หยวนเซียวเจี๋ย
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
– หยวนเซียวเจี๋ย –
บางคนอาจจะไม่ทราบว่า การฉลองปีใหม่ของชาวจีนนั้นฉลองกันยาวถึง 15 วันทีเดียว โดยวันที่ 15 ของเดือน 1 ถือเป็นวันสิ้นสุดการฉลองปีใหม่ มีชื่อเรียกว่า ‘元宵節 – หยวนเซียวเจี๋ย’ โดยจะมีเทศกาลโคมไฟ (Lantern Festival) เป็นการเฉลิมฉลอง ในสมัยโบราณนั้นแน่นอนค่ะว่าโคมไฟทำจากกระดาษ และคงเดากันได้นะคะว่าต้องเป็นสีแดง อันเป็นสีมงคลของคนจีน แต่พอมาถึงยุคสมัยนี้ วัตถุดิบที่ใช้ทำก็เริ่มไม่ธรรมดาบ้านๆ กันล่ะ โดยเฉพาะงานเทศกาลโคมไฟที่ไต้หวันนี่หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดงานเทศกาลโคมไฟก็คือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไต้หวัน โดยจะจัดหมุนเวียนกันไปตามเมืองต่างๆ ทั่วเกาะ กำหนดการจัดงาน ‘Taiwan Lantern Festival’ ของแต่ละปีจะเริ่มก่อนวันที่ 15 เล็กน้อย (ตามสถิติที่ฉันสังเกตมาตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่ จะเริ่มประมาณวันที่ 10) ระยะเวลาการจัดงานตกประมาณ 7-10 วันโดยเฉลี่ย แต่ฉันว่าขึ้นอยู่กับนายกเทศมนตรีของเมืองที่จัดงานด้วยค่ะ ถ้าอยากส่งเสริมการท่องเที่ยวก็จัดนานหน่อย นี่เดาเองนะคะ แต่เดาอย่างมีหลักการนะจ๊ะ เดี๋ยวจะหาว่าคุณนายฮวงชอบเดามั่ว😄
ส่วนของเมืองไทเปช่วงเวลาและระยะเวลาการจัดงาน ก็ราวๆ เดียวกับของที่การท่องเที่ยวจัดแหละค่ะเพียงแต่ผู้จัดคือเทศบาลนครไทเป ถ้าปีไหนวนมาถึงคิวไทเปเป็นสถานที่จัด ‘Taiwan Lantern Festival’ ก็ร่วมมือประสานงานกันจัด จำได้ว่าตอนปีแรกที่มาถึง คุณชายพาไปดูงานเทศกาลโคมไฟของไทเป จัดที่ Chiang Kai Chek Memorial Hall คนเยอะมากๆๆๆๆๆๆ ทั้งในรถไฟฟ้าและบริเวณจัดงาน เลยไม่เอ็นจอยเท่าไหร่ จำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น หลังจากนั้นเลยไม่มีการไปชมงานใดๆ ที่คาดว่าจะมีประชาชนเจ็ดล้านแปดแสนไปชมกันอีกเลย ฮ่าฮ่าฮ่า มาเบียดเสียดกับคลื่นมหาชนเพื่อดูโคมไฟอีกทีก็ปี ค.ศ. 2012 เพราะว่าจัดที่ Sun Yat Sen Memorial Hall ใกล้มาทางบ้านฉันหน่อย แล้วก็พี่ที่มาประจำการบินไทยที่นี่ชวนกันไปก็เลยไป เราชิงไปก่อนวันเปิดงานหนึ่งวัน ก็ยังเจอกองทัพมหาประชากรชาวไทเปอยู่ดี😆 แต่ที่นี่สถานที่เล็กกว่าเจียงไคเช็ค ฉันว่าแออัดเกินไป พอปี ค.ศ. 2014 ย้ายมาจัดกันตรง Taipei Expo Park ที่สถานีรถไฟฟ้าหยวนซัน (MRT Yuanshan Station) เลยค่อยยังชั่วหน่อย เราก็เลยไปยลกันอีกครั้ง เดินถ่ายรูปสบายขึ้นหน่อยค่ะ เพราะว่าสถานที่กว้างขวางมาก ไม่ใช่แค่ฝั่งสถานีรถไฟฟ้า ข้ามถนนจงซันเป่ยลู่ไปทางฝั่ง Taipei Fine Art Museum ก็ยังมีโคมไฟวางตั้งโชว์อยู่ด้วย
