麻辣 – หมาล่า
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
เมื่อตอนช่วงปีใหม่คุณชายพาไปกินอาหารเสฉวนร้านโปรดของฉัน เราลองสั่งอาหารที่เราไม่เคยกินดู สำรวจเมนูที่เยอะอยู่ เห็นรายการหนึ่งที่น่าจะถูกจริตฉันนั่นคือ 孜然香辣蝦 – จือหรันเซียงล่าเซีย หรือชื่อในเมนูภาษาอังกฤษคือ Deep Fried Unshelled Shrimps with Chili Bean Paste and Hot Peppers จากภาษาจีนจือหรันแปลว่ายี่หร่า เซียงแปลว่าหอม ล่าแปลว่าเผ็ด เซียแปลว่ากุ้ง ฟังแล้วฉันต้องโปรดแน่ๆ ก็กุ้งนี่ของโปรดสุดๆ นิ แถมเผ็ดๆ แล้วยังมีเครื่องเทศอย่างยี่หร่าอีก แหม ตั้งตารอคอยมากจานนี้ พอกินคำแรก… โอย ปราบเซียนกินเผ็ดอย่างหมวยเข้มมากเลยค่ะ 😅 ก็มันเผ็ดแบบปากเปิก ลิ้นอิฉันชาไปเลยอะ กินไปตัวที่สอง อูย ไม่ไหวแล้วจ้า แพ็กเก็บกลับบ้านเหอะ (คือพอดีขึ้นโต๊ะเป็นจานสุดท้าย ข้าวของเราสองคนกำลังจะหมดแล้ว)
พอวันรุ่งขึ้นฉันก็เลยจัดการเอามาผัดกับเส้นหมี่กิน ผัดเสร็จโพสต์โชว์ให้เพื่อนๆ ดูกันในเฟซบุ๊ก เส้นหมี่ผัดหมาล่าฝีมือคุณนายฮวง แล้วมีเพื่อนคนนึงเข้ามาเมนต์ถามว่า หม่าล่าคืออะไร นางบอกว่า “ในไทยเห็นร้านอาหารโฆษณาขาย ‘หมาล่า’ เยอะ ไม่เคยกินหมาเลยไม่ได้ลอง😜” ว่าไปโน่นเลย เพื่อนฉัน😏😂 ฉันก็เลยฉุกใจคิดว่า เอ ฉันเล่าเรื่องอาหารมาตั้งแยะ พูดถึงหมาล่าก็น่าจะเคยอยู่นา อาจจะมีคนอ่านแบบเพื่อนของฉันคนนี้ก็ได้ วันนี้ก็เลยคิดว่ามาขยายความคุยให้ฟังกันสักนิด เผื่อมีใครไม่เคยลองชิมอาหารที่มีคำว่าหมาล่าต่อท้ายอยู่
麻辣 – หมาล่า ไม่ใช่หมาแล้วก็ไม่ใช่ชื่ออาหารโดยตรง 麻 – หมาแปลว่าชา 辣 – ล่าแปลว่าเผ็ด หมาล่าเป็นความรู้สึกเผ็ดจนชา เกิดขึ้นเมื่อเรากิน ‘花椒 – ฮวาเจียว’ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Sichuan pepper แต่อากู๋บอกว่าภาษาอังกฤษมีอีกหลายชื่อเลย Szechuan pepper, Szechwan pepper, Chinese prickly ash, Chinese pepper, rattan pepper, และ mala pepper แต่ภาษาจีนก็รู้จักกันในชื่อ 花椒 – ฮวาเจียว นี่ล่ะ หน้าตาดูแล้วก็คล้ายพริกไทยเม็ดธรรมดาๆ นี่เอง แต่ความเผ็ดนี่ไม่เหมือนทั้งพริกและพริกไทยเอาเลย แล้วก็ในแง่พฤกษศาสตร์ ฮวาเจียวนี่ก็อยู่คนละตระกูลกับพริกไทย (พริกไทยภาษาจีนเรียก 胡椒 – หูเจียว ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Piperaceae) ฮวาเจียวอยู่ในประเภท Zanthoxylum อันจัดอยู่ในตระกูล Rutaceae ซึ่งมีลูกพี่ลูกน้องอยู่ถึง 250 พันธุ์แน่ะ มีทั้งแบบเป็นต้นใหญ่ๆ และเป็นพุ่มแตกต่างกันไป แต่ที่พบกันมากในเมืองจีนก็มี 红花椒 – หงฮวาเจียว (Red Sichuan Peppercorns) กับ 青花椒- ชิงฮวาเจียว (Green Sichuan Peppercorns) ซึ่งเกษตรกรชาวจีนก็นิยมปลูกสองชนิดนี้ออกมาขายชาวโลกแหละค่ะ
