วัด วัด วัด
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– วัด วัด วัด –
คราวนี้คุณนายฮวงจะพาไปเที่ยววัดกันค่ะ จริงๆ คือลืมเล่าไปเมื่อตอนตรุษจีน😅 ต้องเห็นใจกันนิดนะ สาวน้อยที่ใกล้เข้าคลองหกคนนี้มีเรื่องอยากเล่ามากมาย เลยตกหล่นไปบ้างในบางครั้ง แหะๆ นึกออกก็เลยรีบเล่าซะก่อนดีกว่านะคะ
ช่วงใกล้ๆ ตรุษจีน คนไต้หวันจะไปตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะวัดดังๆ จะมีคนไปทำ ‘安太歲 – อันไท่ซุ่ย’ กันมากเป็นพิเศษ หรือที่คนไทยรู้จักกันว่า ‘ไปทำบุญแก้ชง’ นั่นเอง ที่ไทเปนี่ เวลาเห็นข่าวทีวีเรื่องไปต่อคิวทำอันไท่ซุ่ยกัน โดยมากมักจะเป็นวัด ‘หลงซันซื่อ – 龍山寺’ ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันดี ครั้งแรกสุดที่ฉันไปทำอันไท่ซุ่ยก็ไปที่หลงซันซื่อนี่ล่ะค่ะ เพราะตอนนั้นเพิ่งมาอยู่ได้ไม่นาน ยังไม่รู้จักที่ทางเท่าไหร่ แล้วก็ตอนนั้นเช่าบ้านอยู่ทางเขตปั่นเฉียว ซึ่งบ้านอยู่เลยจากสถานีหลงซันซื่อไปแค่สองสถานี
จากนั้นมา มีเคยตามเพื่อนไต้หวันไปอีกวัดหนึ่ง คือวัด ‘เหวินชังกง – 文昌宮’ ซึ่งเป็นวัดดังเกี่ยวกับการสอบ ช่วงก่อนสอบจะมีนักเรียนนิยมไปไหว้ทำบุญขอให้สอบได้กัน เพื่อนฉันก็คือไปทำบุญเพื่อให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนที่ต้องการได้ แล้วก็เลยได้เห็นว่า ที่วัดนี้มีใบกรอกแยกประเภทกันไปตามจุดประสงค์ของการทำบุญ เขามีป้ายอธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า ประเภทไหนเรียกว่าอะไรบ้าง (มีสี่ประเภท) แล้วก็ช่วงเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง ช่วงไหนเรียกว่าอะไร พร้อมตัวอย่างการกรอกให้ดูเสร็จสรรพ
โดยปกติถ้าจะทำอันไท่ซุ่ยควรไปทำก่อนวันตรุษจีนนะคะ เดี๋ยวนี้ฉันจะทำที่วัดหลังบ้าน เพราะสะดวกและคนไม่เยอะจนต้องไปยืนเข้าแถว ซือเจี่ยที่วัดจะถามชื่อ ที่อยู่ แล้วฉันก็จ่ายเงินตามจำนวนเดือนของปีหน้า ซือเจี่ยออกใบเสร็จมา แล้วบอกว่าเก็บไว้จนถึงวันตรุษจีน ฉันต้องเอาไปถือวนเหนือกระถางธูปสามรอบแล้วเผาในถังที่วางไว้ข้างๆ ตานี้ปกติฉันกลับมากรุงเทพฯ ก่อนตรุษจีน แล้วกลับมาไทเปอีกทีคือหลังตรุษจีน ก็เลยถามซือเจี่ยว่าจะทำยังไงดี เพราะวันตรุษจีนยังอยู่ที่กรุงเทพฯ ซือเจี่ยตอบว่า กลับมาแล้วค่อยเอามาเผาก็ได้ ไม่เป็นไร แต่อย่าให้เกินวันที่ 15 หรือหยวนเซียวเจี๋ยนะ แล้วเมื่อประมาณสองปีก่อนนี้เองที่เพิ่งได้ความรู้ใหม่ เรื่องการทำอันไท่ซุ่ยจากเพื่อนสนิทของคุณชายว่า หลังจากไปทำอันไท่ซุ่ยมาตอนก่อนถึงตรุษจีนแล้ว แต่ละเดือนก็ยังต้องไปไหว้พระที่วัดที่เราไปทำอันไท่ซุ่ยอีกด้วย และอีกอย่างก็คือ เลือกวัดที่จะไปทำอันไท่ซุ่ยควรเลือกวัดที่ใกล้บ้านเรา หรือใกล้ที่ทำงานก็ได้ คอนเซ็ปต์ประมาณว่าวัดที่ใกล้สถานที่ที่เราใช้เวลาส่วนมากในแต่ละวันนั่นเองค่ะ ซึ่งอันนี้ไม่มีปัญหาสำหรับเรา เพราะปกติทำที่วัดหลังบ้านอยู่แล้ว
