梅花 – เหมยฮวา
โดย : คุณนายฮวง
นอกจาก นิยายออนไลน์ สนุกๆ แล้ว อ่านเอา ยังมีคอลัมน์ ‘(เรื่องเล่า) 6,200 วันในไต้หวัน’ โดย คุณนายฮวง สาวไทยสุดไฮเปอร์ที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ไทเปได้หลายปีดีดักกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างแดนที่เต็มไปด้วยสีสันและมุมมองหลากหลาย เรื่องราวดีๆ ที่ อ่านเอา อยากให้คุณได้ อ่านออนไลน์
***********************************
เล่าให้ฟังเรื่อง ‘茶花 – ฉาฮวา’ ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ‘油桐花 – โหยวถงฮวา’ ก็เล่าไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ไหนๆ ก็ไหนๆ จะละเลยดอกไม้อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของคุณนายฮวงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชนิดอื่นๆ ไปได้อย่างไร นั่นก็คือ ‘梅花 – เหมยฮวา’ ที่อากู๋แปลเป็นไทยว่า ดอกบ๊วย ภาษาอังกฤษคือ Plum Blossoms อันจัดเป็นญาติสนิทร่วมตระกูลของ apricot – แอปริคอต ซึ่งภาษาไทยน่าจะเรียกทับศัพท์ไปเลยมั้ง ใช่ไหมคะ หรือมีชื่อไทยด้วย ถ้าใครรู้ช่วยบอกกันนิดก็ดีค่ะ จะได้รู้ไว้😅 เพราะในความเข้าใจของฉัน ลูกท้อน่าจะหมายถึงพีชมากกว่า ไม่น่าใช่แอปริคอต อิฉันก็ไม่ใช่ทั้งนักพฤกษศาสตร์และนักภาษาศาสตร์ซะด้วยสิ😄 เอาเป็นว่า วันนี้ขอคุยให้ฟังแค่เรื่องเหมยฮวาดีกว่านะ
อันว่าน้องบ๊วยนี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Prunus mume ชื่อสามัญคือ Chinese plum, Japanese plum, Japanese apricot ปกติออกดอกในช่วงกลางๆ ค่อนมาปลายหน้าหนาวต่อมาถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ สำหรับที่แถวไทเปนี่ก็ประมาณเดือนมกราคมค่ะ ที่ฉันจะไปด้อมๆ มองๆ ตามหาแถวต้าหูพาร์ก (Dahu Park) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านเท่าไร เพราะเคยเจอโดยบังเอิญ ตอนแรกที่เห็นไกลๆนึกว่าเป็นซากุระพันธุ์ของญี่ปุ่น ยังแปลกใจว่า ปีนั้นทำไมซากุระออกเร็ว นึกว่าเป็นเพราะอากาศแปรปรวน ซากุระเลยงงๆ ออกมาช่วงหน้าหนาว พอเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ถึงได้รู้ว่าเป็นเหมยฮวา จริงๆ แล้วหน้าตามันก็คล้ายกันมาก แต่เผอิญฉันเคยอ่านเจอถึงความแตกต่างของสองดอกไม้นี้มาก่อน จำได้แม่นเลยว่า วิธีสังเกตที่ง่ายที่สุดคือ เหมยฮวาไม่มีก้านดอก ดอกเหมือนงอกออกมาจากกิ่งของต้นเลย ดูๆ ไปเหมือนเอาดอกบ๊วยแปะไว้บนกิ่ง (เหมือนแปะสติกเกอร์ประมาณนั้น😆) แล้วอีกอย่างคือ เหมยฮวานี่ชอบฉายเดี่ยวค่ะ บานออกมาเป็นดอกเดี่ยวๆ จากหนึ่งตา ในหนึ่งกิ่งมีกี่ตา ก็จะมีเหมยฮวาบานออกมาเท่าจำนวนตานั่นล่ะค่ะ ไม่เหมือนดอกซากุระ (櫻花 – อิงฮวา) ที่หนึ่งตาจะมีดอกบานออกมาหลายๆ ดอก มีก้านดอกอยู่กันเป็นช่อเป็นพวงสวยงามไปอีกแบบนึง