อาหารเสฉวนขึ้นชื่อที่สุดในการใช้ฮวาเจียวมาเป็นส่วนผสม แหล่งกำเนิดอาหารเสฉวนก็แน่นอนค่ะว่า คือมณฑลเสฉวนที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองเฉิงตูเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองที่ฉันหมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องไปเยือนอีกสักครั้ง ไม่ใช่จะไปกินอาหารเสฉวนนะคะ เรื่องกินคือผลพลอยได้ แต่ว่าจะไปขออุ้มลูกแพนด้าที่ศูนย์วิจัยแพนด้าน่ะค่ะ😊 จริงๆ ก็ต้องจ่ายเงินค่าอุ้มแหละ เขาไม่ให้อุ้มฟรีๆ หรอก แฮ่ะๆ เอ้า ออกนอกเรื่องอีกแล้ว กลับมาว่าเรื่องฮวาเจียวกันต่อนะคะ ฮวาเจียวนั้น เมื่อเอามาใช้ในอาหาร จะใช้ทั้งเม็ดหรือบดให้เป็นผงก็ได้ ส่วนใหญ่เมื่อบดเป็นผงแล้ว จะเอามาผสมกับผงพริกแห้งป่น และอาจมีเครื่องเทศอื่นๆ ผสมเพิ่มเติมด้วย เพื่อความอร่อยกลมกล่อม แล้วจึงเอามาทำเป็นซอสหรือผงหมาล่า คืออันนี้ฉันหมายถึงชื่อที่เขาเรียกกันทั่วๆ ไปนะคะ
เคยดูรายการแนะนำร้านอาหาร บรรดาร้านที่ทำสุกี้หมาล่า (ที่เรียกกันว่า หมาล่าฮั่วกัว – 麻辣火鍋 นั่นล่ะ) เวลาเขาทำน้ำซุป ก็เห็นเทลงไปเป็นผง แล้วบางร้านก็เรียกฮวาเจียวเฝิ่น – 花椒粉 บางร้านก็เรียกหมาล่าเฝิ่น – 麻辣粉 แต่ฉันเดาว่า น่าจะเป็นสิ่งเดียวกันแหละ เพราะหน้าตาเหมือนกันเป๊ะ นั่นก็คือฮวาเจียวป่นผสมพริกแห้งป่นแล้วก็เครื่องเทศอื่นๆ นอกจากฮวาเจียวเฝิ่นแล้ว มีในรูปแบบน้ำมันด้วยเรียกว่า 花椒油 – ฮวาเจียวโหยว ที่ฝรั่งชอบเรียกว่า Sichuan pepper oil นั่นล่ะ ตอนฉันมาถึงใหม่ๆ เห็นมีขายในซูเปอร์ฯ ยังซื้อมาใช้เลยค่ะ เวลาต้มเกี๊ยวกิน ก็เอามาผสมซีอิ๊ว+น้ำส้มสายชูสีดำ มาเป็นซอสจิ้มเกี๊ยวกิน หรือบางทีผัดข้าวก็ใช้แทนน้ำมันปกติเลย เผ็ดนิดๆ อร่อยดีเหมือนกัน ยังมีอีกนะ ที่ใช้มาจิ้มเป็ดจิ้มไก่จิ้มหมูกินคือ 花椒鹽 – ฮวาเจียวเอี๋ยน มันคือผงฮวาเจียวผสมกับเกลือป่น ที่ไต้หวันไม่ค่อยเห็นมีขายในซูเปอร์ฯ ส่วนใหญ่จะเป็น 胡椒鹽 – หูเจียวเอี๋ยน คือพริกไทยป่นกับเกลือป่นซะมากกว่า ผสมเสร็จขายเป็นขวดๆ สำเร็จรูป ซื้อไป กลับบ้านก็เขย่าๆ ใส่ถ้วย จิ้มได้เลย สะดวกมาก ถ้าใครได้อ่านบทฉารู่ไช่ ลองสังเกตรูปที่เป็นไก่รมควันดูนะคะ จะเห็นผงสีดำๆ กองเป็นหย่อมเล็กๆ อยู่ในจาน นั่นล่ะค่ะหูเจียวเอี๋ยน
