ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร –
ที่ไต้หวันมี ‘做月子中心 – จั้วเยว่จึจงซิน’ หรือแปลเป็นไทยตรงตัวก็คือ ศูนย์อยู่เดือน สำหรับผู้หญิงที่เพิ่งคลอดลูกด้วย ตอนมาถึงได้ไม่นาน คุณชายก็พาฉันไปเยี่ยมเมียของเพื่อนสนิทตั้งแต่เด็ก เขาเพิ่งคลอดลูก เราก็ไปเยี่ยมกันที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งแถวๆ Taipei Main Station พอไปถึงเราเสียเวลาเล็กน้อยในการหาห้องพักฟื้นของเพื่อน เพราะว่าเขาเพิ่งย้ายจากวอร์ดคลอดลูกมาเข้าศูนย์พักฟื้น นั่นเป็นครั้งแรกที่ฉันได้รู้จักศูนย์พักฟื้น จำได้ว่าตอนนั้นคือรู้สึกแปลกใจเล็กๆ ว่า ประเทศนี้มีธุรกิจแบบนี้ด้วยแฮะ อือ สะดวกดีเหมือนกันนะ จะว่าไป เพราะอย่างกรณีของเพื่อนคุณชาย คือบ้านเดิมอยู่ที่ทางใต้กันทั้งสามีและภรรยา พ่อแม่ญาติพี่น้องก็ยังอยู่กันทางโน้นหมด ดังนั้น จึงไม่มีญาติผู้ใหญ่มาช่วยดูแลเรื่องการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังคลอดได้ พักฟื้นอยู่ศูนย์ก็ไม่เลวนะ
แล้วก็เคยเห็นข่าวทีวีว่า ที่แถวภาคกลางมีจั้วเยว่จึจงซินแห่งหนึ่ง ตกแต่งด้วยธีมเฮลโล คิตตี้ จำได้ว่าในภาพข่าวที่นำเสนอ มันน่ารักไปหมด ตั้งแต่ห้องพัก ข้าวของเครื่องใช้ของบรรดาเบบี้ทั้งหลาย เห็นแล้วอยากคลอดลูกมั่ง ฮ่าฮ่าฮ่า พอมารู้จักพวกเพื่อนคนไทยที่แต่งงานมาอยู่ที่นี่เหมือนกัน ก็เลยได้รู้รายละเอียดเพิ่มมากขึ้น น้องแอน (อดีตนางฟ้าคนสวยแห่งสายการบินญี่ปุ่น) คุยให้ฟังถึงประสบการณ์การคลอดลูกคนแรกที่โรงพยาบาลไถอัน – Taiwan Adventist Hospital (โรงพยาบาลนี้รู้สึกว่าชาวไทเปนิยมไปคลอดกันนะ เห็นหลายรายเลย) ที่นี่จั้วเยว่จึจงซินเป็นตึกอยู่ติดกันกับตึกของโรงพยาบาล คุณสามีของน้องจัดการซื้อคอร์สอยู่เดือนให้ เพื่อความสะดวกและมั่นใจว่าอยู่ใกล้หมอ (ตามประสาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่น่ะ) จริงๆ ตั้งแต่ตอนก่อนคลอด น้องแอนก็ไปลงเรียนคลาสโยคะสำหรับคนท้องก่อนเลย มีคลาสปั่นจักรยานเบาๆ ออกกำลังอีก (คลาสพวกนี้จ่ายเงินเป็นครั้งๆ ไป) เตรียมตัวเต็มที่เพื่อเป็นคุณแม่ ทางศูนย์มีบริการทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ครบวงจรดีมาก หรือถ้าจะแค่สั่งอาหารบำรุงหลังคลอดให้ไปส่งที่บ้าน ไม่อยู่เดือนที่ศูนย์ก็ได้นะ เขามีบริการส่งอาหารให้ถึงบ้าน👍👍