ปีนั้นเป็นปีม้า แล้วธีมของงานมาแนวรักษ์โลก โคมไฟที่เป็นศูนย์กลางของงานจึงเป็นตัวม้าที่ทำจากแผ่นซีดีที่มาจากขยะรีไซเคิล สวยอลังการมากค่ะ ใช้ซีดีไปไม่รู้กี่แสนแผ่น คือปกติทุกปีโคมไฟหลักจะเป็นตัวสัตว์ประจำปีนักษัตรนั้นๆ แล้วก็ในงานจะมีการแสดงแสงสีเสียงทุกๆ ครึ่งชั่วโมงที่โคมไฟหลักนั้น ดังนั้น ใช้แผ่นซีดีเป็นวัตถุดิบทำโคม แล้วฉายไฟส่อง มันก็จะวิบวับๆ ฉันชอบปีนั้นที่สุด อลังการดีจริงๆ ส่วนพวกโคมไฟต่างๆที่มาโชว์ในงานก็มาจากหลายแห่งด้วยกัน จะวางโชว์โดยแบ่งเป็นโซนๆ ไป ประเภทของนักเรียนที่มีตั้งแต่ระดับประถมไปจนถึงมัธยมปลาย หรือโรงเรียนอาชีวะก็มี จะมีป้ายบอกรายละเอียด ตั้งแต่ชื่อผลงาน โรงเรียนไหนทำ ได้รางวัลอะไร แบ่งเป็นระดับชั้นกันไป ฉันเคยดูแล้วทึ่งมากว่าผลงานของเด็กโรงเรียนประถมทำได้ขนาดนี้เชียวรึ ทั้งสวยงามและสร้างสรรค์ ก็คงต้องมีครูช่วยทำล่ะนะ แต่ยังไงก็ตาม ฝีมือเด็กประถมก็จัดว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
ถ้าอยากมาชมเทศกาลโคมไฟ ก็คอยเช็คข่าวจาก Taipei city government website ได้ ส่วนมากจะประกาศข่าวประมาณต้นเดือนมกราคมว่า งานเทศกาลจะจัดที่ไหน ระยะเวลาการจัดงาน รวมถึงวัน เวลาและสถานที่ ที่จะแจกฟรีโคมไฟเล็กๆ ให้กับประชาชนทั่วไป ฉันเคยไปยืนต่อคิวครั้งหนึ่งในปีเสือ เพราะว่าปีนั้น(ค.ศ. 2010) เทศบาลนครไทเปเป็นเจ้าภาพจัดงาน Taipei International Flora Expo (6 พฤศจิกายน 2010-25 เมษายน 2011) คือเห็นจากข่าวทีวี เออแฮะ สวยดี เอาซะหน่อย อยากได้เสือเอ็กซ์โป ไปยืนต่อแถวอยู่ประมาณชั่วโมงครึ่งถึงได้มา เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ทำตัวเป็นชาวไต้หวัน😄 (คือตอนมาถึงใหม่ๆ เวลาเดินผ่านร้านอาหารหรืองานอะไร ฉันเห็นคนไต้หวันยืนต่อคิวกันยาวเหยียดเพื่อเข้าไป เลยพูดกับคุณชายว่า ชาวไต้หวันนี่ชอบต่อคิวจริงๆ นะ)
แล้วในวันหยวนเซียวเจี๋ยนี้ ชาวจีนก็จะต้องกิน ‘湯圓 – ทังหยวน’ หรือบัวลอยน้ำขิงนั่นเอง (น้ำขิงนี่ฉันเติมเองค่ะ ฮี่ฮี่) เพราะเชื่อกันว่ารูปร่างกลมๆ เหมือนลูกบอลของทังหยวนนี้เป็นสัญลักษณ์ของความสนิทสนมกลมเกลียวในครอบครัว อันจะนำความสุขและโชคลาภมาสู่ครอบครัวในปีใหม่ ทังหยวนมีไส้สามอย่างคือถั่วแดง งาดำ หรือถั่วบด ไม่ว่าจะเป็นไส้ชนิดไหนก็ตามจะต้องมีรสหวานค่ะ เพราะว่าช่วงของการเฉลิมฉลองปีใหม่ของคนจีนนี้ จะนิยมกินของที่มีรสชาติหวานกัน เพื่อให้ชีวิตมีแต่ความหวานชื่น ดังนั้น นอกจากบรรดาของใช้หรือของตกแต่งบ้านที่จะมีขายกันในช่วงก่อนถึงตรุษจีนแล้ว เราก็จะเห็นท็อฟฟี่ (ภาษาไทยเรียกลูกกวาดใช่ไหมคะ) ที่ห่อเป็นสีแดง แล้วมีคำมงคลต่างๆ พิมพ์อยู่บนห่อวางขายกันมากมายทั่วไป ร้านอาหารไม่ว่าจะร้านเล็กร้านใหญ่ ก็มักจะตั้งถ้วยหรือจานที่ใส่ท็อฟฟี่เอาไว้ให้ลูกค้าหยิบกันในช่วงตรุษจีน จริงๆ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นท็อฟฟี่ห่อสีแดงมีตัวหนังสือมงคลเสมอไปนะ ขอให้เป็นท็อฟฟี่ก็ใช้ได้แล้ว หรือบางทีห่อท็อฟฟี่ทำเป็นรูปลูกสับปะรดก็มี เพราะว่าภาษาไถอวี่เรียกสับปะรดว่า ‘อ่องไหล’ ซึ่งพ้องเสียงกับคำมงคล ที่มีความหมายประมาณว่า โชคดีมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองเข้ามาหา