จบเรื่องการทำอันไท่ซุ่ย ตานี้มาคุยเรื่องวัดกันนะ อาจจะมีคนสงสัยว่าทำไมภาษาจีนเรียกวัดหลายแบบจริง ขออธิบายแบบง่ายๆแล้วกันนะคะว่า ‘ซื่อ – 寺’ คือวัดทางพุทธศาสนา ส่วน ‘กง – 宮’ คือวัดทางลัทธิเต๋า แล้วก็ยังมี ‘เมี่ยว – 廟’ อีก สำหรับเมี่ยวนี่เริ่มแรกใช้เรียกศาลสำหรับบูชาบรรพบุรุษ ภายหลังก็ใช้เรียกในลักษณะของศาลเจ้า (ภาษาอังกฤษคือ shrine) ซึ่งหมายรวมไปถึงสถานที่ที่ใช้สักการะเทพเจ้าและผู้มีชื่อเสียงไปด้วย ที่ไทเปนี่ นอกจากหลงซันซื่อแล้ว ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันมากเป็นอันดับต่อมาคือ ‘สิงเทียนกง – 行天宮’ ซึ่งทั้งสองแห่งนี้ ปกติมีคนไปไหว้พระกันเยอะมาก ทั้งคนไต้หวันและนักท่องเที่ยว สำหรับสิงเทียนกงนั้นคนที่ไปไหว้ส่วนใหญ่จะขอพรเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงาน เพราะเป็นวัดของกวนกง (คนไทยรู้จักในชื่อเทพเจ้ากวนอู) ซึ่งท่านเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ เพื่อนสนิทของคุณชายเคยเล่าให้ฟังว่า ภรรยาของเขาเคยมีปัญหาเรื่องงานค่อนข้างหนักหนาสาหัสพอสมควร พยายามหาทางแก้ วิ่งเต้นหาความช่วยเหลือ ทำอย่างไรก็ยังไม่สามารถหาทางออกได้ เผอิญมีคนแนะนำให้มาไหว้ที่วัดนี้ ขอให้กวนกงท่านช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ เรียบร้อยค่ะ ทุกอย่างราบรื่น ปัญหาหมดไป ความเชื่อตรงนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละท่านนะคะ สำหรับฉันถือคติว่า ไม่เชื่อ ก็อย่าลบหลู่ ไปถึงไหน สิบนิ้ววันทาไว้ ไม่เสียหายค่ะ😊
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า นักท่องเที่ยวมักจะไปชมวัดหลงซันซื่อ (Longshan Temple) กัน เพราะเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดของไทเป (สร้างครั้งแรกในปี ค.ศ. 1738 แต่หลงซันซื่อที่เห็นในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี 1919 สร้างเสร็จในปี 1924) และเป็นวัดที่บ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมของจีนได้อย่างชัดเจนแห่งหนึ่ง แต่โดยมากถ้าเพื่อนคนไหนมาแล้วอยากไปไหว้พระ ฉันจะถามว่าต้องไปที่นักท่องเที่ยวชอบไปกันไหม ถ้าเพื่อนบอกไม่จำเป็น ฉันจะพาไป Bao-An Temple หรือที่ภาษาจีนกลางเรียกว่า ‘เป่าอันกง – 保安宮’ ค่ะ เพราะคนน้อยกว่า คุณจะไหว้พระหรือถ่ายรูปก็สบายกว่ากันเยอะเลย ซึ่งเพื่อนก็ชอบนะคะ โดยส่วนตัวฉันชอบไปเป่าอันกงมากกว่าหลงซันซื่อค่ะ เพราะว่าคนน้อยกว่ามาก ที่หลงซันซื่อฉันต้องคอยระวังหลบธูปที่คนถือให้ดี เลยทำให้รู้สึกว่าการไปไหว้พระนี่เหนื่อยจัง แทนที่จะรู้สึกสบายๆ