แล้วก็กลีบดอกของเหมยฮวาจะกลมมน ในขณะที่กลีบของอิงฮวาที่ตอนปลายจะมีลักษณะเป็นแฉก ต้องมองแบบสังเกตสังกากันนิดนึง ถึงจะเห็นแฉกที่ปลายกลีบ ส่วนสีของอิงฮวามันก็มีกันตั้งแต่สีขาวไปจนถึงชมพูเข้ม แล้วแต่พันธุ์น่ะค่ะ อย่างพันธุ์ของไต้หวันที่ฉันเห็นบ่อยๆ เวลาไปไฮกิ้งบนเขาเรียกว่า 山櫻花 – ซันอิงฮวา จะมีสีชมพูเข้ม ส่วนเหมยฮวานั้นเห็นว่ามีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีแดงเข้มเฉดม่วง แต่ฉันยังไม่เคยเห็นเหมยฮวาสีอื่นเลยค่ะ เห็นแต่สีขาว จริงๆ ถ้าพูดถึงในแง่ความเจริญตา ฉันชอบอิงฮวามากกว่านิดนึง เพราะด้วยลักษณะของการออกดอกเป็นช่อพราวไปหมดทั้งต้น (ถ้าโชคดีได้เห็นตอนกำลังบานสะพรั่งไปทั้งต้นนะคะ) แต่ถ้าในแง่ของความชื่นใจทางนาสิก ฉันขอเทคะแนนให้เหมยฮวาค่ะ เพราะเหมยฮวามีกลิ่นหวานหอมของดอกไม้ ในขณะที่อิงฮวากลิ่นจางมากจนพูดได้ว่าแทบจะไม่มีกลิ่นเลย
และที่สำคัญที่สุด (ที่ฉันยังมึนอยู่ว่า ทำไม้ ทำไม ฉันลืมเขียนถึงเหมยฮวาไปได้นะ 😅) คือ เหมยฮวาเป็นดอกไม้ประจำชาติไต้หวันค่ะ!!… 梅花 梅花 满天下 – เมย ฮวาเม้ย ฮวาหม่าน เทียนเซี่ย 🎵🎶🎤 นั่น…เสียงเพลงเหมยฮวาของเติ่งลี่จวินลอยมาเลย😉😁😂 แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเพลงเหมยฮวาเป็นเพลงประจำชาติของไต้หวันนะ เพลงชาติไต้หวันคือเพลง “三民主義 – ซันหมินจู่อี้” (ที่เป็นแนวคิดของ ดร.ซุนยัดเซ็น ซึ่งได้กลายมาเป็นรากฐานระบอบการปกครองของไต้หวัน) ฉันฟังเพลงเหมยฮวามาตั้งแต่เด็กๆ เลยได้รู้ว่าเหมยฮวาเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวันก็จากการฟังเพลงนี้ล่ะค่ะ คนแต่งเพลงนี้คือ คุณหลิวเจียชัง (劉家昌) ที่ได้แต่งเพลงนี้เพื่อเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อเดียวกันในปี 1976 และแล้วเพลงโปรดของอิฉันก็ได้รับรางวัลม้าทองคำสาขาเพลงประกอบภาพยนต์ยอดเยี่ยมในปีนั้น ทั้งหนังและเพลงถูกผลิตออกมาเพื่อปลุกจิตสำนึกรักชาติ หลังจากที่ไต้หวันถูกเชิญออกจากการเป็นสมาชิกของสหประชาชาติในปี 1971
และเนื่องจากเหมยฮวายังคงสามารถบานสะพรั่งได้อย่างมีชีวิตชีวา ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่ในอากาศ ท่ามกลางหิมะที่หนาวเย็นในฤดูหนาว ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความยืดหยุ่น การปรับตัว และความไม่ย่อท้อต่อความทุกข์ยากในช่วงฤดูหนาวอันโหดร้ายนี้เอง