น้องแอนเล่าว่า พยาบาลจะเข้ามาตรวจดูทุกวัน คอยเช็กอุณหภูมิร่างกาย+วัดความดัน แล้วพอถึงกำหนดที่มีนัดหมอตรวจ คุณหมอที่ทำคลอดให้ก็มาตรวจเยี่ยมถึงห้องที่ศูนย์เลย สะดวกมาก (ฉันว่าตัดสินใจถูกแล้วที่เลือกที่นี่) มีอาหารให้กินวันละ 5 มื้อ ถึงแม้ว่าอาหารที่นี่เป็นอาหารเจก็ตาม แต่มีนักโภชนาการคอยดูแลให้คุณแม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน ส่วนตัวน้องแอนก็มีหน้าที่คอยจดเอาไว้ว่า ให้นมลูกตอนกี่โมงบ้าง เปลี่ยนผ้าอ้อมตอนกี่โมงบ้าง ถ้าแม่ต้องการเอาลูกไว้กับตัวทั้งวันก็ได้ ขึ้นอยู่กับแม่ หรือจะเอาลูกมานอนด้วยก็ยังได้ แต่จริงๆ คอนเซ็ปต์ของธรรมเนียมการอยู่เดือนคือ อยากให้แม่ได้พักผ่อนเต็มที่ในตอนกลางคืน จึงสนับสนุนให้เอาเบบี้นอนที่ห้องเด็กอ่อน บรรดาแม่ๆ ไต้หวันจึงให้นมลูกแล้วส่งลูกกลับไปอยู่กับพยาบาล (ยังไงก็จ่ายเงินไปตั้งเยอะน่ะ) มีพยาบาลคอยดูแลตลอดเวลาดีกว่า น้องแอนยังเล่าอย่างขำตัวเองว่า “แอนเห่อลูก ขอเอาลูกมานอนด้วยคืนแรก แม่สามีก็เตือนแล้วว่า อย่าเลย แต่แบบเห่อไงคะพี่ ลูกคนแรกขอเอามานอนด้วยเถิด ปรากฏว่าลูกร้องกวนทั้งคืน แอนแทบไม่ได้นอน ต่อจากนั้นเลยให้ลูกไปนอนห้องเด็กอ่อนตลอดเลย😆”
ในห้องมีทีวีให้ดู แล้วถ้าอยากดูลูกที่อยู่ห้องเด็กอ่อน ก็แค่เปลี่ยนช่องไปช่องของทางศูนย์ เช็กดูได้ตลอดเวลาว่าลูกเราเป็นยังไงบ้าง ถ้าคิดถึงลูก โทร.ไปบอกให้เขาเข็นลูกมาให้ เล่นกับลูกเสร็จเราก็เข็นไปคืนที่ห้องเด็กอ่อนเอง ตอนที่เขาจะเอาลูกมาให้กินนม เขาก็จะโทร.มาบอกก่อนเช่นกัน ครั้งแรกสุดเลยมีการสอนวิธีให้นมลูก คือ ไอ้หนูอีหนูเองเพิ่งออกมาจากท้องแม่ ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะกินนมยังไง (มือใหม่พอกัน ฮ่าฮ่าฮ่า) พยาบาลก็จะสอนแม่ว่า วิธีให้ลูกงับหัวนมต้องทำยังไง ซึ่งน้องแอนบอกว่า “แอนทำเองไม่ได้สักที เรียกพยาบาลมาช่วยประจำเลยพี่ เขาก็ใจเย็นนะ มาสอนให้ตลอดจนแอนคล่อง แล้วก็วิธีนั่งให้นมลูกไม่ให้เมื่อย ต้องวางหมอนตัวยูบนตักเรา แล้วเอาลูกวางยังไง สอนหมด” ถ้าเวลามีคนมาเยี่ยม ต้องออกไปพบกันที่ข้างนอกห้อง แต่ตอนท้องที่สอง สามีพาลูกคนโตมาเยี่ยม พอลูกกลับไป ก็มีคนมาทำความสะอาดห้อง ใช้แอลกอฮอล์เช็ดฆ่าเชื้อโรค ดีจังเลยนะคะ กันไว้ดีกว่าแก้ แล้วระหว่างอยู่เดือนทางศูนย์มีบริการนวดตัว สระผม ให้คุณแม่ที่รักสวยรักงามจ่ายเพิ่มได้ค่ะ ถ้าแม่สบายทั้งกายและใจ ฉันว่าก็ดีกับลูกนะคะ แม่อารมณ์ดีสดชื่นแจ่มใส ลูกรู้สึกได้ ก็พลอยอารมณ์แจ่มใสไปด้วย นี่เดาเอาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เคยเรียนมานะ ไม่เคยเป็นแม่คนนี่คะ อิอิ