ตามตำรายาจีนว่ากันว่า ฮวาเจียวนี้ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่บ้าง จึงเอามาเป็นส่วนผสมในยาจีน เช่น ช่วยเรื่องอาหารไม่ย่อย ช่วยโรคข้ออักเสบ ช่วยเรื่องท้องร่วง มันก็แค่เป็นส่วนผสมในยาจีนนะคะ อย่าไปคิดว่ากินอาหารสารพัดที่ขึ้นป้ายว่า ‘หมาล่า’ แล้วจะบำรุงสุขภาพอะไรประมาณนั้นนะคะ อิอิ จำได้ว่าประมาณ 4-5 ปีก่อนที่พาคุณชายไปเยี่ยมเพื่อนของฉันที่เชียงใหม่ ในตัวเมืองนี่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ป้ายภาษาจีนขึ้นว่าหมาล่ากันเต็มไปหมด ถามเพื่อนดูได้ความว่า คนจีนอยู่กันเยอะ แล้วก็มาเที่ยวก็เยอะ ฉันเลยถึงบางอ้อ ก็จริงๆ แล้วมณฑลเสฉวนมันก็ติดกับยูนนาน ซึ่งก็ไม่ได้ไกลจากภาคเหนือของเรามากนัก หมาล่าก็คงแพร่หลายเข้ามาได้ไม่ยากเนอะ
อย่างที่เล่ามาแล้วว่า ฮวาเจียวมีลูกพี่ลูกน้องเยอะหลายสายพันธุ์ ซึ่งก็กระจัดกระจายกันไปทั่วเอเชีย ผู้คนในละแวกเอเชียจึงมีการนำฮวาเจียวและพี่น้องร่วมตระกูล มาใช้ในการปรุงอาหารกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย อินโดนีเซีย ธิเบต เนปาล ภูฏาน เกาหลี หรือแม้แต่ญี่ปุ่นก็มีนะคะ แต่ฉันคิดว่าโด่งดังมีชื่อเสียงสุดก็คงเป็นฮวาเจียวหรือ Sichuan pepper นี่ล่ะ ซึ่งก็คงเป็นเพราะอาหารเสฉวนอันเลื่องชื่อนั่นเอง
ว่าแล้วก็ขอเอ่ยชื่อร้านอาหารเสฉวนเจ้าโปรดของฉันเลยแล้วกัน เผื่อใครมาแล้วอยากลองกินดู ชื่อร้าน KIKI ค่ะ เอาเว็บไซต์ไปดูเมนูกันเล่นๆ ก่อนก็ได้นะ https://www.kiki1991.com/main/en/ ร้านนี้ซูฉีเป็นหุ้นส่วนด้วยนะคะ เดี๋ยวใครนึกว่านางเป็นแค่พรีเซ็นเตอร์ให้ทางร้าน เพราะบางทีสาขาที่ฉันไปกินประจำ จะเอารูปเธอมาตั้งหน้าร้าน เนื่องจากฉันก็ออกจะชอบซูฉีอยู่ไม่น้อย ก็เลยยินดีอุดหนุนร้านนี้ไปเรื่อยๆ ตอนแรกก็เฉยๆ กะนางแหละ ดูหนังที่นางเล่นบ้างสมัยก่อนที่จะมาอยู่เกาะนี้ แต่ก็ไม่ได้ปลื้มอะไรนัก จนมาอยู่ทีนี่ มีอยู่ปีนึงที่นางกลับมาร่วมงานรางวัลม้าทองคำ (ซูฉีเป็นหมวยไต้หวันค่ะ) แล้วก็ได้รับเชิญมาออกรายการสัมภาษณ์ ฉันดูรายการจบ โอ้ ชอบผู้หญิงคนนี้จริงๆ ทัศนคติในชีวิตดี พูดจาก็ฉลาด แถมเป็นนักสู้พอสมควรทีเดียว ไม่ล้มเลิกจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ยังนึกเสียดายที่เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคบางประการ เธอเลยไม่ได้รับบทที่จางจื่ออี๋ (รู้สึกคนไทยเรียกว่า จางซิยี่ มั้งคะ) แสดงในหนังของอังลีเรื่อง Crouching Tiger Hidden Dragon จริงๆ แรกเริ่มคืออังลีวางตัวซูฉีไว้สำหรับบทลูกสาวขุนนางนั่นล่ะ แต่มีปัญหาทางเรื่องใดก็ไม่กระจ่างนัก ส้มมาหล่นที่จางซิยี่แทน ซูฉีเลยไม่มีโอกาสได้ร่วมงานกับอังลีในภาพยนตร์ที่ส่งให้ชื่อของจางซิยี่ไปติดปากชาวฝรั่งอเมริกันชน
เอ ฉันเริ่มต้นเขียนที่เรื่องอาหาร ไหงมาจบที่ภาพยนตร์ได้นะ😆
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1