ไต้หวันรักษ์โลก
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– ไต้หวันรักษ์โลก –
นอกจากเรื่องการแยกชนิดขยะทิ้งที่ได้เคยเล่าไปแล้วในบท ‘บ้านในไต้หวัน 2’ รัฐบาลไต้หวันยังมีนโยบายและวิธีปฏิบัติด้านอื่นๆที่จะรักษาสภาพแวดล้อมของเกาะแห่งนี้ให้น่าอยู่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อประมาณสองสามเดือนก่อนนี้ ได้เห็นข่าวทางทีวีว่าทางเทศบาลนครเมืองไถจง (เมืองใหญ่อันดับสามของประเทศ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกประมาณกลางเกาะ) ได้เริ่มทดลองเปิดดำเนินการโรงแปรรูปขยะประเภท compost ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า
ตอนดูข่าวนี่อึ้งไปเลยค่ะ เพราะการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำเรื่องนี้นี่ต้นทุนสูงมากนะ โอ้โฮ รัฐบาลยอมลงทุนขนาดนี้ มีกี่หัวแม่โป้งฉันก็ยกให้หมดเลย เคยดูสารคดีส่วนใหญ่จะเป็นประเทศทางแถบสแกนดิเนเวียที่ลงมือทำกันแบบจริงจัง ไม่เคยคิดเลยว่าไต้หวันจะยอมทุ่มเม็ดเงินทดลองทำ แต่อันที่จริงฉันว่าก็เหมาะที่จะทำนะ เพราะที่นี่มีภัตตาคารประเภทบุฟเฟต์เยอะมาก
จำได้ว่าตอนมาถึงใหม่ๆ ฉันเห็นจำนวนภัตตาคารบุฟเฟต์ที่นี่แล้วรู้สึกขัดอกขัดใจ คือฉันถูกเลี้ยงมาด้วยแนวคิดที่ว่า การกินทิ้งกินขว้าง (แทบจะจัด) เป็นบาปชนิดหนึ่งทีเดียว แล้วถ้าดูจากปริมาณอาหารที่ทิ้งในแต่ละวัน ฉันคิดว่าน่าจะมากเกินเอาไปทำปุ๋ยหรือเป็นอาหารหมูนะ ตามข่าวบอกว่า ทางเมืองเถาหยวนก็กำลังจะเปิดทดลองดำเนินการเหมือนกัน ถ้าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ฉันคิดว่าคงมีการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังอาหารเหลือทิ้งเพิ่มขึ้นอีกแน่ๆ (ฟังชื่อแล้วออกจะทะแม่งๆ อยู่นา อิอิ😉) ดีใจ๊ดีใจ😊 ด้วยโครงการนี้ จึงทำให้เทศบาลนครไถจงได้รับรางวัลจากกรมรักษาสภาพแวดล้อมของไต้หวัน (Environmental Protection Administration, Executive Yuan)
พูดกันถึงเรื่องไฟฟ้า เกาะนี้ทำฉันแปลกใจอีกเรื่องคือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ก็เกาะนี้ฝนตกแทบตลอดปี ไม่น่าเชื่อว่าจะเห็น solar panel ตามถนนฟรีเวย์ โดยเฉพาะตั้งแต่กลางเกาะลงไปถึงทางใต้ จะเห็นเยอะอยู่ ฉันเห็นแผงพลังงานแสงอาทิตย์อยู่กลางทุ่งนาเป็นพรืดเลยทีเดียว เสาและป้ายไฟบนฟรีเวย์ก็ใช้แผงพลังแสงอาทิตย์เช่นกัน ตอนแรกฉันคิดว่ามีการใช้พลังงานจากธรรมชาติแค่กระแสลมซะอีก เพราะตอนอยู่เมืองซินจู่ได้เห็นกังหันลมผลิตไฟฟ้าเรียงรายอยู่ริมทะเลเต็มเลย ใครจะคิดล่ะคะว่าประเทศที่ฝนตกแทบตลอดปี จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ด้วย