ช่วงกลางคืนพยาบาลจะให้น้องแอนปั๊มนมเอาเก็บไว้ให้ลูกกิน ทางศูนย์มีเตรียมน้ำสมุนไพรให้ดื่ม เพื่อให้แม่มีน้ำนมเยอะๆ น้องแอนบอกว่าสีคล้ายๆ น้ำชา รสชาติก็พอไหว แถมสามีมานอนเป็นเพื่อนน้องแอนด้วยอีก น้องแอนบอกว่าอยู่อย่างสุขสบายดีค่ะ เพียงแต่คิดถึงบ้าน แอนเลยอยู่แค่สามอาทิตย์แล้วขอกลับบ้าน ซึ่งทางศูนย์ก็คืนเงินส่วนของหนึ่งอาทิตย์กลับมาให้ไม่มีปัญหา ฉันฟังแล้วยังพูดกับแอนเลยว่า “เออ ดีแฮะ ไม่มีโยกโย้ว่าเราจองไว้เองเดือนนึง อยู่ไม่ครบมันก็เรื่องของเรา ไม่ใช่ความผิดของทางศูนย์” แอนตอบกลับว่า “ไม่หรอกพี่ แอนเช็กเอาต์ ก็มีห้องให้คนใหม่เข้ามาได้ไง พี่ไม่รู้อะไร คนรอคิวเข้ากัน อย่างตอนแอนท้องลูกคนที่สองนะ แอนจองที่ไถอันไม่ได้ เขาเต็มแล้ว ขนาดแอนขอจองตั้งแต่ตอนรู้ตัวว่าท้องนะ ไปหาหมอตรวจครั้งแรกขอจอง เขาบอกเต็มแล้ว” ฉันอ้าปากค้าง “โห ขนาดนี้เลยเหรอ” น้องแอนเลยอธิบายต่อให้ฟังว่า “คือที่ไต้หวันเขาจะเน้นให้คลอดแบบธรรมชาติไงพี่ พอเรารู้ว่าท้องปุ๊บก็หาที่เตรียมไว้ได้เลย กะประมาณเวลาเอาคร่าวๆ มันก็ต้องมีคลาดเคลื่อนกันบ้าง ถ้าเกิดเราคลอดแล้วเกิดทางศูนย์เขาเต็ม ก็ต้องรอกันไป ตานี้แอนออกก่อนกำหนด เขาก็ให้คนอื่นเข้าอยู่แทนได้เลย ไม่มีปัญหา” พอวันสุดท้าย พยาบาลเข้ามาสอนวิธีอาบน้ำให้ลูก แล้วให้น้องแอนทำเอง จบครบกระบวนการอยู่เดือน จากนั้นกลับบ้านก็ต้องลุยเองแล้วค่ะ💪😉
แต่พอตอนคลอดลูกคนที่สอง น้องแอนบอกมีประสบการณ์แล้ว ไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่ ที่ไถอันเต็มก็มาอยู่จั้วเย่จึจงซินของเอกชนที่ใกล้ๆ บ้าน ซึ่งบริการก็ไม่ได้ต่างกันมากนัก แค่ไม่มีหมอประจำการเท่านั้นเอง แต่มีพยาบาลดูแลไม่ต่างจากที่โรงพยาบาลไถอัน แล้วอาหารไม่ใช่อาหารเจ ส่วนเรื่องราคาก็แพงกว่าที่ไถอันนิดหน่อย คอร์สหนึ่งเดือนตกประมาณสองแสน (น้องแอนบอกว่าคิดว่าจำไม่ผิดนะ) แต่หนนี้ต่อให้แพงกว่าไถอัน น้องแอนบอกว่า “แอนอยู่จนครบเดือนเลยพี่ อยากจะขออยู่ต่อด้วยซ้ำ เพราะรู้แล้วว่ากลับบ้านไปเลี้ยงลูกเองคนเดียวนี่เหนื่อยมากกกกก😆”
คนไต้หวันไม่ได้จ่ายเงินแพงตอนคลอดลูก เพราะมีเจี้ยนเป่าช่วยจ่ายให้ แต่มาแพงตรงจ่ายเงินค่าอยู่เดือนนี่ล่ะ (แต่ฉันคิดว่าราคาของแต่ละศูนย์ คงขึ้นอยู่กับความหรูหราของสถานที่และบริการ) นี่ขนาดแค่อยู่เดือนนะ เพราะฉะนั้น ที่มีคำกล่าวว่า มีลูกหนึ่งคนจนไปเจ็ดปี ฉันว่าน่าจะเกินมั้งน่ะ😅 เลยไม่ประหลาดใจเลยว่า ทำไมถึงมีข่าวว่าอัตราเกิดลดลง ถึงขั้นรัฐบาลมีนโยบายให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนให้คนมีลูกกันเลยทีเดียวเชียวนา แต่เงินที่ให้พอจ่ายค่าอยู่เดือนได้วันเดียวมั้ง😅
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1