นอกจากปลาแล้ว อีกอย่างที่นิยมกินกันในช่วงตรุษจีนก็คือ ‘粘糕 – เหนียนเกา’ หรือบ้านเราเรียกขนมเข่งนั่นล่ะ ซึ่งก็คล้ายๆ กับความหมายของการกินปลา จำได้ไหมคะ ที่บทก่อนคุยให้ฟังว่า ที่กินปลาเพื่อ ‘เหนียนเหนียนโหย่วอวี๋’ หมายถึง ทุกๆ ปีมีเหลือเก็บออม ขนมเข่งหรือเหนียนเกานี่ก็เช่นเดียวกัน เสียงพ้องกับวลีมงคลที่ว่า ‘年年高升 – เหนียนเหนียนเกาเซิง’ ซึ่งมีความหมายประมาณว่า ทุกๆ ปีมีแต่เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะใช้ในแง่ของอาชีพการงานค่ะ แล้วที่เล่าเรื่องของไหว้ที่บอกว่ามีซาแซ ที่ไต้หวันฉันคิดว่าต้องมีไก่เป็นหนึ่งในซาแซแน่เลย เพราะในภาษาไถอวี่ คำว่า ‘ไก่’ กับ ‘บ้าน’ ออกเสียงเหมือนกันคือเกย ดังนั้น การกินไก่ทั้งตัวจึงแทนความหมายของสำนวนในไถอวี่ที่ว่า ‘食雞起家~เจี่ยเกยคีเกย’ แปลได้ประมาณว่า กินไก่เพื่อให้คนในครอบครัวมีความสนิทสนมกลมเกลียวกันดี มีอีกค่ะของที่กินกันช่วงนี้ ไม่ทราบว่าเคยเห็น ‘紅龜粿~หงกุยกั่ว = ขนมเทียนแบบดั้งเดิมที่เป็นสีแดงรูปเต่า’ กันบ้างรึเปล่า สมัยฉันเด็กๆ มีอยู่นะ ไม่รู้เหมือนกันว่าเดี๋ยวนี้ในตลาดเก่าเยาวราชยังมีขายอยู่ไหม สีแดงเป็นสีมงคลของคนจีน สีแห่งโชคลาภ ส่วนเต่านั้น แน่นอนว่าสื่อความหมายของการมีอายุยืนยาว
พอพูดถึงของกินที่เกี่ยวกับอายุยืน จำได้แม่นเลยคือ ปีแรกที่กินข้าวรวมญาติบ้านสามีมื้อเย็นวันสิ้นปี (ฉูอี) พ่อสามีคีบผักโขมลวกสุกต้นเล็กๆ ที่มาทั้งรากด้วยใส่ชามข้าวฉัน บอกให้คีบทั้งต้นเข้าปากทีเดียวห้ามหั่นกิน ตกใจเล็กน้อยกระซิบถามคุณชายว่า “กินได้แน่เหรอเธอ รากน่ะ” คุณชายบอก “กินเข้าไปเถอะ อาปาคีบให้แล้ว” ฉันก็ต้องทำตัวเป็นลูกสะใภ้ที่ว่านอนสอนง่ายกันหน่อยล่ะนะ ฮิฮิ ก็คีบทั้งต้นใส่เข้าปากกิน ใจก็คิดว่า เอาเหอะ คงมีความหมายดีๆ น่ะ ให้กินช่วงตรุษจีนนี่นะ แล้วอาปามาอธิบายให้ฟังตอนนั่งคุยกันหลังกินข้าวเสร็จว่าผักโขมที่ไม่ได้หั่นหรือตัด กินทั้งรากแบบนี้เรียกว่า ‘長年菜 – ฉางเหนียนไช่’ ความหมายคือ เพื่อให้อายุยืน แต่ว่าเคยเห็นข่าวทีวีเขารายงานว่า เรื่องฉางเหนียนไช่นี้ ทางภาคเหนือกับภาคใต้กินผักคนละชนิดกัน ทางเหนือกินผักเจี้ยไช่ (ไม่รู้ภาษาไทยเรียกผักอะไร ภาษาอังกฤษเรียก Mustard Greens น่ะค่ะ) ส่วนทางใต้กินผักโขม (ปัวไช่) ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม ฉันเดาเอาว่าคงเกี่ยวกับชื่อและความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่นมั้ง
ฉันแอบคิดขำๆ ตามประสาคนขี้เกียจทำกับข้าว (ล้างผัก) ว่า ถ้าให้ฉันเป็นคนตั้งกฎน่ะเหรอ ผักโขมไม่ได้แอ้มแน่ ก็ผักโขมดินทรายติดเยอะออก ขนาดเวลาทำกับข้าวปกติ หั่นเป็นท่อนๆ แล้ว ยังต้องล้างตั้งสองสามน้ำเลยกว่าทรายจะหมด ‘ฉางเหนียนไช่’ ฉบับคุณนายฮวงก็ต้องถั่วงอกสิคะ ล้างง่ายแถมไม่ต้องเปลืองเวลาเด็ดหางอีก อิอิ😁
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1