นอกจากเรื่องพลังงานแล้ว ที่ทำให้ฉันประทับใจอีกคือ เรื่องการดูแลมลภาวะทางอากาศ ไทเปได้เริ่มทดลองใช้รถเมล์พลังงานไฟฟ้าล้วนๆ มาได้ปีนึงแล้วคือ สายเบอร์ 66 วิ่งระหว่างสวนสัตว์ไทเป-สถานีรถไฟซงซัน เป็นเส้นทางกลางๆ ไม่ใกล้ไม่ไกลจนเกินไป ส่วนพวกรถเมล์ไฮบริดนี่มีหลายสายเลยค่ะที่เห็น (แบบนี้ใช้มาหลายปีแล้ว) ว่าก็ว่าเถอะขอเปรียบเทียบนิดเถอะนะ เมืองไทยเราเคยมีนโยบายรถคันแรกใช่ไหมคะ ซึ่งฉันว่าแปลกดี รถติดจะแย่แล้ว ยังให้ subsidy เพื่อซื้อรถมาเพิ่มบนถนนอีก ควรจะเอาเงินนี้มาปรับปรุงทำระบบขนส่งมวลชนให้ดีขึ้นจะดีกว่านะ ซึ่งต่างจากรัฐบาลไต้หวัน ที่พยายามใช้นโยบายเรื่องลดราคามาชักชวนให้คนใช้บริการขนส่งมวลชน (อย่างที่เคยเล่าให้ฟังไปในบทระบบขนส่งมวลชน) นอกจากชักชวนให้คนหันมาใช้รถเมล์ต่อรถไฟฟ้าแล้ว (แถมต่อจักรยาน U-bike อีกด้วย) รัฐยังมีนโยบายเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ด้วยการให้เงินสนับสนุนผู้มีรถยนต์และรถสกู๊ตเตอร์ (บ้านเราเรียกรถเครื่อง) เปลี่ยนรถใหม่ ที่เคยเล่าไปแล้วว่า รถที่อายุเกิน 5 ปีต้องตรวจสภาพรถทุกปีก่อนต่อทะเบียน รถฉันอายุเกิน 10 ปีต้องตรวจสภาพทุกหกเดือน ซึ่งก็ต้องจ่ายค่าตรวจสภาพอีกด้วย และแล้วเมื่อคำนวณบวกลบคูณหารค่าซ่อมบำรุงบวกค่าตรวจสภาพปีละสองครั้ง ท่าทางจะไม่คุ้มซะแล้ว จอมงกอย่างคุณนายฮวงจึงออกไอเดียกับคุณชายว่า เรามาสนองนโยบายรัฐบาลกันเถอะ ที่รัก เปลี่ยนรถกันเถอะจ้ะ ในเมื่อจะได้เงิน subsidy จากรัฐตั้งห้าหมื่นเชียวนา
พอเอาคุณแก่ของเราไปแลกซื้อรถใหม่มาถึงได้รู้ว่าไม่ใช่แค่ห้าหมื่นนะจ๊ะ ยังจะมีค่าตัวของคุณแก่เราที่จะกลายสภาพเป็นเศษเหล็กชั่งกิโลขายอีกประมาณแปดพันแน่ะ โอ้ แค่ไม่อยากให้มีรถแก่ๆ วิ่งปล่อยควันพิษอยู่บนถนน รัฐบาลยอมจ่ายเงินขนาดนี้เชียวเหรอ ดังนั้น ราคารถที่เคยคิดว่าจะจ่ายเท่าไหร่ หักไปได้อีกห้าหมื่นแปดเลยจ้า เราคิดๆ แล้วยังไงก็ดีกว่าที่จะซ่อมนู่นนี่ไปเรื่อย (จริงๆ ก็ซ่อมไป… ไม่ใกล้แสนก็เกินแสนไปหน่อยแล้วล่ะ) แล้วตอนขายเป็นรถมือสองจะได้ราคาถึงหกหมื่นรึเปล่าก็ไม่รู้ ตลาดรถมือสองที่นี่ราคาไม่ฟู่ฟ่าแบบเมืองไทยค่ะ ซื้อรถที่นี่แล้วต้องทำใจเลยว่า เงินคุณหายไปแล้ว มูลค่ารถลดหายไปปีละประมาณแสน
ส่วนสกู๊ตเตอร์ที่เป็นพาหนะหลักของชาวเกาะนี้ รัฐก็ให้เงินสนับสนุนเช่นกัน โดยเฉพาะถ้าเปลี่ยนเป็นรถพลังงานไฟฟ้านี่จะให้มากหน่อย รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ายี่ห้อแรกที่เป็นหัวหอกนำร่องบุกเบิกตลาดแบบจริงจังคือ Gogoro ที่ตอนเปิดตัวราคาแพงมาก (8-9 หมื่น) คอนเซ็ปต์มาในรูปแบบสกู๊ตเตอร์ดีไซน์สวยแนวรักษ์โลกใช้พลังงานไฟฟ้า แต่ใครจะซื้อ แพงด้วย แบตเตอรี่ก็ต้องไปเปลี่ยนตามจุด ชาร์จเองไม่ได้อีก แถมต้องจ่ายรายเดือน (ค่าแบตเตอรี่) เหมือนโทรศัพท์มือถือ คือใช้หรือไม่ใช้คุณก็ต้องจ่ายทุกเดือน (ถ้าเป็นรถแบบเติมน้ำมัน คุณไม่ใช้บ่อยๆ ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเติมน้ำมันเท่าไหร่นะ) ไม่สะดวกเอาเสียเลย สักพักก็แก้ปัญหาวางแผนการตลาดใหม่ ด้วยการร่วมมือกับภาครัฐ เริ่มจากนักศึกษาซื้อได้ราคาถูกลงนิดนึง แล้วเซ็นสัญญากับ “中油~จงโหยว” = ป.