จึงได้รับการประกาศให้เป็นดอกไม้ประจำชาติไต้หวันเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 1964 ดังนั้น บนเครื่องบินของ China Airlines ที่เป็นสายการบินแห่งชาติ เราจึงได้เห็นเหมยฮวาเป็นโลโก้ใหญ่ยักษ์ประดับอยู่ที่ส่วนหางของเครื่องบินด้วย นอกจากเป็นโลโก้แล้ว ถ้าไปพิจารณาดูงานศิลปะจีน เรามักจะเห็นกิ่งก้านเหมยฮวาปรากฏอยู่ในภาพวาดของจีน (Chinese paintings) หรือเป็นลายบนถ้วยโถโอชามเสมอๆ เพราะจัดเป็นหนึ่งในตอกไม้แห่งสี่ฤดู – The Flowers of the Four Seasons ซึ่งนอกจากเหมยฮวาแล้วก็ยังมี ดอกกล้วยไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ดอกบัวที่เป็นสัญลักษณ์ของฤดูร้อน ดอกเบญจมาศที่เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ร่วง ลองสังเกตความงามของดอกไม้ทั้งสี่ในงานศิลปะจีนกันดูนะคะ
เหตุผลถัดมาที่ทำให้เหมยฮวาเป็นดอกไม้โปรดของฉันก็คือ… เดากันได้ใช่ไหมคะ เรื่องกินน่ะสิคะ😋 นอกจากให้ดอกที่สวยงามเป็นที่เจริญตาเจริญใจในหน้าหนาวแล้ว ต้นเหมยยังให้ผลเหมยหรือ 梅子 – เหมยจึ ที่เรารู้จักกันในนามลูกบ๊วยนั่นล่ะค่ะ เอามาทำสารพัดของกินได้อีกหลายอย่าง ลูกบ๊วยนี่ก็ของชอบ น้ำบ๊วยนี่ยิ่งโปรดใหญ่ แต่โปรดสุดคือเหล้าบ๊วย😜😂 พูดเล่นค่ะ ฮิฮิ ที่ไต้หวันเวลาถ้าไปร้านอาหารจีน แล้วถ้าใครถามว่าจะดื่มอะไร ฉันมักจะเลือกสั่ง 酸梅湯 – ซวนเหมยทัง เป็นอันดับแรก มันคือน้ำบ๊วยน่ะแหละ ทำจากลูกบ๊วยแห้งที่เรียกว่า 烏梅 – อูเหมย ถ้าจะเสิร์ชดู พิมพ์ภาษาอังกฤษว่า Smoked plum ก็ได้ค่ะ ฉันว่าหน้าตามันก็คือลูกบ๊วยแห้งที่เรากินกันนั่นล่ะ เอาอูเหมยไปต้ม ใส่น้ำตาลหน่อยก็ได้ซวนเหมยทังมาดื่มแล้วค่ะ นอกจากน้ำบ๊วย ก็ยังมีซอสบ๊วยที่ในภาษาจีนกลางเรียกว่า 梅子醬 – เหมยจึเจี้ยงอีก ใช้จิ้มหมูเห็ดเป็ดไก่หรือปอเปี๊ยะทอดก็ยังได้ คุณหม่ามี้อิฉันน่ะเวลามาที่นี่ บางทีก็มักจะหิ้ว 梅酒 – เหมยจิ่ว (Plum wine) หรือเหล้าบ๊วยกลับไปดื่มแทนไวน์แบบฝรั่ง แต่ฉันว่ามันก็อร่อยดีนะ เปรี้ยวๆ นิดๆ ช่วยเจริญอาหารดีเหมือนกัน ที่ไต้หวันมีชื่อหน่อยก็คือ 烏梅酒 – อูเหมยจิ่ว แต่ฉันว่าคนไทยคงคุ้นกับยี่ห้อดังของญี่ปุ่นเนอะ จริงๆ เห็นเขาว่าเหมยจิ่วทำไม่ยากนะคะ เคยเห็นเพื่อนคนนึง นางทำเอง โพสต์กระบวนการทำให้ดูกันในเฟซบุ๊ก แต่ฉันก็ยังไม่เคยลองทำดูสักที คุณชายบอกว่า ซื้อเอาเหอะ ชัวร์ดี
เพลงเหมยฮวา ร้องโดยคุณหลิวเจียชัง ผู้แต่งเพลง
ฟังแล้วออกจะแปร่งๆ หูอยู่ซะหน่อย ไอ้คำว่าชัวร์ดีของฮีนี่หมายความว่าอะไรฟะ😅😂
- READ 大稻埕+迪化街 - ต้าเต้าเฉิง+ตี๋ฮว้าเจีย
- READ 基隆塔 - จีหลงถ่า
- READ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