เป่าอันกงถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1742 แล้วมีการต่อเติมในปี 1755 เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยในปี 1760 แล้วก็ตามประสาโบราณสถานทั้งหลาย เป่าอันกงได้ถูกบูรณะซ่อมแซมกันมาเรื่อย ครั้งใหญ่ๆ ก็มีในปี 1830 (นี่หมายถึงปีที่การบูรณะเสร็จเรียบร้อยนะคะ) ปี 1868 ปี 1917 และครั้งล่าสุดคือปี 1995 ซึ่งได้มีการระดมทุนจากภาคเอกชนล้วนๆ และกว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี จัดได้ว่าเป็นงานช้างพอสมควร เลยทำให้ประธานในโครงการนี้คือคุณเหลียวอู่จื้อ – 廖武治 ได้รับรางวัล UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards for Culture Conservation ประจำปี ค.ศ. 2003 ไป ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้รับรางวัลจากคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมของไต้หวันในปี 1998 ด้วย ที่เป่าอันกงนี่จะมีแผนผังอยู่ข้างๆ ที่ไว้ธูป บอกว่าควรจะต้องไหว้พระที่ตำแหน่งไหนก่อน มี 7 จุดเห็นจะได้ค่ะ ซึ่งสะดวกสำหรับคนที่ไม่ค่อยรู้พิธีการทางศาสนาอย่างฉัน แถมที่นี่มีห้องสมุดสำหรับให้คนศึกษาหาความรู้ทางศาสนาเพิ่มเติมได้ นับว่าคุณเหลียวอู่จื้อได้คิดมาอย่างรอบคอบทีเดียว มาเยี่ยมชมเห็นด้วยตาแล้ว ถึงเข้าใจว่าทำไมทางยูเนสโกถึงให้รางวัลคุณเหลียว
ไหว้พระที่เป่าอันกงแล้วก็เดินต่อมาชม ‘ข่งเมี่ยว – 孔廟’ กันดีกว่านะ ฉันขอให้คำจำกัดความง่ายๆ เลยนะคะว่าคือ โรงเรียนวัดนั่นเอง ข่งเมี่ยว (หรือแปลเป็นไทยก็คือ วัดของขงจื๊อ) ก็คือโรงเรียนในสมัยโบราณ เผอิญไทเปข่งเมี่ยวอยู่ติดกับเป่าอันกง ฉันเลยขอเรียกโรงเรียนวัดซะเลย😉 ข่งเมี่ยวหรือโรงเรียนแห่งแรกของเกาะนี้อยู่ที่เมืองไถหนัน แต่ข่งเมี่ยวที่ไทเปนี่ก็ไม่เลวนะ สถาปัตยกรรมสวยใช้ได้เลย มีพิพิธภัณฑ์แสดงวิทยาการ 6 สาขาที่สอนโดยขงจื้อ (The Six Arts taught by Confucius) โดยจัดแบ่งให้ชมเป็นห้องๆ ไป …
- Li 禮 (Rites) of the Confucian Six Arts หรือ พิธีกรรม
- Yue 樂 (Music) of the Confucian Six Arts หรือ ดนตรี
- She 射 (Archery) of the Confucian Six Arts หรือ การยิงธนู
- Yu 禦 (Chariot-riding) of the Confucian Six Arts หรือ การขี่รถเทียมม้า
- Shu 書 (Calligraphy) of the Confucian Six Arts หรือ การเขียนพู่กันจีนรวมถึงความรู้ทางอักษรศาสตร์
- Shu 數 (Computation) of the Confucian Six Arts หรือ การคำนวณ
ว่ากันว่าผู้ชายคนไหนที่เป็นเลิศทั้งหมดในหกสาขานี้ ถือเป็นสุภาพบุรุษที่สมบูรณ์แบบเลยเชียวนะ ตอนที่ฉันกำลังชมห้องการขี่รถเทียมม้า ก็นึกถึงชาวนาไทยสมัยก่อนที่ขี่เกวียนเทียมควาย อือ ไม่เคยนึกถึงว่ามันจะเป็นศิลปะอย่างหนึ่งเลยเนอะ😄
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1