ต.ท.บ้านเรา ให้มีจุดเปลี่ยนแบตเตอรี่ในปั๊มจงโหยวทุกแห่ง (แต่ข่าวที่เห็นล่าสุด ทางจงโหยวไม่ต่อสัญญากับ Gogoro แล้ว เปลี่ยนเป็นสกู๊ตเตอร์ยี่ห้อเก่าแก่ที่กระโดดลงมาเล่นตลาดสกู๊ตเตอร์พลังงานไฟฟ้าแทน ก็ไม่รู้ว่าตอนนี้คนที่ใช้ Gogoro จะเปลี่ยนแบตเตอรี่สะดวกไหม) ล่าสุดที่รู้ข่าวมาคือ ถ้าใครอยากซื้อก็มีส่วนลดราคาให้หลายหมื่นอยู่ แต่ละเมืองส่วนลดไม่เท่ากัน อย่างไทเปถ้าเอาสกู๊ตเตอร์เก่าที่ใช้พลังน้ำมันมาแลกซื้อจะได้เงินสนับสนุนเป็นส่วนลด 21,000 หยวน ถ้าซื้อใหม่เลยส่วนลดได้แค่ 18,000 หยวน แต่ถ้าเมืองเถาหยวนเงินสนับสนุนเป็น 34,000 กับ 29,000 หยวนตามลำดับ ไม่รู้ใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวตัดสินเรื่องเงินสนับสนุนส่วนลดตรงนี้ เดาไม่ออก งงเหมือนกันค่ะ ส่วนยี่ห้ออื่นที่ลงมาเล่นตลาดพลังงานไฟฟ้าก็มีเงินสนับสนุนเป็นส่วนลดเช่นกัน เห็นโฆษณาในทีวีอยู่ ไม่ทันฟังว่าเท่าไร ก็ฉันขี่ไม่เป็น และไม่เคยคิดจะขี่นี่คะ นั่งรถเมล์ต่อรถไฟฟ้าสบายดีแล้ว เลยไม่สนใจ ฮ่าฮ่าฮ่า
นอกจากเรื่องพลังงานสะอาดแล้ว ไต้หวันยังประกาศยกเลิกการใช้หลอดพลาสติกทั่วเกาะเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมานี้เองค่ะ ฉันนี่ไชโยโห่ฮิ้วมาก อยากให้เมืองไทยทำแบบนี้บ้างจัง (ฝันมากไปไหมนี่😏) คุณชายเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนไทเปก็เหมือนกรุงเทพฯ แหละ คนเอาขยะมากองกันอยู่ริมถนนรอรถขยะมาเก็บไปเอง จนกระทั่งเฉินสุ่ยเปี่ยน เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองไทเป ได้เปลี่ยนระบบการเก็บขยะมาเป็นทุกครัวเรือนต้องรอรถขยะที่มาตามเวลากำหนด เพื่อทิ้งขยะและแยกขยะทิ้งเอง อย่างที่เคยเล่าให้ฟังในบท ‘บ้านในไต้หวัน 2’ กันไปแล้ว ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่เริ่มใช้มาตรการนี้ ประชาชนบ่นด่ากันน่าดูเลย แต่ฮีไม่สนใจค่ะ ด่าได้ด่าไป แล้วฮีก็ยังริเริ่มให้มีสวนสาธารณะเล็กๆ กระจายอยู่ตามชุมชนทั่วเมือง จนในที่สุดคนเริ่มเห็นว่ามันดีงามนะ ทำแบบนี้แล้วบ้านเมืองสะอาดน่าอยู่ ก็จบแบบแฮปปี้กันถ้วนหน้า เห็นไหมคะ ถ้าเรามีเจตนาดี ทำเพื่อบ้านเมืองและส่วนรวมจริงๆ ไม่ต้องกลัวคำครหาค่ะ กล้าๆ หน่อย ว่าแต่ประเทศไทยเราจะมีผู้กล้าไหมหนอ (และแล้วเสียงเพลง ชีวิตกับความหวัง ของวงอิสซึ่น ก็ลอยมา…🎵ยังไม่สิ้นแห่งความหวัง ชีวิตยังสดแจ่มใส ทุกข์ทำไม สู้ต่อไป ในโลกเอย🎶)😄💪💖
- READ 台灣飲食系列展 - ไถวันอิ่นสือซี่เลี่ยจั่น
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1