- READ เป็ดปักกิ่งสไตล์ไต้หวัน กับ 農曆 (หนงลี่)
- READ "Meet Warbie" เมื่อคุณนายฮวงปะทะเจ้านกอ้วนจอมกวน
- READ Road Trip 1 : หรรษา 阿里山 - อาลีซัน (Alishan)
- READ Road Trip 2 : ดูโบสถ์ ชมงานศิลป์ ฟินธรรมชาติ
- READ "擂茶 - เหลยฉา" ของดีมีทีเด็ดที่ประโยชน์เต็มคำ
- READ "Before I Fall in Love" 李玟 - หลี่เหวิน
- READ 國家太空中心 - กั๋วเจียไท่คงจงซิน
- READ ‘台菜 – ไถไช่
- READ 同性婚姻 - ถงซิ่งฮุนอิน
- READ 情人湖 - ฉิงเหรินหู
- READ 糧食危機 - เหลียงสือเหวยจี
- READ One fine day กับ 烏骨雞
- READ 螢火蟲 - อิ๋งหั่วฉง
- READ 千島湖 - เชียนเต่าหู
- READ 陽明書屋 - หยังหมิงซูอู
- READ 媽祖 - มาจู่
- READ 世界棒球經典賽 - ซื่อเจี้ยปั้งฉิวจิงเตี่ยนไซ่
- READ 台灣燈會 - ไถวันเติงหุ้ย
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 3)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 2)
- READ เรื่องเล่าจากคุณนายฮวงซีเนียร์ (Part 1)
- READ 利息 - ลี่สี
- READ 中藥 - จงเอี้ยว
- READ 剪纸 - เจี่ยนจื่อ
- READ 市長 - ซื่อจั่ง
- READ หวังอยู่ - 王羽
- READ 大同電鍋 - ต้าถงเตี้ยนกัว
- READ ภาษาดอกไม้
- READ 隔離 - กักตัว (2)
- READ 隔離 - กักตัว
- READ 虎爺 - เทพเสือ
- READ ดอกไม้โปรดเจียงไคเช็ค
- READ 核能電廠 - เหอเหนิงเตี้ยนฉั่ง
- READ จากถ้ำสู่วัง
- READ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
- READ 針灸 - เจินจิว
- READ ทัวร์กินทิพย์กับ 3 ร้านบ้านๆ
- READ 氣象先生 - ชี่เซี่ยงเซียนเซิง
- READ Mommy and Uan (1) : How a stray dog has changed my life
- READ Mommy and Uan (2) : Unconditional love
- READ วัคซีนแห่งความเสียสละ
- READ ซอกแซกแถวตั้นสุ่ย
- READ ย่ำกรุงเก่าไต้หวัน
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (1)
- READ ตามล่าหา น้ำตาแสงไต้ (2)
- READ ถามหาไต้ฝุ่น
- READ 財神 – ไฉเสิน
- READ 累積點數 - เหล่ยจีเตี่ยนซู่
- READ พาคุณชายไปเที่ยว
- READ 圖書館 - ถูซูกวั่น
- READ 麻辣 - หมาล่า
- READ 茶入菜 - ฉารู่ไช่
- READ 三合院 - ซันเหอเยวี้ยน
- READ 梅花 - เหมยฮวา
- READ 茶花 - ฉาฮวา
- READ 溫泉 - เวินเฉวียน
- READ คุณหมอนักเขียน
- READ 冬至 - ตงจื้อ
- READ 鄭和 - เจิ้งเหอ
- READ ของกินเฉพาะฤดูหนาว
- READ 土地公 - ถู่ตี้กง
- READ คุณนายฮวงชวนชิม
- READ 護身符 - หู้เซินฝู
- READ 臺北市動物保護處 - ไถเป่ยซื่อต้งอู้เป่าหู้ฉู้
- READ 基隆廟口夜市 - จีหลงเมี่ยวโข่วเย่ซื่อ
- READ 水燈節 - สุ่ยเติงเจี๋ย
- READ 身份證 - เซินเฟินเจิ้ง
- READ 旗袍 - ฉีเผา
- READ 萬安演習 - วั้นอันเอี่ยนสี
- READ 婚禮 - ฮุนหลี่
- READ Give me an inhalant please!
- READ เที่ยวฟาร์มออร์แกนิก
- READ ชาวสีรุ้ง
- READ 中秋節 - จงชิวเจี๋ย
- READ ชีวิตคนเดินดิน
- READ 湘菜 - เซียงไช่
- READ ข่าวจากสำนักข่าวคุณนายฮวง ณ ไทเป
- READ Discovery Center of Taipei City
- READ 月下老人 - เยว่เซี่ยเหล่าเหริน
- READ In and Out
- READ 情人節 - ฉิงเหรินเจี๋ย
- READ 鬼月 - กุ่ยเยว่
- READ โบกมือลา
- READ มังกรนำทาง
- READ เขาดินไทเป
- READ 快炒 - ไคว่เฉ่า
- READ หนีร้อนไปพึ่งเย็น
- READ เกี๊ยว
- READ เจ่าชัน -早餐
- READ Beyond Beauty : Taiwan from Above
- READ ตั้งไข่ (ไม่) ล้ม
- READ เกาหลิงฮว้าเซ่อหุ้ย
- READ วัด วัด วัด
- READ Old Normal
- READ ภาษาจีนวันละหลายคำ
- READ Portable Bubble Milk Tea
- READ Snow Flower
- READ Birthday Snippets
- READ มังกรโบราณ
- READ ภาษาจีนวันละคำ
- READ ชิงหมิงเจี๋ย
- READ ซ่งไอ่หลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม
- READ ซ่งชิ่งหลิง
- READ ไวรัสหลายชื่อ
- READ ซ่งเหม่ยหลิง
- READ ว่าด้วยเรื่องชา (tea นะจ๊ะ มิใช่เหน็บชา😊)
- READ แม่ค้าผักผู้ยิ่งใหญ่
- READ อาหารเพื่อสุขภาพ
- READ เด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ
- READ Jimmy Liao
- READ ระบอบการปกครองของไต้หวัน
- READ หยวนเซียวเจี๋ย
- READ เอนหลังนั่งคุยเรื่อง 'ตรุษจีน'
- READ ศูนย์พักฟื้นหลังคลอดบุตร
- READ มูลนิธิฉือจี้
- READ 7 - ELEVEN
- READ สีสันบันเทิงฉบับไต้หวัน
- READ เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรม
- READ ตัวอักษรจีน
- READ ไปตลาดกันดีกว่า
- READ หวางเหล่าซือ
- READ ทีวีไต้หวัน
- READ Mommy and Uan
- READ ไต้หวันรักษ์โลก
- READ ล็อตเตอรี่ใบเสร็จรับเงิน
- READ Hiking
- READ ภัยธรรมชาติประจำเกาะ
- READ อาหารการกินในไต้หวัน
- READ ชีวิตในไต้หวัน
- READ โรงเรียนในไต้หวัน
- READ ระบบขนส่งมวลชนไต้หวัน
- READ Lost in Translation
- READ บ้านในไต้หวัน 2
- READ บทนำ
- READ คนไต้หวัน
- READ บ้านในไต้หวัน 1